Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
เครื่องช่วยหายใจ CPAP
ตัวช่วยสำคัญ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เครื่องช่วยหายใจ CPAP

ตัวช่วยสำคัญ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
Table of Contents

ภาวะนอนกรนเป็นปัญหาการนอนที่สร้างความรำคาญและส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำหนักตัวเกิน ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน มีปัญหาสุขภาพทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืดหรือภูมิแพ้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน หนึ่งในวิธีรักษาที่แพทย์แนะนำคือการใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับคืออะไร?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นอาการที่ระบบหายใจหยุดชั่วคราวหรือหายใจตื้นในช่วงหลับ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาทีจนถึงหลายครั้งต่อคืน ส่งผลให้ผู้ป่วยมักตื่นขึ้นมาในช่วงกลางดึก โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เกิดจากการปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เนื่องจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหรือขากรรไกร
  2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับส่วนกลาง (Central Sleep Apnea หรือ CSA) เกิดจากการที่สมองส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การหายใจหยุดไปชั่วคราว
  3. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบผสม (Mixed Sleep Apnea) เป็นการรวมกันของทั้งภาวะอุดกั้นและภาวะหยุดหายใจจากการทำงานผิดปกติของสมอง

สัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ ได้แก่ การตื่นขึ้นมากลางดึกพร้อมเสียงหายใจเฮือกใหญ่ เสียงกรนดังหลายนาทีในแต่ละคืน นอนหลับไม่สนิท และอาการง่วงนอนในเวลากลางวันอย่างรุนแรง หากปล่อยปัญหานี้ไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวาน

ทำไมการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับจึงสำคัญ?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่เพียงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประจำวัน แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง การหยุดหายใจขณะหลับบ่อย ๆ ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้มักตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย การรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญ

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้มีหลายวิธี ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน การใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP ในบางกรณีอาจต้องได้รับการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจ

เครื่องช่วยหายใจ CPAP คืออะไรและทำงานอย่างไร?

เครื่องช่วยหายใจ CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้รักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หลักการทำงานของเครื่อง CPAP คือ การส่งแรงดันลมผ่านทางหน้ากากที่ครอบจมูกหรือปาก เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งตลอดเวลา แรงดันลมนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในบริเวณคอหย่อนตัวลงจนเกิดการอุดกั้น

การใช้เครื่อง CPAP ช่วยให้คนไข้สามารถหายใจได้ปกติระหว่างหลับ ทำให้ไม่ต้องสะดุ้งตื่นกลางดึกและช่วยลดเสียงกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ระดับออกซิเจนในร่างกายอยู่ในระดับปกติ ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

ขั้นตอนการใช้เครื่อง CPAP

การใช้เครื่อง CPAP จำเป็นต้องมีการปรับตัวในช่วงแรก คนไข้ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาที่นอนหลับ ซึ่งอาจใช้เวลาปรับตัวประมาณ 1 สัปดาห์ คนไข้บางรายอาจรู้สึกไม่สบายห อึดอัดบ้างในช่วงแรก การใช้เครื่อง CPAP อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายคุ้นเคยและสามารถหลับได้อย่างต่อเนื่อง

ก่อนที่จะเริ่มใช้เครื่อง CPAP แพทย์จะทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับและตั้งค่าแรงดันลมที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย นอกจากนี้ การเลือกหน้ากากที่เหมาะสมกับใบหน้า ให้ความสะดวกสบายระหว่างหลับก็เป็นสิ่งสำคัญ

ความสำคัญของการใช้ CPAP อย่างต่อเนื่อง

การใช้เครื่อง CPAP อย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญมาก เนื่องจากเครื่องนี้จะช่วยให้คนไข้สามารถหายใจได้ปกติระหว่างนอนหลับ การหยุดใช้เครื่องอาจทำให้อาการหยุดหายใจขณะหลับกลับมาอีก ดังนั้น ผู้ป่วยควรใช้เครื่อง CPAP ทุกคืนและพบกับแพทย์เฉพาะทางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องทำงานได้ดีและปรับแรงดันลมให้เหมาะสมกับสภาวะของคนไข้

