Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
7 วิธีรักษานอนกรน
และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ

7 วิธีรักษานอนกรน

และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ
Table of Contents

วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วย

ลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์

  • ลดน้ำหนัก
    สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกิน ไขมันที่สะสมอยู่บริเวณลำคอมากอาจไปกดทับทางเดินหายใจ การลดน้ำหนักจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในหลาย ๆ ด้านอีกด้วย
  • งดดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ก่อนนอน
    เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์สามารถทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนลงมากขึ้นตอนที่เรานอนหลับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ก่อนนอน
    เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและบวมของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดการคัดจมูกและหายใจติดขัด
  • นอนหลับให้เพียงพอ
    การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอทำให้ร่างกายอ่อนล้า กล้ามเนื้อบริเวณลำคอและช่องทางเดินหายใจหย่อนตัวลงได้ง่ายขึ้น ควรจัดตารางการนอนให้เพียงพอเพื่อลดความเสี่ยงของอาการกรน
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิด
    เช่น ยานอนหลับ ยาระงับประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง อาจมีผลข้างเคียงทำให้กล้ามเนื้อในลำคอหย่อนตัวลง ทางเดินหายใจแคบลงและเกิดอาการกรน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อในบริเวณลำคอ ทำให้การหย่อนตัวของเนื้อเยื่อในช่องปากและลำคอในขณะนอนหลับลดลง

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก

ทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธี

สัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกต

  1. เสียงกรนดังมาก ได้ยินแม้อยู่ในห้องที่ปิดประตู
  2. นอนกระสับกระส่าย ขยับตัวเยอะในขณะหลับ
  3. ปวดศีรษะเมื่อคุณตื่นนอนตอนเช้า
  4. ตื่นขึ้นมาหายใจแรง สำลัก หรือรู้สึกหายใจติดขัด
  5. ง่วงนอนระหว่างวันมากกว่าปกติ
  6. มีความต้องการทางเพศลดลง

หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

การรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทาง

ที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่

  1. การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)

เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้

อ่านเพิ่มเติม:

  1. เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance)

เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรน

อ่านเพิ่มเติม:

และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine

  1. การใช้คลื่นความถี่วิทยุ RF Bot

จะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม:

  1. เครื่องช่วยหายใจ CPAP

เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม:

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้

สรุป

วิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว

Related Blogs and Articles
หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เราขอแนะนำตรวจ Sleep Test

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

การหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะผิดปกติที่สามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัญหานอนกรน

CPAP แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง

อาการนอนกรน ถือเป็นปัญหาสุขภาพของใครหลาย ๆ คน ในเฉพาะคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ไม่เพียงแต่ทำให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่ยังเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจที่เรียกว่า CPAP ซึ่งย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressureเครื่อง CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการส่งแรงดันอากาศอย่างต่อเนื่องผ่านทางหน้ากาก เพื่อเปิดทางเดินหายใจของคุณให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการหยุดหายใจซ้ำ ๆ ในขณะหลับ ทำให้การนอนหลับทุกคืนของคุณกลับมาเป็นปกติเครื่อง CPAP ทำงานอย่างไร?เครื่อง CPAP ทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศไปยังทางเดินหายใจผ่านหน้ากากที่สวมใส่ขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันการปิดตัวของทางเดินหายใจในขณะที่กำลังหายใจเข้า โดยทั่วไปเครื่อง CPAP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใครบ้างที่ควรใช้เครื่อง CPAP?เครื่อง CPAP มักจะถูกแนะนำหรือมาใช้รักษาให้กับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่รุนแรงหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม การใช้ CPAP ช่วยทำให้คนไข้กลับมามีการนอนหลับที่ต่อเนื่องขึ้น ลดเสียงกรน และป้องกันภาวะการหยุดหายใจซ้ำ ๆโดยรวมแล้ว การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแก้กรนเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการหายใจระหว่างการนอนหลับ และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องขอบคุณข้อมูลจากเครื่อง CPAP มีกี่ประเภท?แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ก็ยังมีเครื่องประเภทอื่น ๆ ที่ทำงานคล้ายกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้ความแตกต่างของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อข้อดีและข้อเสียของเครื่อง CPAPการเลือกใช้เครื่อง CPAP มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ข้อดีข้อเสียการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP ที่ VitalSleep Clinicที่ VitalSleep Clinic เราให้บริการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ด้วย เครื่อง CPAP เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นขณะนอนหลับ ทำงานโดยการส่งแรงดันลมอย่างสม่ำเสมอผ่านหน้ากากเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการอุดกั้น ลดการหยุดหายใจและเสียงกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดคืน ลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดสมองทำไมต้องเลือก CPAP กับ VitalSleep Clinic?หากคุณมีอาการ นอนกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน หรือหายใจติดขัดขณะหลับ อย่าปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ VitalSleep Clinic เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ แถมตื่นมาปวดหัว ควรตรวจ Sleep Test ที่ไหนดี

