Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
นอนกัดฟัน
ต้องแก้ด้วย Splint ฟัน
เท่านั้นหรอ?

นอนกัดฟัน

ต้องแก้ด้วย Splint ฟัน
เท่านั้นหรอ?
Table of Contents

“นอนกัดฟัน” หรือ Bruxism ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะมันส่งผลต่อทั้งสุขภาพช่องปาก ข้อต่อขากรรไกร รวมไปถึงคุณภาพการนอนหลับโดยตรง หลายคนคงอาจคิดว่าใส่ Splint ฟัน ก็เพียงพอแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว การรักษาอาการนี้มีได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ

สาเหตุของการนอนกัดฟัน

หลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกัดฟัน ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับระบบร่างกาย จิตใจ และโครงสร้างฟันโดยตรง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย มีดังนี้

  1. ความเครียดสะสม

เมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน ความสัมพันธ์ หรือปัญหาส่วนตัว—กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเกร็งตัว รวมถึงกล้ามเนื้อกรามและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวด้วย การเกร็งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับโดยไม่รู้ตัว และแสดงออกมาในรูปแบบของการกัดฟัน

  1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)

ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักมีปัญหาทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน ส่งผลให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองเพื่อเปิดทางเดินหายใจอีกครั้ง หนึ่งในปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้นคือ “การกัดฟัน” เพื่อพยายามดันขากรรไกรให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

  1. การสบฟันที่ผิดปกติ

ฟันที่เรียงตัวไม่ดี หรือสบกันไม่พอดี อาจทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวต้องทำงานหนักเกินไปเพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินจำเป็น จึงเกิดการเกร็งสะสม และกลายเป็นพฤติกรรมกัดฟันในเวลานอนได้ในที่สุด

เช็กอาการเสี่ยงนอนกัดฟัน

หากคุณนอนคนเดียวหรือไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟันขณะหลับไหม สังเกตตัวเองได้จากอาการเหล่านี้ ที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณอาจกำลังมีปัญหานี้อยู่

  • ตื่นมาแล้วปวดหรือเมื่อยกราม
  • ปวดหัว ปวดบริเวณหน้าหู (โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน)
  • มีอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันเวลาทานของร้อน/เย็น
  • มีกระดูกนูนบริเวณมุมกราม ใบหน้าเริ่มดูเหลี่ยมขึ้น
  • อ้าปากกว้างไม่ได้ รู้สึกค้างหรือเจ็บขากรรไกร

อ่านเพิ่มเติม

ผลเสียของการนอนกัดฟัน

  1. ฟันบิ่น ฟันแตก เพราะเนื้อฟันสึกจากการบดหรือกดทับซ้ำ ๆ
  2. ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD) อาจทำให้เจ็บเวลาพูด เคี้ยว หรืออ้าปาก
  3. โครงหน้าผิดรูป กระดูกมุมกรามนูน ใบหน้าดูเหลี่ยมกว่าปกติ
  4. นอนหลับไม่มีคุณภาพ สมองตื่นตัวบ่อย ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่
  5. รบกวนคนรอบ ๆ ข้าง เสียงบดฟันทำให้คู่ชีวิตหลับไม่สนิท และอาจกระทบความสัมพันธ์ในระยะยาว

วิธีรักษานอนกัดฟัน

อาการนี้สามารถรักษาได้ และควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

1. การใช้ Splint ฟัน (Occlusal Splint)

ช่วยป้องกันการสึกหรอของเนื้อฟัน โดยกระจายแรงกดขณะกัดฟัน และลดอาการเมื่อยกล้ามเนื้อกราม

ข้อควรระวัง: สำหรับเด็ก การใช้ Splint อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร และในช่วงแรกอาจทำให้นอนหลับยากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

2.  การฝึกกล้ามเนื้อด้วย Myofunctional Therapy

เป็นการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งสามารถใช้รักษาการนอนกรน และอาการนอนกัดฟันได้พร้อมกัน

อ่านเพิ่มเติม

จุดเด่นของ Myofunctional Therapy

  • ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
  • ปรับสมดุลกล้ามเนื้อและการสบฟัน
  • แก้ปัญหาต้นเหตุอย่างแท้จริง

การรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรทำร่วมกัน

ทางที่ดีที่สุดคือการใช้ Splint ฟัน เพื่อป้องกันฟันสึกในระยะสั้น ควบคู่กับ การทำ Myofunctional Therapy เพื่อจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง และควรตรวจการนอนหลับ Sleep Test เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)

การวางแผนรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง และทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ด้านการนอนหลับ และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาเหมาะสมกับแต่ละบุคคลและปลอดภัยที่สุด

สรุป

การนอนกัดฟันไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ เพราะอาจนำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง ฟันสึก ขากรรไกรอักเสบ และปัญหาโครงหน้าในระยะยาว หากสงสัยว่าตัวเองมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางหรือทันตแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมก่อนที่อาการจะลุกลาม

Related Blogs and Articles
แก้นอนกรน ด้วย Myofunctional Therapy

การนอนกรน เป็นปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อทั้งคนที่นอนกรนและคนรอบข้าง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษานอนกรนหลายรูปแบบ แต่ Myofunctional Therapy

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ แถมตื่นมาปวดหัว ควรตรวจ Sleep Test ที่ไหนดี

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ นอนนานแค่ไหนก็ยังไม่สดชื่น? แถมตื่นมาแล้วยังปวดหัวอีก? ปัญหาแบบนี้พบได้บ่อยและอาจมากกว่าการนอนไม่พอ บางครั้งอาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ หรือความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจต้องรับการตรวจ Sleep Test เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวหลังตื่นนอน การตื่นมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะไม่ใช่เรื่องเล็ก หลายกรณีอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนรุนแรง ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลงระหว่างหลับภาวะขาดน้ำ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและสมอง อาจทำให้คุณปวดหัวในช่วงเช้าได้สภาพแวดล้อมการนอนไม่เหมาะสม หมอนที่ไม่พอดี แสงหรือเสียงรบกวน ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ อาจทำให้คุณปวดหัวในตอนเช้าได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด มีผลต่อวงจรการนอนหลับ อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหรือปวดหัวในตอนตื่นไมเกรน โดยเฉพาะในคนที่เคยปวดหัวไมเกรน อาจมีอาการกำเริบในช่วงเช้า ทำไมการนอนไม่พอถึงทำให้ปวดหัวได้? อาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงอย่างเดียว แต่ "การนอนไม่พอ" ก็เป็นตัวการสำคัญที่หลายคนมองข้ามบทความที่เกี่ยวข้อง : สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ อันตราย อย่าปล่อยไว้ ก่อนเป็นเรื่องใหญ่ 1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สมองจะปรับสมดุลสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ โดพามีน (Dopamine) ที่ช่วยลดความไวของระบบประสาทต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เมื่อนอนน้อย ระดับสารเหล่านี้จะเสียสมดุล 2. เพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด การอดนอนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง คอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้อาจไปทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง 3. กล้ามเนื้อตึงและการกดทับของเส้นประสาท ร่างกายอาจตกอยู่ในภาวะ "ตึงเครียด" ตลอดคืนโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และศีรษะที่ไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ ความตึงเครียดนี้อาจส่งผลให้เส้นประสาทในบริเวณศีรษะถูกกดทับจนเกิดอาการปวดศีรษะตอนตื่นนอนได้ 4. การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะเข้าสู่โหมดฟื้นฟูระบบไหลเวียนโลหิต แต่หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ การไหลเวียนเลือดในสมองจะลดลงหรือไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเวียนหัว มึนศีรษะ หรือปวดหัวหลังตื่นนอนได้ 5. เชื่อมโยงกับโรคไมเกรน มีงานวิจัยที่พบว่า การนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนในผู้ที่มีแนวโน้มอยู่แล้ว อาจรุนแรงและยาวนานมากขึ้น ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ “นอนไม่พอเฉย ๆ” ทั้งที่จริงแล้วกำลังเข้าสู่วงจรของไมเกรนเรื้อรังอ่านข้อมูลเพิ่มเติม อยากรู้ว่านอนพอไหม? ตรวจการนอนหลับด้วย Belun Ring ได้ที่ VitalSleep Clinic https://www.youtube.com/shorts/yF3sZhOaXGg หากคุณมักตื่นขึ้นมาพร้อมอาการปวดหัว เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนครบ 7-8 ชั่วโมง อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องเช็กคุณภาพการนอนของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น การตรวจการนอนหลับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจว่า “เรานอนพอจริงไหม?” และ “ร่างกายได้พักผ่อนอย่างมีคุณภาพหรือเปล่า?” สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย https://www.youtube.com/shorts/VHwrvaJPK08 โปรแกรม mHBOT (Mild Hyperbaric Oxygen Therapy) คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนสู่สมอง ฟื้นฟูระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับลึก และลดอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดจากการนอนไม่เพียงพอหลับลึก หลับสนิทขึ้นลดการตื่นกลางดึกฟื้นฟูระบบสมอง ลดอาการปวดหัวที่เรื้อรังจากการนอนเพิ่มพลังระหว่างวัน ตื่นมาสดชื่น สมองโล่งกว่าเดิม ปรึกษาวิธีการรักษากับเเพทย์เฉพาะทาง! ผลเสียจากการนอนไม่พอที่คุณอาจคาดไม่ถึง การนอนไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น:สมาธิลดลง ตัดสินใจช้าอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในภูมิคุ้มกันลดลง ป่วยง่ายอยากอาหารมากขึ้น เสี่ยงอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจ ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะพอ? ผู้ใหญ่ ควรนอนวันละ 7–9 ชั่วโมงวัยรุ่น ควรนอน 8–10 ชั่วโมงเด็กเล็ก–ทารก อาจต้องการนอนมากถึง 18 ชั่วโมงต่อวันนอกจากปริมาณแล้ว “คุณภาพของการนอน” ก็สำคัญไม่แพ้กัน หากคุณนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ก็อาจยังรู้สึกง่วงเพลียและปวดหัวในตอนเช้าได้