ผลข้างเคียงและความไม่สะดวกในการใช้ CPAP

ถึงแม้เครื่อง CPAP จะช่วยลดอาการนอนกรนและปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ แต่มีคนไข้บางรายที่ไม่สามารถปรับตัวกับการใช้เครื่องนี้ได้ คนไข้อาจรู้สึกอึดอัดกับการสวมหน้ากาก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับเนื่องจากความรู้สึกไม่สบาย นอกจากนี้ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ปากแห้ง คัดจมูก และอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับหน้ากาก

สำหรับคนไข้ที่ไม่สามารถใช้เครื่อง CPAP ได้ Vital Sleep Clinic มีการรักษาอื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรมรักษานอนกรน (Oral Appliance) การบำบัดด้วยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) การฝึกกล้ามเนื้อใบหน้าและลิ้น (Myofunctional Therapy) หรือการผ่าตัดในกรณีที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรง

สรุป

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและอาการนอนกรนเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิตของคนไข้ได้ในระยะยาว เครื่องช่วยหายใจ CPAP เป็นหนึ่งในวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยช่วยให้คนไข้สามารถหายใจได้ปกติระหว่างหลับและลดเสียงกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการใช้เครื่อง CPAP อาจไม่เหมาะสำหรับคนไข้ทุกคน ดังนั้นการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกแนวทางการรักษาที่สะดวกสบายและเหมาะสมที่สุด

Related Blogs and Articles
ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เกิดจากอะไรกันนะ

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบหรือที่เรียกกันว่า Temporomandibular joint disorder (TMD) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างขากรรไกรล่างและฐานของกระโหลกศีรษะ ภาวะนี้ทำให้เกิดอาการปวดขากรรไกร ปวดกราม อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อได้สาเหตุของข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD)การเกิดข้อต่อขากรรไกรอักเสบนั้นมีหลายสาเหตุร่วมที่ส่งผล ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่อาการมักจะเกิดจากการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้อาการของข้อต่อขากรรไกรอักเสบอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ได้แก่วิธีรักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วยเครื่องมือ Myosa® หนึ่งในวิธีการรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Myosa® ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาอาการและลดแรงกระแทกจากข้อต่อขากรรไกร รวมถึงช่วยปรับตำแหน่งของขากรรไกรให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อดีของการรักษาด้วย Myosa®การรักษาด้วย Myosa® มีหลายข้อดีหลายข้อ ที่ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบการทำงานของ Myosa®เครื่องมือ Myosa® จะทำงานโดยการลดแรงกระแทกที่เกิดจากข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เมื่อใส่เครื่องมือนี้เข้าไป จะช่วยป้องกันการนอนกัดฟัน ปวดฟัน รวมถึงลดแรงกระแทกที่ข้อต่อต้องเผชิญในระหว่างการบดเคี้ยว นอกจากนี้ยังช่วยจัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดอาการปวดได้ทันทีหลังจากเริ่มใช้ แล้วยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาวการใช้งาน Myosa® ในการรักษาเครื่องมือ Myosa® ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระหว่างการนอนหลับเป็นหลัก ในกรณีที่คนไข้มีปัญหากัดฟันหรือขากรรไกรในระหว่างวัน ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ในช่วงกลางวันได้เหมือนกัน การใส่เครื่องมือ Myosa® ในระหว่างวันจะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและใบหน้า ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้รับการบรรเทาและกลับมาทำงานอย่างสมดุลนอกจากนี้ Myosa® ยังเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ โดยการฝึกการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาปัญหาข้อต่อขากรรไกรและการนอนกัดฟันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้นสรุปข้อต่อขากรรไกรอักเสบ หรือ TMD เป็นภาวะที่เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การนอนกัดฟัน ฟันไม่สบกัน หรือการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อขากรรไกร การรักษาด้วยเครื่องมือ Myosa® เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดแรงกระแทกและอาการปวดได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืนเพื่อลดอาการและป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาวหากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดขากรรไกร เสียงคลิกขณะอ้าปาก มีปัญหาอาการนอนกัดฟัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

