Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรน
คืออะไร?

เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรน

คืออะไร?
Table of Contents

มีใครเคยประสบปัญหาเสียงกรนดังรบกวนจากคนรอบข้างเวลานอนหลับกันบ้างไหม? อาการนอนกรนไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนอยู่ข้าง ๆ แต่ยังสามารถส่งผลกระทบที่อันตรายถึงชีวิตจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย ยังทำให้คุณภาพการนอนลดลง ซึ่งไม่เพียงกระทบต่อคนที่นอนกรน แต่ยังส่งผลให้คู่กรนตื่นตัวในตอนกลางคืน ไม่สามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการหลับใน และมีผลต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวของทั้งสองฝ่าย

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินถึงวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน วิธีที่ช่วยรักษาอาการนอนกรนรวมถึงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ เรายังจะเปรียบเทียบวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดลดนอนกรนและการรักษาด้วยเลเซอร์ รวมถึงวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัด

นอนกรนรักษาได้ง่าย ๆ เริ่มที่ทำความเข้าใจ

เริ่มแรกเลย ก่อนจะเข้าใจวิธีการรักษา อยากให้ทุกคนมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า “เสียงกรน” เกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุที่ทำให้เรานอนกรนคืออะไร อาการนอนกรนเกิดจากการที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลงในขณะนอนหลับ

สาเหตุที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการตีบแคบลง มาจากการที่กล้ามเนื้อภายในช่องปาก เช่น เพดานอ่อนและลิ้น หย่อนคล้อยหรือคลายตัวลงจนทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ

เมื่อทางเดินหายใจแคบลง เวลาหายใจเข้าเพื่อให้อากาศเข้าสู่ร่างกาย ลมจะเดินทางผ่านช่องทางที่ตีบแคบ ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรนจากการสั่นสะเทือนของกล้ามเนื้อในช่องปาก ในบางรายอาจเกิดการถูกปิดกั้นทางเดินหายใจทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ทำความรู้จัก เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน

จากเนื้อหาข้างต้น เราได้กล่าวถึงสาเหตุของการนอนกรน โดยสรุปได้ว่า สาเหตุเกิดจากการที่ทางเดินหายใจตีบแคบจากการถูกอุดกั้นจากกล้ามเนื้อภายในช่องปาก เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน หรือที่เรารู้จักกันดีว่า CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) และ iNAP จะช่วยรักษาอาการนอนกรนได้อย่างไร? มาดูกันเถอะ

1. เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP)

CPAP เป็นวิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่มีผลลัพธ์ดีมาก ในการแก้ไขอาการนอนกรน ตัวเครื่อง CPAP จะเชื่อมต่อกับหน้ากากผ่านท่ออากาศ ซึ่งมีหน้าที่ส่งแรงดันอากาศ โดยตัวเครื่องจะผลิตแรงดันอากาศแรงดันบวกออกมา ส่งอากาศผ่านเข้าสู่ท่ออากาศที่ครอบอยู่เหนือบริเวณปากและจมูกของผู้ใช้

แรงดันลมที่ออกมาจากตัวเครื่องจะช่วยขยายทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้ลมหายใจสามารถเดินทางไปถึงปอดได้อย่างสะดวก ช่วยแก้ไขอาการนอนกรนและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

2. เครื่องอัดอากาศแรงดันลบ (iNAP)

iNAP เป็นอุปกรณ์อีกประเภทหนึ่งที่ช่วยแก้ไขอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจในขณะหลับ โดยมีหน้าที่สร้างแรงดันลม เพื่อช่วยให้บริเวณเพดานอ่อนและโคนลิ้นเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ทำให้ทางเดินหายใจขยายกว้างมากขึ้น

รูปแบบการทำงานของเครื่องมีความคล้ายกับ CPAP แต่จะมีความแตกต่างในส่วนของหน้ากากที่ใช้ส่งผ่านอากาศ รวมถึงขนาดตัวอุปกรณ์ที่เล็กกะทัดรัดมากกว่า จึงเหมาะสำหรับการพกพาและมีเสียงเงียบ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนในขณะเปิดใช้งาน

เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรน เหมาะสำหรับใคร?