นอนกรน เสี่ยง โรคใหลตาย ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

อาการนอนกรนไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนรอบข้างเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่อันตรายถึงชีวิต

3 วิธีแก้นอนกรนไม่ผ่าตัด ของขวัญสำหรับสุขภาพการนอน

หากจะพูดถึงของขวัญที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” โดยเฉพาะคุณภาพการนอนหลับที่ดี

ทำไมการตรวจการนอนหลับ ถึงสำคัญต่อสุขภาพของเรา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมในบางคืนเราถึงนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังรู้สึกเหนื่อย หรือบางคนอาจตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ จนทำให้รู้สึกนอนไม่พอ

World Sleep Day 2025

World Sleep Day หรือ วันนอนหลับโลก เกิดขึ้นภายใต้สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine: WASM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ และตระหนักรู้ถึงความอันตรายของปัญหาการนอนหลับ เป็นการสื่อสารไปสู่ผู้คนในวงกว้างด้วยความพยายามที่จะป้องกันและบรรเทาปัญหาการนอนของคนทั้งโลก และรณรงค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการหลับที่มีคุณภาพ ถูกจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 หลังจากนั้นมีการจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม วันนอนหลับโลก แล้วมากกว่า 67 ประเทศทั่วโลก เปิดสถิติ คนไทยประสบปัญหาการนอนหนัก การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของการฟื้นฟูร่างกาย แท้จริงแล้ว การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่เป็นการพักผ่อนอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์ใช้เวลามากถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน เพื่อเติมพลังให้ชีวิตสามารถใช้ชีวิตอีก 2 ใน 3 ที่เหลือ การนอนหลับที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิตมนุษย์ เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอนหลับที่มีคุณภาพ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยมากมึง 19 ล้านคน กำลังประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การนอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นกลางดึกบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ นอนกรน หรือรุนแรงถึงหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาเหล่านี้ได้ในคนอายุน้อยลงมากขึ้น การนอนหลับที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร การนอนหลับที่มีคุณภาพ หรือ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับเพียงอย่างเดียว ความลึกของการนอนหลับกับเวลาเข้านอนที่เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมาก หากหลับลึกไม่พอ หรือความผิดปกติระหว่างการนอนบางอย่าง อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอนในช่วงเช้า (Unrested Sleep) อาจส่งผลกระทบกับระบบความจำ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทบการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป ระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สามารถอ้างอิงเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ล่วงวัยได้ ดังนี้ เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) = 14-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กทารก (อายุ 4-11 เดือน) = 12-15 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็ก (อายุ 1-2 ปี) = 11-14 ชั่วโมงต่อวัน วัยอนุบาล (3-5 ปี) = 10-13 ชั่วโมงต่อวัน วัยประถม (6-13 ปี) = 9-11 ชั่วโมงต่อวัน วัยมัธยม (14-17 ปี) = 8-10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่น (18-25 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยทำงาน (26-64 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) = 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เช็คลิสต์ อาการนอนหลับผิดปกติ ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางดึก (Nocturnal Urination)อาจเป็นการตอบสนองของร่างกาย เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นหลังเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Bradycardia-tachycardia) เลือดไปเลี้ยงที่ไตเพิ่มขึ้น มีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นขณะนอนหลับ ในขณะเดียวกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้นอนหลับไม่ค่อยลึก จึงทำให้สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)เป็นความผิดปกติที่ต้องรีบหาสาเหตุและรักษา อาจะส่งผลอันตรายในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือเกิดอุบัติเหตุได้ในขณะปฏิบัติงาน และอาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ ไหลตาย Insomnia หรือ Narcolepsy และอื่นๆขาขยุกขยิก (Restless Legs)เป็นอาการที่ทำให้ต้องขยับขาไปมา เพราะรู้สึกมีความผิดปกติที่บริเวณขา จึงต้องขยับบ่อย ๆ เพื่อทำให้ความรู้สึกผิดปกติที่ขาลดลง