ทำไมการตรวจการนอนหลับ ถึงสำคัญต่อสุขภาพของเรา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมในบางคืนเราถึงนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังรู้สึกเหนื่อย หรือบางคนอาจตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ จนทำให้รู้สึกนอนไม่พอ

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ แถมตื่นมาปวดหัว ควรตรวจ Sleep Test ที่ไหนดี

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ นอนนานแค่ไหนก็ยังไม่สดชื่น? แถมตื่นมาแล้วยังปวดหัวอีก? ปัญหาแบบนี้พบได้บ่อยและอาจมากกว่าการนอนไม่พอ บางครั้งอาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ หรือความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจต้องรับการตรวจ Sleep Test เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวหลังตื่นนอน การตื่นมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะไม่ใช่เรื่องเล็ก หลายกรณีอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนรุนแรง ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลงระหว่างหลับภาวะขาดน้ำ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและสมอง อาจทำให้คุณปวดหัวในช่วงเช้าได้สภาพแวดล้อมการนอนไม่เหมาะสม หมอนที่ไม่พอดี แสงหรือเสียงรบกวน ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ อาจทำให้คุณปวดหัวในตอนเช้าได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด มีผลต่อวงจรการนอนหลับ อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหรือปวดหัวในตอนตื่นไมเกรน โดยเฉพาะในคนที่เคยปวดหัวไมเกรน อาจมีอาการกำเริบในช่วงเช้า ทำไมการนอนไม่พอถึงทำให้ปวดหัวได้? อาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงอย่างเดียว แต่ "การนอนไม่พอ" ก็เป็นตัวการสำคัญที่หลายคนมองข้ามบทความที่เกี่ยวข้อง : สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ อันตราย อย่าปล่อยไว้ ก่อนเป็นเรื่องใหญ่ 1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สมองจะปรับสมดุลสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ โดพามีน (Dopamine) ที่ช่วยลดความไวของระบบประสาทต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เมื่อนอนน้อย ระดับสารเหล่านี้จะเสียสมดุล 2. เพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด การอดนอนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง คอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้อาจไปทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง 3. กล้ามเนื้อตึงและการกดทับของเส้นประสาท ร่างกายอาจตกอยู่ในภาวะ "ตึงเครียด" ตลอดคืนโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และศีรษะที่ไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ ความตึงเครียดนี้อาจส่งผลให้เส้นประสาทในบริเวณศีรษะถูกกดทับจนเกิดอาการปวดศีรษะตอนตื่นนอนได้ 4. การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะเข้าสู่โหมดฟื้นฟูระบบไหลเวียนโลหิต แต่หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ การไหลเวียนเลือดในสมองจะลดลงหรือไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเวียนหัว มึนศีรษะ หรือปวดหัวหลังตื่นนอนได้ 5. เชื่อมโยงกับโรคไมเกรน มีงานวิจัยที่พบว่า การนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนในผู้ที่มีแนวโน้มอยู่แล้ว อาจรุนแรงและยาวนานมากขึ้น ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ “นอนไม่พอเฉย ๆ” ทั้งที่จริงแล้วกำลังเข้าสู่วงจรของไมเกรนเรื้อรังอ่านข้อมูลเพิ่มเติม อยากรู้ว่านอนพอไหม? ตรวจการนอนหลับด้วย Belun Ring ได้ที่ VitalSleep Clinic https://www.youtube.com/shorts/yF3sZhOaXGg หากคุณมักตื่นขึ้นมาพร้อมอาการปวดหัว เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนครบ 7-8 ชั่วโมง อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องเช็กคุณภาพการนอนของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น การตรวจการนอนหลับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจว่า “เรานอนพอจริงไหม?” และ “ร่างกายได้พักผ่อนอย่างมีคุณภาพหรือเปล่า?” สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย https://www.youtube.com/shorts/VHwrvaJPK08 โปรแกรม mHBOT (Mild Hyperbaric Oxygen Therapy) คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนสู่สมอง ฟื้นฟูระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับลึก และลดอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดจากการนอนไม่เพียงพอหลับลึก หลับสนิทขึ้นลดการตื่นกลางดึกฟื้นฟูระบบสมอง ลดอาการปวดหัวที่เรื้อรังจากการนอนเพิ่มพลังระหว่างวัน ตื่นมาสดชื่น สมองโล่งกว่าเดิม ปรึกษาวิธีการรักษากับเเพทย์เฉพาะทาง! ผลเสียจากการนอนไม่พอที่คุณอาจคาดไม่ถึง การนอนไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น:สมาธิลดลง ตัดสินใจช้าอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในภูมิคุ้มกันลดลง ป่วยง่ายอยากอาหารมากขึ้น เสี่ยงอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจ ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะพอ? ผู้ใหญ่ ควรนอนวันละ 7–9 ชั่วโมงวัยรุ่น ควรนอน 8–10 ชั่วโมงเด็กเล็ก–ทารก อาจต้องการนอนมากถึง 18 ชั่วโมงต่อวันนอกจากปริมาณแล้ว “คุณภาพของการนอน” ก็สำคัญไม่แพ้กัน หากคุณนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ก็อาจยังรู้สึกง่วงเพลียและปวดหัวในตอนเช้าได้