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ นอนนานแค่ไหนก็ยังไม่สดชื่น? แถมตื่นมาแล้วยังปวดหัวอีก? ปัญหาแบบนี้พบได้บ่อยและอาจมากกว่าการนอนไม่พอ บางครั้งอาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ หรือความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจต้องรับการตรวจ Sleep Test เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวหลังตื่นนอน การตื่นมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะไม่ใช่เรื่องเล็ก หลายกรณีอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนรุนแรง ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลงระหว่างหลับภาวะขาดน้ำ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและสมอง อาจทำให้คุณปวดหัวในช่วงเช้าได้สภาพแวดล้อมการนอนไม่เหมาะสม หมอนที่ไม่พอดี แสงหรือเสียงรบกวน ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ อาจทำให้คุณปวดหัวในตอนเช้าได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด มีผลต่อวงจรการนอนหลับ อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหรือปวดหัวในตอนตื่นไมเกรน โดยเฉพาะในคนที่เคยปวดหัวไมเกรน อาจมีอาการกำเริบในช่วงเช้า ทำไมการนอนไม่พอถึงทำให้ปวดหัวได้? อาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงอย่างเดียว แต่ "การนอนไม่พอ" ก็เป็นตัวการสำคัญที่หลายคนมองข้ามบทความที่เกี่ยวข้อง : สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ อันตราย อย่าปล่อยไว้ ก่อนเป็นเรื่องใหญ่ 1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สมองจะปรับสมดุลสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ โดพามีน (Dopamine) ที่ช่วยลดความไวของระบบประสาทต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เมื่อนอนน้อย ระดับสารเหล่านี้จะเสียสมดุล 2. เพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด การอดนอนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง คอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้อาจไปทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง 3. กล้ามเนื้อตึงและการกดทับของเส้นประสาท ร่างกายอาจตกอยู่ในภาวะ "ตึงเครียด" ตลอดคืนโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และศีรษะที่ไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ ความตึงเครียดนี้อาจส่งผลให้เส้นประสาทในบริเวณศีรษะถูกกดทับจนเกิดอาการปวดศีรษะตอนตื่นนอนได้ 4. การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะเข้าสู่โหมดฟื้นฟูระบบไหลเวียนโลหิต แต่หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ การไหลเวียนเลือดในสมองจะลดลงหรือไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเวียนหัว มึนศีรษะ หรือปวดหัวหลังตื่นนอนได้ 5. เชื่อมโยงกับโรคไมเกรน มีงานวิจัยที่พบว่า การนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนในผู้ที่มีแนวโน้มอยู่แล้ว อาจรุนแรงและยาวนานมากขึ้น ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ “นอนไม่พอเฉย ๆ” ทั้งที่จริงแล้วกำลังเข้าสู่วงจรของไมเกรนเรื้อรังอ่านข้อมูลเพิ่มเติม อยากรู้ว่านอนพอไหม? ตรวจการนอนหลับด้วย Belun Ring ได้ที่ VitalSleep Clinic https://www.youtube.com/shorts/yF3sZhOaXGg หากคุณมักตื่นขึ้นมาพร้อมอาการปวดหัว เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนครบ 7-8 ชั่วโมง อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องเช็กคุณภาพการนอนของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น การตรวจการนอนหลับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจว่า “เรานอนพอจริงไหม?” และ “ร่างกายได้พักผ่อนอย่างมีคุณภาพหรือเปล่า?” สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย https://www.youtube.com/shorts/VHwrvaJPK08 โปรแกรม mHBOT (Mild Hyperbaric Oxygen Therapy) คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนสู่สมอง ฟื้นฟูระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับลึก และลดอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดจากการนอนไม่เพียงพอหลับลึก หลับสนิทขึ้นลดการตื่นกลางดึกฟื้นฟูระบบสมอง ลดอาการปวดหัวที่เรื้อรังจากการนอนเพิ่มพลังระหว่างวัน ตื่นมาสดชื่น สมองโล่งกว่าเดิม ปรึกษาวิธีการรักษากับเเพทย์เฉพาะทาง! ผลเสียจากการนอนไม่พอที่คุณอาจคาดไม่ถึง การนอนไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น:สมาธิลดลง ตัดสินใจช้าอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในภูมิคุ้มกันลดลง ป่วยง่ายอยากอาหารมากขึ้น เสี่ยงอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจ ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะพอ? ผู้ใหญ่ ควรนอนวันละ 7–9 ชั่วโมงวัยรุ่น ควรนอน 8–10 ชั่วโมงเด็กเล็ก–ทารก อาจต้องการนอนมากถึง 18 ชั่วโมงต่อวันนอกจากปริมาณแล้ว “คุณภาพของการนอน” ก็สำคัญไม่แพ้กัน หากคุณนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ก็อาจยังรู้สึกง่วงเพลียและปวดหัวในตอนเช้าได้