อาการนี้มักพบได้ในช่วงเวลาค่ำ อาจพบในรายที่มีอาการโลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่น ๆปวดศีรษะหลังเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)อาจเป็นผลมาจากที่ขณะนอนหลับไม่สามารถขับถ่าย Carbon Dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม มีผลทำให้เส้นเลือดแดงในสมองขยายตัวจาก Respiratory Acidosis จึงทำให้รู้สึกปวดศีรษะ และอาการนี้จะรุ้สึกได้มากในช่วงเวลาเช้าหลังเพิ่งตื่นนอนนอนกรน (Snoring)มีเสียงหายใจดังมาก หรือ เสียงกรนดังขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพของตนเอง และอาจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ด้วย เป็นอาการอันตราย ต้องรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว เช่น Cardiovascular Problems Metabolic Syndrome ความจำเสื่อม ความดันสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่น ๆหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)เป็นอาการผิดปกติของการนอนกลับที่อันตรายรุนแรง อาจส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคหยุดหายใจขณะหลับอาจสังเกตได้อย่างหากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (Waking up Choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (Waking up Gasping) Cognitive Dysfunctionsนอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การนอนหลับ ตรวจคุณภาพได้ Sleep Test (Polysomnography) หรือ การตรวจคุณภาพการนอนหลับ คือ การตรวจวัดคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจระหว่างการนอนหลับ นอกจากนั้นยังตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาและการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน เพื่อตรวจดูคุณภาพการนอนหลับ ค้นหาความผิดปกติของการนอน หรือ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการนอนบางอย่าง อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรค สมองเสื่อม...

CPAP แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง

อาการนอนกรน ถือเป็นปัญหาสุขภาพของใครหลาย ๆ คน ในเฉพาะคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ไม่เพียงแต่ทำให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่ยังเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจที่เรียกว่า CPAP ซึ่งย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressureเครื่อง CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการส่งแรงดันอากาศอย่างต่อเนื่องผ่านทางหน้ากาก เพื่อเปิดทางเดินหายใจของคุณให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการหยุดหายใจซ้ำ ๆ ในขณะหลับ ทำให้การนอนหลับทุกคืนของคุณกลับมาเป็นปกติเครื่อง CPAP ทำงานอย่างไร?เครื่อง CPAP ทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศไปยังทางเดินหายใจผ่านหน้ากากที่สวมใส่ขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันการปิดตัวของทางเดินหายใจในขณะที่กำลังหายใจเข้า โดยทั่วไปเครื่อง CPAP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใครบ้างที่ควรใช้เครื่อง CPAP?เครื่อง CPAP มักจะถูกแนะนำหรือมาใช้รักษาให้กับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่รุนแรงหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม การใช้ CPAP ช่วยทำให้คนไข้กลับมามีการนอนหลับที่ต่อเนื่องขึ้น ลดเสียงกรน และป้องกันภาวะการหยุดหายใจซ้ำ ๆโดยรวมแล้ว การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแก้กรนเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการหายใจระหว่างการนอนหลับ และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องขอบคุณข้อมูลจากเครื่อง CPAP มีกี่ประเภท?แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ก็ยังมีเครื่องประเภทอื่น ๆ ที่ทำงานคล้ายกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้ความแตกต่างของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อข้อดีและข้อเสียของเครื่อง CPAPการเลือกใช้เครื่อง CPAP มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ข้อดีข้อเสียการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP ที่ VitalSleep Clinicที่ VitalSleep Clinic เราให้บริการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ด้วย เครื่อง CPAP เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นขณะนอนหลับ ทำงานโดยการส่งแรงดันลมอย่างสม่ำเสมอผ่านหน้ากากเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการอุดกั้น ลดการหยุดหายใจและเสียงกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดคืน ลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดสมองทำไมต้องเลือก CPAP กับ VitalSleep Clinic?หากคุณมีอาการ นอนกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน หรือหายใจติดขัดขณะหลับ อย่าปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ VitalSleep Clinic เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

