Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เจ็บ เสื่อม
อันตรายแค่ไหน
รักษาอย่างไร ?

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ เจ็บ เสื่อม

อันตรายแค่ไหน
รักษาอย่างไร ?
Table of Contents

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบหรือที่เรียกกันว่า Temporomandibular joint disorder (TMD) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อต่อขากรรไกร ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างขากรรไกรล่างและฐานของกระโหลกศีรษะ ภาวะนี้ทำให้เกิดอาการปวดขากรรไกร ปวดกราม อาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อได้

สาเหตุของข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD)

การเกิดข้อต่อขากรรไกรอักเสบนั้นมีหลายสาเหตุร่วมที่ส่งผล ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่อาการมักจะเกิดจากการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  1. แผ่นหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือสึกหรอ
    เมื่อแผ่นหมอนรองกระดูกที่ข้อต่อเกิดการสึกกร่อนหรือเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดเกิดขึ้นได้
  2. ภาวะข้อเสื่อม
    กระดูกอ่อนในข้อต่ออาจถูกทำลายจากภาวะข้อเสื่อม มักจะเกิดจากการใช้งานข้อต่ออย่างต่อเนื่อง
  3. การบาดเจ็บจากภายนอก
    แรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือการกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณขากรรไกร ก็สามารถทำให้ข้อต่ออักเสบได้
  4. การนอนกัดฟันหรือฟันไม่สบกัน
    อาการนอนกัดฟันหรือการฟันไม่สบกัน ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้อต่อขากรรไกรรับแรงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดบริเวณข้อต่อ
  5. การทำงานของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ
    กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคี้ยวอาหารหรือตำแหน่งการหายใจที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ข้อต่อขากรรไกรต้องทำงานหนักและเกิดการอักเสบได้
  6. กรรมพันธุ์
    บางครั้งในปัญหานี้ก็อาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ที่ทำให้ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อมีความผิดปกติมาแต่กำเนิดแล้ว

อาการของข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ได้แก่

  • ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดหลังตา
    อาการปวดเหล่านี้มักเกิดร่วมกับการอักเสบของข้อต่อขากรรไกร โดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้ขากรรไกรมาก เช่น ช่วงที่เคี้ยวอาหารหรือกำลังพูดอยู่
  • มีเสียงคลิกเมื่ออ้าปากหรือหุบปาก
    เสียงคลิกหรือการที่ขากรรไกรเกิดการกระแทกขณะเปิดปิดปากเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีปัญหาข้อต่อขากรรไกร
  • ปวดข้อต่อขณะเคี้ยวอาหารหรืออ้าปากกว้าง
    การอ้าปากกว้าง ๆ หรือการเคี้ยวอาหาร ก็อาจทำให้ขากรรไกรเจ็บหรือปวดมากขึ้น
  • ขากรรไกรค้าง
    คนไข้บางคนอาจพบว่าไม่สามารถเปิดปากหรือปิดปากได้อย่างเต็มที่ เป็นสัญญาณว่าข้อต่อขากรรไกรกำลังมีปัญหา
  • ปวดกรามและกล้ามเนื้อ
    อาการปวดมักจะเริ่มต้นจากขากรรไกรและลามไปถึงกล้ามเนื้อรอบ ๆ ทำให้คนไขเรู้สึกไม่สบายตลอดวัน

วิธีรักษาข้อต่อขากรรไกรอักเสบด้วยเครื่องมือ Myosa® หนึ่งในวิธีการรักษาข้อต่อขากรรไกรที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Myosa® ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาอาการและลดแรงกระแทกจากข้อต่อขากรรไกร รวมถึงช่วยปรับตำแหน่งของขากรรไกรให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการรักษาด้วย Myosa®

การรักษาด้วย Myosa® มีหลายข้อดีหลายข้อ ที่ทำให้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

  • ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
    เครื่องมือ Myosa® ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบปากและข้อต่อขากรรไกรในระหว่างการนอนหลับ
  • รองรับการกระแทกของข้อต่อขากรรไกร
    ตัวเครื่องมือช่วยลดแรงกระแทกที่ข้อต่อขากรรไกรต้องรับ จึงสามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้
  • จัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
    เครื่องมือ Myosa® ช่วยปรับขากรรไกรให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถลดปัญหาการนอนกัดฟันและฟันไม่สบกันได้
  • เครื่องมือยืดหยุ่น สวมใส่สบาย
    เครื่องมือ Myosa® ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและสวมใส่ได้สบาย จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถสวมใส่ได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน

การทำงานของ Myosa®

เครื่องมือ Myosa® จะทำงานโดยการลดแรงกระแทกที่เกิดจากข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เมื่อใส่เครื่องมือนี้เข้าไป จะช่วยป้องกันการนอนกัดฟัน ปวดฟัน รวมถึงลดแรงกระแทกที่ข้อต่อต้องเผชิญในระหว่างการบดเคี้ยว นอกจากนี้ยังช่วยจัดขากรรไกรให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดอาการปวดได้ทันทีหลังจากเริ่มใช้ แล้วยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาว

การใช้งาน Myosa® ในการรักษา

เครื่องมือ Myosa® ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระหว่างการนอนหลับเป็นหลัก ในกรณีที่คนไข้มีปัญหากัดฟันหรือขากรรไกรในระหว่างวัน ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ในช่วงกลางวันได้เหมือนกัน การใส่เครื่องมือ Myosa® ในระหว่างวันจะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและใบหน้า ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้รับการบรรเทาและกลับมาทำงานอย่างสมดุล

นอกจากนี้ Myosa® ยังเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ โดยการฝึกการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาปัญหาข้อต่อขากรรไกรและการนอนกัดฟันมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น

สรุป

ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ หรือ TMD เป็นภาวะที่เกิดจากหลายปัจจัย เช่น การนอนกัดฟัน ฟันไม่สบกัน หรือการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อขากรรไกร การรักษาด้วยเครื่องมือ Myosa® เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดแรงกระแทกและอาการปวดได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืนเพื่อลดอาการและป้องกันการบาดเจ็บในระยะยาว

หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดขากรรไกร เสียงคลิกขณะอ้าปาก มีปัญหาอาการนอนกัดฟัน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

Related Blogs and Articles
คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย-สาเหตุ-อันตราย-วิธีรักษาการนอนกรนและ-โรคหยุดหายใจขณะหลับ

สาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนประสบ โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะดังกล่าว วันนี้เราจะพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรน รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ มาฟังกันเลยค่ะ ซีมง: ทำไมบางคนถึงมีอาการกรนแต่บางคนกลับไม่มีอาการกรนคะ?​ คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบ สาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซีมง: ค่ะคุณหมอ…สรุปแล้ว โรคหยุดหายใจขณะหลับอันตรายยังไงบ้างคะ? คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวัน ซีมง: เอ๊ะ หรือว่าจะเป็นอยู่ (เสียงหัวเราะ) คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ (เสียงหัวเราะ) ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ Recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ Recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime Sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลย ซีมง: เอาละค่ะ… วันนี้เราก็ได้รู้สาเหตุและอันตรายของการกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับไปแล้วนะคะ คุณหมอมีอะไรจะทิ้งท้ายกับคนที่ดูอยู่ไหมคะ คุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะ ซีมง: ค่ะ วันนี้เราก็ได้ความรู้ไปมากมาย ใครที่สนใจอยากรู้วิธีรักษาการนอนกรนเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้ใน EP ต่อไปเลยค่ะ ก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะ อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การหยุดหายใจขณะหลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เพราะในระหว่างที่หายใจไม่ได้ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และผลที่ตามมาก็คือ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ พลังงานชีวิตจะลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆ วิธีการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะ โดยที่ Vital Sleep Clinic มีการรักษาแบบครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด พร้อมด้วยการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการกรน เช่น Myosa® นอกจากนี้ ทีมแพทย์ที่ Vital Sleep Clinic เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและการรักษาภาวะนอนกรน จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด สรุป การนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับมีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากคุณพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่เหมาะสม

3 วิธีแก้นอนกรนไม่ผ่าตัด ของขวัญสำหรับสุขภาพการนอน

หากจะพูดถึงของขวัญที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่า “สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง” โดยเฉพาะคุณภาพการนอนหลับที่ดี