เครื่องช่วยหายใจรักษานอนกรนเหมาะสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่า มีปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีอาการกรนในระดับปานกลางถึงรุนแรงซึ่งอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต ผู้ที่มีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับเพียงเล็กน้อยแต่มีอาการนอนกรนเสียงดัง ตื่นมาหอบหรือสำลักในขณะหลับ ตื่นขึ้นจากการนอนหลับแล้วเกิดอาการอ่อนเพลีย

ต้องเลือกแบบไหนถึงเหมาะสมกับตัวเอง?

เครื่องช่วยหายใจมีความแตกต่างกันตามแต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้อ เช่น

  • ขนาดและรูปร่าง ในบางรุ่นมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการพกพา ในขณะที่บางรุ่นมีขนาดตัวเครื่องที่ใหญ่และหนักกว่า
  • เสียงรบกวน ในบางรุ่นตัวเครื่องจะมีเสียงรบกวนที่เงียบและเบากว่ารุ่นอื่น ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับยากหรือไวต่อเสียงรบกวน
  • ฟังก์ชันการใช้งาน เครื่องช่วยหายใจในแต่ละรุ่นมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น การลดหรือเพิ่มแรงดันลมขณะหายใจเข้าและออก การทำความชื้น และการบันทึกข้อมูล ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีฟังก์ชันการใช้งานที่สามารถปรับแต่งได้แตกต่างกัน
  • มีระบบติดตามผลการใช้งานเครื่องผ่านระบบออนไลน์ (Cloud) เพื่อง่ายการต่อการปรับตั้งค่าแรงดัน

การเลือกเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ รวมไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและความสะดวกในการใช้งาน สิ่งสำคัญที่สุดคือการได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือคลินิกนอนกรนที่มีแพทย์เฉพาะทางให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การใช้เครื่องช่วยหายใจสามารถรักษาปัญหาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เปรียบเทียบกับวิธีการรักษานอนกรนวิธีต่างๆ

ในส่วนสุดท้ายของบทความ เราจะเสนอวิธีการรักษาการนอนกรนในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้ทุกคนสามารถเปรียบเทียบและตัดสินใจในการเลือกรับวิธีการรักษา ที่ Vital Sleep Clinic เป็นคลินิกนอนกรนที่รักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอนหลับ รวมไปถึงการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ที่มีรูปแบบการรักษาที่ครบวงจร

นอนกรนรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

การรักษาปัญหาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัด

1. การรักษานอนกรนแบบไม่ผ่าตัด (ต่อ)

  • รักษาด้วยเครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)

เครื่องครอบฟันเป็นอุปกรณ์ทันตกรรมที่ใช้สวมใส่ในช่องปากขณะหลับ มีหน้าที่ในการปรับตำแหน่งของลิ้นและขากรรไกรให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เพื่อป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการกรนเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ต้องการใช้เครื่อง CPAP

  • การบำบัดด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน เช่น การลดน้ำหนัก การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน การนอนตะแคงแทนการนอนหงาย และการตั้งเวลาเข้านอนให้เป็นระเบียบสามารถช่วยลดอาการกรนได้ในหลายๆ กรณี

  • การทำกายภาพบำบัด

ในบางกรณี การทำกายภาพบำบัดที่เน้นการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อในช่องปากและลำคอ หรือเรียกว่า Myofunctional Therapy สามารถช่วยปรับปรุงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหล่านั้นได้ ซึ่งส่งผลให้ลดอาการกรนตั้งแต่ต้นสาเหตุได้

2. การรักษานอนกรนด้วยการผ่าตัด

  • การผ่าตัดลดขนาดเพดานอ่อน (Uvulopalatopharyngoplasty หรือ UPPP)

การผ่าตัดชนิดนี้จะทำการตัดเนื้อเยื่อส่วนเกินในช่องปาก เช่น เพดานอ่อน ลิ้น ส่วนที่อุดกั้นทางเดินหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนในระดับรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ

  • การผ่าตัดเลเซอร์

การใช้เลเซอร์ในการรักษาเป็นวิธีที่มีความก้าวหน้าและใช้เวลาในการฟื้นตัวน้อยกว่า โดยเลเซอร์จะช่วยตัดหรือขัดเนื้อเยื่อส่วนเกินในช่องปากเพื่อลดการกรน

  • การผ่าตัดเปิดทางเดินหายใจ (Genioglossus Advancement)

วิธีนี้จะทำการผ่าตัดเพื่อเคลื่อนตำแหน่งของกล้ามเนื้อในลิ้นหรือโคนลิ้นไปด้านหน้า ทำให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น ลดความเสี่ยงจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ

  • การผ่าตัดนอนกรนแบบ MMA (Maxillomandibular Advancement)

เป็นวิธีการผ่าตัดที่ใช้แก้ไขภาวะนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ในกรณีที่รุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น ๆ โดยการเลื่อนขากรรไกรบนและล่างไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไหลผ่านได้ดีขึ้น ลดการอุดตันที่ทำให้เกิดการนอนกรนได้

สรุป

เสียงกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนไม่ควรมองข้าม การหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว เครื่องช่วยหายใจนอนกรนอย่าง CPAP และ iNAP เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการนอนกรนที่มีสาเหตุจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่สามารถช่วยได้ ทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและการผ่าตัด ซึ่งผู้ที่มีปัญหานอนกรนควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้คำแนะนำและการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับตนเอง

Vital Sleep Clinic ยินดีให้คำปรึกษาและรักษาอย่างครบวงจรเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และกลับไปนอนหลับได้อย่างสงบสุขและปลอดภัยจากอาการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การนอนกรนไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่ควรมองข้าม หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมในระยะยาวได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องช่วยหายใจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ดังนั้นหากคุณหรือคนใกล้ชิดมีปัญหาเหล่านี้ อย่ามัวรอช้า รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสมกัน

Related Blogs and Articles
คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย “สาเหตุ อันตราย วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”

สาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนประสบ โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะดังกล่าว วันนี้เราจะพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรน รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ มาฟังกันเลยค่ะซีมง: ทำไมบางคนถึงมีอาการกรนแต่บางคนกลับไม่มีอาการกรนคะ?​คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบสาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับซีมง: ค่ะคุณหมอ…สรุปแล้ว โรคหยุดหายใจขณะหลับอันตรายยังไงบ้างคะ?คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวันซีมง: เอ๊ะ หรือว่าจะเป็นอยู่ (เสียงหัวเราะ)คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ (เสียงหัวเราะ) ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ Recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ Recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime Sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลยซีมง: เอาละค่ะ… วันนี้เราก็ได้รู้สาเหตุและอันตรายของการกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับไปแล้วนะคะ คุณหมอมีอะไรจะทิ้งท้ายกับคนที่ดูอยู่ไหมคะคุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะซีมง: ค่ะ วันนี้เราก็ได้ความรู้ไปมากมาย ใครที่สนใจอยากรู้วิธีรักษาการนอนกรนเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้ใน EP ต่อไปเลยค่ะก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับการหยุดหายใจขณะหลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เพราะในระหว่างที่หายใจไม่ได้ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และผลที่ตามมาก็คือการนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ พลังงานชีวิตจะลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆวิธีการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะ โดยที่ Vital Sleep Clinic มีการรักษาแบบครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด พร้อมด้วยการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการกรน เช่น Myosa®นอกจากนี้ ทีมแพทย์ที่ Vital Sleep Clinic เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและการรักษาภาวะนอนกรน จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดสรุปการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับมีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากคุณพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่เหมาะสม

นอนกรนเรื้อรัง_นอนกรนเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หาย ต้องลองวิธีนี้!