Sex เสื่อมเพราะนอนกรน

Sex เสื่อมเพราะนอนกรน หลายคนอาจเคยเจอกับปัญหาคู่รักนอนกรน มักจะถูกมองข้าม เพราะหลายคนคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่น่ามีผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ แต่รู้หรือไม่ว่าอาการนอนกรนสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และสามารถส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศได้ การหาวิธีรักษาการนอนกรนจึงไม่ใช่แค่เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยรักษาความสัมพันธ์และสุขภาพทางเพศของคู่รักได้อีกด้วยการนอนกรนในผู้ชายและผู้หญิงหลายคนอาจเข้าใจว่าผู้ชายมีแนวโน้มที่จะมีอาการนอนกรนที่มากกว่าผู้หญิง แต่งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เหมือนผู้ชายเช่นเดียวกันจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Sleep Medicine ในปี 2008 ที่ศึกษาการนอนกรนในประชากรวัยทำงานของประเทศสวีเดน พบว่า 24.5% ของผู้หญิงมีอาการนอนกรน มีอัตราที่ใกล้เคียงกับผู้ชาย ที่มีอัตราการนอนกรนอยู่ที่ 30.3% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้การนอนกรนแตกต่างกันไป อาจเกี่ยวข้องกับลักษณะทางร่างกาย ฮอร์โมน และการใช้ชีวิตอ่านเพิ่มเติมการนอนกรนมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศหรือไม่?มีงานวิจัยที่ว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางเพศ โดยเฉพาะภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) ในผู้ชาย การหยุดหายใจขณะหลับอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง การผลิตไนตริกออกไซด์ลดลง การไหลเวียนของเลือดไปยังบริเวณอวัยวะเพศบกพร่อง ผลมาจากการขาดออกซิเจนระหว่างการนอนหลับ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าและง่วงนอนในระหว่างวัน ซึ่งทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงไม่เฉพาะในผู้ชายเท่านั้น แต่ยังอาจกระทบถึงเพศหญิงได้เช่นกันขอบคุณข้อมูลจากสาเหตุของการนอนกรนการนอนกรนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้วิธีการรักษาอาการนอนกรนในผู้ชายและผู้หญิงอาจแตกต่างกันไปหลายปัจจัย ได้แก่วิธีแก้ปัญหานอนกรนด้วยตนเองแม้ว่าจะไม่มีวิธีที่สามารถรักษาอาการนอนกรนได้ด้วยตัวเองแบบรับประกัน 100% ว่าจะหายนอนกรนได้ แต่ก็มีวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการชีวิตที่สามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการนอนกรนได้วิธีการรักษานอนกรนที่ VitalSleep Clinicมีวิธีการรักษาทั้งแบบไม่ต้องผ่าตัดและการผ่าตัด โดยวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ได้แก่ การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy) การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance) การใช้คลื่นความถี่ความถี่สูง (Radiofrequency) และการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP)สำหรับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่รุนแรงมาก การผ่าตัดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อขยายทางเดินหายใจ การผ่าตัดขากรรไกร (Maxillomandibular advancement, MMA) เคลื่อนขากรรไกรไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจสิ่งสำคัญคือต้องรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละคน เพราะการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณในระยะยาว การได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้คุณและคนที่คุณรักสามารถนอนหลับได้ดีสรุปการนอนกรนไม่ใช่แค่ปัญหาเล็กน้อยที่รบกวนการนอนหลับของคุณหรือคู่รักเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สมรรถภาพทางเพศ และสุขภาพจิตได้ด้วย อาการนอนกรนอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่าที่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)