แก้นอนกัดฟันด้วยยางกัดฟัน

นอนกัดฟันคืออะไร?การนอนกัดฟัน หรือ Sleep Bruxism เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน เพราะมักเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับและตอนที่ไม่รู้ตัว อาจเป็นเพียงพฤติกรรมที่ไม่ได้ส่งผลเสียใหญ่โตมากนัก แต่อสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น ฟันสึกกร่อน ปวดข้อขากรรไกร และอาจมีผลเสียต่อเนื้อเยื่อกระดูกและเหงือกหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมสาเหตุของการนอนกัดฟันถึงแม้ว่าจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่านอนกัดฟันเกิดจากอะไร แต่ก็สามารถคาดเดาเอาได้จากหลายปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องที่พบได้บ่อย คือความเครียดและความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเจออยู่ในชีวิตประจำวัน เวลาที่เราเครียดหรือวิตกกังวล อาจกัดฟันหรือกดดันฟันในช่วงเวลาเราที่ไม่รู้ตัวในระหว่างการนอนหลับ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัญหาฟันซ้อนเก ความผิดปกติทางโครงสร้างฟัน ก็อาจทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ได้ขอบคุณข้อมูลจากการรักษานอนกัดฟันที่ VitalSleep Clinicปัจจุบันมีวิธีการรักษานอนกัดฟันหลายวิธี คนไข้สามารถปรึกษาทันตแพทย์ แพทย์เฉพาะทาง หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การใช้เครื่องมือทันตกรรม เช่น การใช้ยางกัดฟันหรือเฝือกฟัน (Splint) สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองกำลังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะช่วยวินิจฉัยและให้แนวทางการรักษาที่ตรงจุดมากขึ้นวิธีการเก็บรักษายางกัดฟันยางกัดฟันเหมาะกับใครบ้าง?การใช้ยางกัดฟันเหมาะกับผู้ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟันที่เรื้อรัง คนที่มีอาการเจ็บปวดฟันหรือขากรรไกรเมื่อตอนตื่นนอน โดยเฉพาะคนที่มีเสียงกัดฟันดังหรือรบกวนคนที่นอนข้าง ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง เช่น ฟันสึกมากเกินไป ปวดขากรรไกรอย่างต่อเนื่อง หรือสงสัยว่ามีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำการรักษาเพิ่มเติมที่ VitalSleep Clinic เรามีการรักษานอนกัดฟันด้วย “ยางกัดฟันเฉพาะบุคคล” ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับรูปฟันของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ต่างจากยางกัดฟันทั่วไปที่อาจไม่พอดีกับช่องปาก ยางกัดฟันของเราผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นและทนทาน สามารถช่วยลดแรงกดบนฟัน ลดอาการปวดกราม และป้องกันไม่ให้ฟันสึกจากการกัดฟันระหว่างนอนหลับข้อดีของยางกัดฟันที่ VitalSleep Clinicอ่านเพิ่มเติม:สรุปการนอนกัดฟันเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปแต่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ยางกัดฟัน (Splint) อุปกรณ์นี้ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการกัดฟันขณะหลับ ช่วยลดความเจ็บปวดและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับฟันและขากรรไกร การใช้ยางกัดฟันเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการนอนกัดฟันที่รุนแรง ควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เราขอแนะนำตรวจ Sleep Test