เสี่ยงตาย! รู้ไหม นอนกรนเกิดจาก ร่างกายหายใจไม่ออก

การนอนกรนเป็นอาการที่หลายคนอาจมองข้าม ที่จริงแล้วมันเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาทางสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

Sleep Test มีกี่แบบ

Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน? การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test เป็นการตรวจทดสอบเพื่อประเมินสภาพการนอนของเรา ตรวจหาปัญหาการนอนหลับและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยการทดสอบนี้มีหลายแบบ แบ่งตามมาตรฐานของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับแห่งสหรัฐอเมริกา (AASM) แต่ละแบบมีความซับซ้อนและวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยรูปแบบการตรวจ Sleep Testระดับที่ 1 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืนการตรวจนี้เป็นการทดสอบการนอนหลับที่ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด โดยมีการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตาและใต้คาง, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดลมหายใจ ขณะทดสอบมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูตลอดทั้งคืน มักจะทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีห้องตรวจเฉพาะ การตรวจในระดับนี้มีความละเอียดและแม่นยำมาก เหมาะสำหรับคนที่มีอาการนอนหลับผิดปกติอย่างรุนแรงระดับที่ 2 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าการทดสอบในระดับนี้จะคล้ายกับระดับที่ 1 ในเรื่องความละเอียดในของการวัดข้อมูล แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน สามารถทำการตรวจที่บ้านได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งอุปกรณ์ในตอนเย็นแล้วปล่อยให้ทดสอบเองในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ข้อดี ของการทดสอบระดับที่ 2 นี้คือ ค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่าการตรวจในโรงพยาบาล ไม่ต้องเดินทางหรือเสียเวลารอคิวตรวจเป็นเวลานานระดับที่ 3 การทดสอบแบบจำกัดข้อมูลจะมีความละเอียดน้อยกว่าระดับที่ 1 และ 2 โดยวัดเพียงข้อมูลพื้นฐาน เช่น การวัดการหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดเสียงกรน ในบางครั้งอาจมีการวัดคลื่นหัวใจร่วมด้วย จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่ซับซ้อนหรือแค่นอนกรนอย่างเดียว เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการนอนหลับได้เต็มที่ เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง อาจไม่ได้รับข้อมูลที่แม่นยำเท่ากับการตรวจระดับที่ 1 และ 2ระดับที่ 4 การทดสอบวัดออกซิเจนในเลือดและลมหายใจเป็นการตรวจการนอนหลับที่พื้นฐานที่สุด วัดเพียงออกซิเจนในเลือดหรือลมหายใจขณะหลับ ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจนี้มีจำกัดไม่เพียงพอในการวินิจฉัยอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างแม่นยำอ่านเพิ่มเติม วิธีการเลือกการตรวจที่เหมาะสม การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของปัญหาการนอนหลับของแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการนอนกรนธรรมดา การตรวจในระดับที่ 3 อาจเพียงพอ แต่หากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยไหม ควรพิจารณาการตรวจระดับที่ 1 หรือ 2 ที่มีความละเอียดสูงกว่า สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย การเลือกตรวจที่บ้านในระดับที่ 2 เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะสามารถทำในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าทาง VitalSleep Clinic มีให้บริการการตรวจการนอนหลับทั้งระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งสามารถทำการตรวจที่บ้านของผู้รับการตรวจได้ โดยให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและสะดวกสบายมากขึ้น ปรึกษาการตรวจการนอนหลับฟรี! ขั้นตอนการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ระดับ 1 และ 2 https://www.youtube.com/shorts/dGpk79k46ks เริ่มต้นการทดสอบจะเริ่มในช่วงหัวค่ำ ประมาณ 00 น. หรือตามเวลาที่เหมาะสมของผู้รับการตรวจ เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับ กรอกเอกสารความยินยอม หลังจากนั้นจะอธิบายถึงการใช้อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจการใช้ CPAP สำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจรุนแรงหากพบว่าผู้รับการตรวจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรง เจ้าหน้าที่จะทำการทดลองใส่หน้ากาก CPAP เพื่อช่วยในการรักษาในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการทดสอบการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอนการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นกล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตา ตรวจวัดคลื่นหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการวัดลมหายใจและการตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุดการตรวจวัดระบบหายใจผู้รับการตรวจจะได้รับการวัดการหายใจโดยมีสายวัดติดบริเวณจมูก สายรัดที่หน้าอกและท้อง รวมถึงการวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ในบางกรณีอาจมีการบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม ตามความจำเป็นการทดสอบตลอดคืนสำหรับการตรวจระดับที่ 1 จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูในห้องควบคุมเพื่อติดตามการนอนตลอดคืน ในขณะที่การตรวจระดับที่ 2 จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า แต่ผู้รับการตรวจจะนอนหลับอย่างต่อเนื่องตามปกติ คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการตรวจสวมเสื้อผ้าที่สบายเหมือนชุดที่ใส่นอนตามปกติทุกคืนหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ตรวจหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักในช่วงบ่ายในวันที่ตรวจแจ้งเจ้าหน้าที่หากคุณมีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวหลังจากการตรวจเสร็จสิ้นในช่วงเช้า ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำตรวจการนอนหลับที่บ้านกับ VitalSleep Clinic สะดวก ปลอดภัย แม่นยำหากคุณมีปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือนอนแล้วไม่สดชื่น การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) คือทางเลือกที่สะดวกและง่ายที่สุด!ไม่ต้องเดินทางอยู่ที่ไหนก็ตรวจได้ แม้คุณจะอยู่ต่างจังหวัดใช้งานง่ายอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด แค่ติดตั้งก่อนนอนผลแม่นยำวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลังรู้ผลไวพร้อมให้คำแนะนำแนวทางการรักษาที่ Vital Sleep Clinic เรามุ่งเน้นการให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้าน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำใกล้เคียงกับสภาวะการนอนหลับในชีวิตจริง นอกจากนี้เรายังมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลในทุกขั้นตอนอ่านเพิ่มเติม สรุป การตรวจการนอนหลับ Sleep Test หรือการตรวจสุขภาพการนอนหลับมีทั้งหมด 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีความซับซ้อนและวิธีการตรวจที่แตกต่างกันออกไป การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความจำเป็นของผู้ป่วย โดยการตรวจระดับที่ 1 และ 2 เป็นการตรวจที่ละเอียดและได้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนหลับผิดปกติรุนแรง ในขณะที่การตรวจระดับที่ 3 และ 4 เป็นการตรวจที่จำกัดข้อมูลมากกว่า เหมาะกับผู้ที่มีอาการน้อยหรือไม่ซับซ้อนการเลือกสถานที่ตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง หากคุณต้องการความสะดวกสบายและต้องการผลลัพธ์ที่แม่นยำ การเลือกทำ Sleep Test ที่บ้านเป็นทางเลือกที่ดี การนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น สะดวกในการเข้ารับการตรวจที่ Vital Sleep Clinic เราให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้านของคนที่อยากตรวจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและใกล้เคียงกับการนอนในชีวิตประจำวัน หากคุณสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ สามารถติดต่อเราได้ เรายินดีให้บริการและคำแนะนำที่เหมาะสมแก่คุณ สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย

นอนกรนเรื้อรัง_นอนกรนเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หาย ต้องลองวิธีนี้!

นอนกรนรักษามาตั้งหลายวิธีก็ไม่เห็นผล สุดท้ายก็ยังนอนกรนเสียงดังอยู่ดี ต้องรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มาหาคำตอบวิธีการรักษา

3 วิธีแก้นอนกรนไม่ผ่าตัด ของขวัญสำหรับสุขภาพการนอน

หากจะพูดถึงของขวัญที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” โดยเฉพาะคุณภาพการนอนหลับที่ดี

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)