นอนกรนรักษามาตั้งหลายวิธีก็ไม่เห็นผล สุดท้ายก็ยังนอนกรนเสียงดังอยู่ดี ต้องรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มาหาคำตอบวิธีการรักษา

3 วิธีแก้นอนกรนไม่ผ่าตัด ของขวัญสำหรับสุขภาพการนอน

หากจะพูดถึงของขวัญที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” โดยเฉพาะคุณภาพการนอนหลับที่ดี

ทำไมการตรวจการนอนหลับ ถึงสำคัญต่อสุขภาพของเรา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมในบางคืนเราถึงนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังรู้สึกเหนื่อย หรือบางคนอาจตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ จนทำให้รู้สึกนอนไม่พอ

7 วิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจ

วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วยลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธีสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกตหากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทางที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้อ่านเพิ่มเติม:เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรนอ่านเพิ่มเติม:และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicineจะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นอ่านเพิ่มเติม:เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรงอ่านเพิ่มเติม:อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้สรุปวิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว

นอนกัดฟันรักษาได้ รวมวิธีแก้ “นอนกัดฟัน ปวดฟัน” อาการกัดฟันไม่รู้ตัว

ในบางครั้งคนที่นอนกัดฟันเองก็อาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน ปวดกราม หรือมีคนรอบข้างสังเกตเห็นเสียงกัดฟันในเวลานอนตอนกลางคืน นอนกัดฟันรักษาได้!

สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย อย่านิ่งนอนใจ

การนอนสะดุ้งตื่นกลางดึกแม้จะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนหลับ

การหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะผิดปกติที่สามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัญหานอนกรน

CPAP แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง

อาการนอนกรน ถือเป็นปัญหาสุขภาพของใครหลาย ๆ คน ในเฉพาะคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ไม่เพียงแต่ทำให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่ยังเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจที่เรียกว่า CPAP ซึ่งย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressureเครื่อง CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการส่งแรงดันอากาศอย่างต่อเนื่องผ่านทางหน้ากาก เพื่อเปิดทางเดินหายใจของคุณให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการหยุดหายใจซ้ำ ๆ ในขณะหลับ ทำให้การนอนหลับทุกคืนของคุณกลับมาเป็นปกติเครื่อง CPAP ทำงานอย่างไร?เครื่อง CPAP ทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศไปยังทางเดินหายใจผ่านหน้ากากที่สวมใส่ขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันการปิดตัวของทางเดินหายใจในขณะที่กำลังหายใจเข้า โดยทั่วไปเครื่อง CPAP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใครบ้างที่ควรใช้เครื่อง CPAP?เครื่อง CPAP มักจะถูกแนะนำหรือมาใช้รักษาให้กับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่รุนแรงหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม การใช้ CPAP ช่วยทำให้คนไข้กลับมามีการนอนหลับที่ต่อเนื่องขึ้น ลดเสียงกรน และป้องกันภาวะการหยุดหายใจซ้ำ ๆโดยรวมแล้ว การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแก้กรนเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการหายใจระหว่างการนอนหลับ และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องขอบคุณข้อมูลจากเครื่อง CPAP มีกี่ประเภท?แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ก็ยังมีเครื่องประเภทอื่น ๆ ที่ทำงานคล้ายกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้ความแตกต่างของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อข้อดีและข้อเสียของเครื่อง CPAPการเลือกใช้เครื่อง CPAP มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ข้อดีข้อเสียการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP ที่ VitalSleep Clinicที่ VitalSleep Clinic เราให้บริการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ด้วย เครื่อง CPAP เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นขณะนอนหลับ ทำงานโดยการส่งแรงดันลมอย่างสม่ำเสมอผ่านหน้ากากเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการอุดกั้น ลดการหยุดหายใจและเสียงกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดคืน ลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดสมองทำไมต้องเลือก CPAP กับ VitalSleep Clinic?หากคุณมีอาการ นอนกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน หรือหายใจติดขัดขณะหลับ อย่าปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ VitalSleep Clinic เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)