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

จะทำอย่างไร ถ้าการรักษานอนกรน ด้วยเครื่อง CPAP ราคาแพงเกินไป

ปัญหาอาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนจำนวนมาก โดยบางคนอาจมองว่าอาการนอนกรนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจมากนัก แต่ในความเป็นจริงภาวะนอนกรนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่เสียงรบกวนเวลานอนหลับเท่านั้น มันยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ภาวะการนอนกรนมักเกี่ยวข้องกับปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) อาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างการนอนหลับ ภาวะนี้ส่งผลต่อการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต แม้แต่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตเฉียบพลันในปัจจุบัน วิธีการรักษาภาวะนอนกรนมีอยู่หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือการใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) โดยเครื่อง CPAP นี้ทำหน้าที่ส่งแรงดันลมเข้าไปเปิดทางเดินหายใจในขณะหลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้อย่างราบรื่น แต่หลายคนอาจพบปัญหาว่าเครื่อง CPAP นั้นมีราคาที่สูง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงความยุ่งยากในการใช้งานที่อาจทำให้รู้สึกไม่สะดวก แล้วจะทำอย่างไร หากการรักษาด้วยเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไป บทความนี้จะแนะนำวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนเครื่อง CPAP ได้ นอนกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นบางส่วนในขณะหลับ เมื่อเรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายจะคลายตัวลง รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพดานอ่อน และโคนลิ้น เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หย่อนคล้อยลง อาจไปขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรนขึ้นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนคืออายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการหย่อนคล้อยและปิดกั้นการหายใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาวะนอนกรนยังสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! ทำไมการนอนกรนจึงควรรักษา? แม้ว่าการนอนกรนอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การอานอนกรนที่เกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งอาจทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าในระหว่างวัน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคสมองเสื่อมนอกจากนี้ การขาดออกซิเจนยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง ทำให้การประมวลผลข้อมูล การคิดวิเคราะห์ และความจำเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาด้านความจำและสมาธิ รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ นอนกรนต้องการปรึกษา ฟรี! เครื่อง CPAP ช่วยรักษาภาวะนอนกรนอย่างไร? เครื่อง CPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักการทำงานของเครื่องคือการส่งแรงดันลมเข้าไปในทางเดินหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้สะดวกในขณะหลับ เครื่อง CPAP มักใช้ร่วมกับหน้ากากที่สวมใส่บริเวณจมูกหรือปากเพื่อส่งแรงดันลมเข้าสู่ร่างกายแม้ว่าเครื่อง CPAP จะมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาภาวะนอนกรน แต่เครื่องนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่สูง ค่าเครื่อง CPAP บางรุ่นอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้า อาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกอึดอัดหรือไม่สะดวกสบายในขณะหลับ การรักษานอนกรนแบบไม่ต้องพึ่ง CPAP หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปและไม่สะดวกในการใช้งาน ยังมีวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน ดังนี้1. อุปกรณ์ทางทันตกรรม (Oral Appliance)อุปกรณ์ทางทันตกรรมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ในปากในระหว่างการนอนหลับ โดยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องครอบฟัน อุปกรณ์นี้ช่วยขยับกรามหรือโคนลิ้นไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นขณะหลับข้อดีของอุปกรณ์ทางทันตกรรม คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังถูกออกแบบเฉพาะบุคคลตามขนาดช่องปากของผู้ใช้งาน ทำให้ใช้งานได้ง่ายและไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อเทียบกับเครื่อง CPAP อุปกรณ์ทางทันตกรรมยังเป็นวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและสะดวกสบายกว่าการใช้เครื่อง CPAP2. การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF Bot)การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ การรักษานี้ใช้คลื่นความถี่วิทยุในการทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพดานอ่อน และเนื้อเยื่อในลำคอหดตัวแล้วก็กระชับขึ้น ลดการหย่อนคล้อยที่อาจปิดกั้นทางเดินหายใจวิธีการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เวลานาน เพียงครั้งละประมาณ 15 นาที ไม่เจ็บปวดมากเหมือนการผ่าตัด ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุสามารถเห็นได้ชัดเจน มีความคงทนเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ยังเป็นวิธีที่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ในขณะหลับ3. การบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ (Myofunctional Therapy)การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและลำคอเป็นวิธีการรักษาที่เน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณลิ้น เพดานอ่อน และลำคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง มีความกระชับยิ่งขึ้น การฝึกบำบัดนี้สามารถช่วยลดการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจและลดอาการนอนกรนได้การบำบัดกล้ามเนื้อนั้นอาจรวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อลิ้นให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจข้อดีของการบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ คือ เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ นอกจากนี้ การฝึกฝนสามารถทำได้เองที่บ้านหลังจากได้รับคำแนะนำจากนักบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม การบำบัดกล้ามเนื้ออาจต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกฝน แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในระยะยาว รับคำปรึกษา ฟรี! 4. การลดน้ำหนักการมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากไขมันสะสมบริเวณลำคออาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง การลดน้ำหนักเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอาการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักตัวมากนอกจากการลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การควบคุมน้ำหนักทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย5. การผ่าตัด (Surgical Treatment)ในกรณีที่ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับมีความรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การผ่าตัดจะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างของทางเดินหายใจ เช่น การตัดเนื้อเยื่อเพดานอ่อน การตัดต่อมทอนซิล ลดขนาดของโคนลิ้น เพื่อเพิ่มความกว้างของทางเดินหายใจและลดการอุดกั้นการผ่าตัดมักเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางกายภาพ เช่น มีเนื้อเยื่อเพดานอ่อนที่หย่อนคล้อยมากเกินไป มีโครงสร้างทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น การเจ็บคอหรือการอักเสบหลังการผ่าตัด ปรับพฤติกรรมการนอน นอกจากการใช้วิธีการรักษาต่าง ๆ การปรับพฤติกรรมการนอน ก็สามารถช่วยลดอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่นการนอนในท่านอนตะแคง การนอนหงายอาจทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกไปขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนในท่านอนตะแคงสามารถช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นและลดอาการนอนกรนการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนคล้อยลง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองในทางเดินหายใจ การเลิกบุหรี่สามารถช่วยลดการอักเสบและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ บทสรุป ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคา ความสะดวกในการใช้งาน หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการรักษา ยังมีทางเลือกอื่น ๆ อีกที่สามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ การบำบัดกล้ามเนื้อ แม้แต่การปรับพฤติกรรมการนอนการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนอาจมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนที่แตกต่างกัน การรักษาภาวะนอนกรนไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงและทำให้ชีวิตมีความสุข สุขภาพโดยรวมดีมากขึ้น ปรึกษาปัญหากับแพทย์เฉพาะทาง!

splint

หลายคนอาจจะมองว่าเสียงกรนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วมันสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ เราจะพูดกันถึงวิธีการแก้ไขด้วย “เฝือกฟันแก้นอนกรน”

แก้นอนกรน ด้วย Myofunctional Therapy

การนอนกรน เป็นปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อทั้งคนที่นอนกรนและคนรอบข้าง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษานอนกรนหลายรูปแบบ แต่ Myofunctional Therapy

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)