นอนกรน เสี่ยงมะเร็งจริงหรือ

หลายคนอาจคิดว่า “การนอนกรน” เป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งมักพบร่วมกับการกรน อาจมีความเชื่อมโยงกับ “โรคมะเร็ง”https://www.youtube.com/shorts/Qil5hs1gy5A ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร? ข้อมูลจากสถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NHLBI) ระบุว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ จะมีช่วงที่หยุดหายใจและกลับมาหายใจซ้ำ ๆ ขณะนอนหลับ ทำให้หลับไม่สนิท นอนหลับไม่เต็มที่และรบกวนคุณภาพชีวิตในระยะยาวสาเหตุหลัก มาจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอที่หย่อนตัวผิดปกติ ทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้น หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ความเชื่อมโยงระหว่างการนอนกรนกับโรคมะเร็ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Athanasia Pataka จาก Aristotle University of Thessaloniki ประเทศกรีซ ได้เปิดเผยว่า ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีอาการกรนอย่างรุนแรง จะมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำระหว่างนอนหลับ ภาวะนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด งานวิจัยที่ชี้ชัด มีการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างกว่า 19,000 คน (ชาย 13,767 คน หญิง 5,789 คน) พบว่าผู้ที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ซ้ำ ๆ ในแต่ละคืน มีความเสี่ยงต่อมะเร็งมากขึ้นในกลุ่มนี้ มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจำนวน 388 คน (ราว 2%)มะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงคือ มะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายคือ มะเร็งต่อมลูกหมากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจคือ การหยุดหายใจขณะหลับมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็ง ชัดเจนในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในคนที่มีอาการรุนแรง และมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงกลางคืนนักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ปัจจัยทางชีววิทยาระหว่างเพศชายและหญิง เช่น ฮอร์โมน อาจเป็นตัวเร่งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง รวมถึงอิทธิพลของออกซิเจนต่ำในเลือด ซึ่งอาจกระตุ้นกระบวนการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย วิธีรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การรักษาจะเริ่มจาก การตรวจ Sleep Test เพื่อประเมินความรุนแรง จากนั้นแพทย์เฉพาะทางจะวางแผนการรักษา มีทั้งแบบไม่ผ่าตัดและผ่าตัดบทความที่เกี่ยวข้อง สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ยางครอบฟันช่วยเปิดทางเดินหายใจ (Oral Appliance)การทำบำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)คลื่นความถี่วิทยุ RF Bot จี้โคนลิ้นและเยื่อบุจมูกการใช้ CPAP การรักษาแบบผ่าตัด การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร (Maxillomandibular Advancement)การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ทำไมต้องรักษาที่ VitalSleep Clinic? แพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญมีทีมแพทย์ที่ผ่านการอบรมจากสถาบันระดับโลก พร้อมใบรับรองด้านการรักษาความผิดปกติของกล้ามเนื้อช่องปาก ใบหน้าและทางเดินหายใจเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยครอบคลุมทั้งแนวทางแบบไม่ผ่าตัดและผ่าตัด รวมถึง Myosa® สำหรับผู้มีปัญหานอนกัดฟันหรือข้อต่อขากรรไกรใส่ใจ ดูแลรักษาได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือปัญหาข้อต่อขากรรไกร พร้อมดูแลอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง สรุป ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำขณะหลับ จึงควรตรวจ Sleep Test เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัดที่ VitalSleep Clinic พร้อมดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ ฟรี!

นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ โรคร้ายที่อาจพรากชีวิตโดยไม่รู้ตัว

นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับการนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยอันตรายโดยไม่รู้ตัว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการ นอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) มันไม่ใช่แค่เรื่องของเสียงรบกวนระหว่างหลับเท่านั้น แต่เป็นโรคร้ายที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตอย่างเงียบ ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวhttps://www.youtube.com/watch?v=O6cvnSTn7lA ภาวะนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร? นอนกรนเกิดจากการสั่นของเนื้อเยื่อในลำคอ อากาศที่ผ่านช่องทางเดินหายใจที่ตีบแคบในระหว่างหลับ อาจเกิดจากเพดานอ่อน โคนลิ้น หรือกล้ามเนื้อคอที่หย่อนคล้อยมาขวางลม การหายใจอาจหยุดลงชั่วขณะ และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดคืน เรียกว่า "ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น" ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง สมองและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นโดยไม่รู้ตัวบทความที่เกี่ยวข้อง นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ ทำไมถึงอันตราย? การหยุดหายใจซ้ำ ๆ ตลอดทั้งคืน ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นระยะ ส่งผลเสียร้ายแรงหลายด้าน เช่น- ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ ตื่นกลางดึก และรู้สึกไม่สดชื่นแม้จะนอนนาน- เพิ่มความเสี่ยงของ โรคร้ายแทรกซ้อน เช่นหัวใจล้มเหลว (เสี่ยงมากขึ้นถึง 140%)หลอดเลือดสมองตีบ (เสี่ยงเพิ่ม 30%)โรคหลอดเลือดหัวใจ (เพิ่มความเสี่ยง 60%)เบาหวานชนิดที่ 2 (เพิ่มความเสี่ยง 6 เท่า)ภาวะซึมเศร้า (พบในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ2%)สมองเสื่อม (ความจำเสื่อมเร็วจากขาดออกซิเจนในสมอง)ขอบคุณข้อมูลจาก https://shorturl.asia/24zEk, https://shorturl.asia/7vtOc, https://shorturl.asia/6ICHZ, https://shorturl.asia/JGftQ, https://shorturl.asia/6T2yV, https://shorturl.asia/JGftQ ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ? ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดได้กับทุกคน แต่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้บางคนมีแนวโน้มมากกว่าคนอื่น เช่นน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนไขมันรอบคออาจกดทับทางเดินหายใจ ขัดขวางการหายใจขณะหลับ (น้ำหนักขึ้นเพียง 10% เพิ่มความเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับถึง 32%)อายุที่มากขึ้นอายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อในลำคอและใบหน้าหย่อนตัว เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจเพศชายมีแนวโน้มหยุดหายใจขณะหลับ มากกว่าเพศหญิงถึง 5-6 เท่า เนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพและฮอร์โมนที่แตกต่างกันโครงสร้างใบหน้าผิดปกติคนที่มีคางเล็ก คางถอย หรือคางสั้น มีพื้นที่ช่องคอน้อยลง เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจได้มากขึ้นโรคประจำตัวคนที่เป็นเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ หรือสมองเสื่อม มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปมาก โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเผชิญภาวะหยุดหายใจขณะหลับ? อาการที่พบบ่อยและควรสังเกต ได้แก่นอนกรนเสียงดังเป็นประจำหายใจติดขัดหรือหยุดหายใจขณะหลับ (สังเกตได้จากคนข้าง ๆ)ตื่นกลางดึกบ่อย มีอาการหายใจแรงหรือสะดุ้งง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวันปวดหัวตอนเช้า ไม่สดชื่นแม้นอนนานหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือมีปัญหาความจำ รับคำปรึกษา ฟรี! อย่ารอให้อันตรายมาเยือนโดยไม่รู้ตัว การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่ควรถูกมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกถึงโรคร้ายแรงในอนาคต โดยเฉพาะในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาการเข้ารับ การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีที่แม่นยำและปลอดภัยในการวินิจฉัยโรคนี้ และถ้าพบว่ามีปัญหา ก็สามารถเริ่มรักษาได้อย่างตรงจุดตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง CPAP, Oral Appliance, การฝึกหายใจหรือปรับพฤติกรรมการนอน และการบำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป "นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ" ไม่ใช่แค่ปัญหาเสียงน่ารำคาญตอนกลางคืน แต่คือภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพโดยรวมของคุณ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง หรือคุณภาพชีวิต การใส่ใจและรับการวินิจฉัยตั้งแต่ต้น คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยรักษาชีวิตและอนาคตของคุณไว้

แก้นอนกรน ด้วย Myofunctional Therapy

การนอนกรน เป็นปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อทั้งคนที่นอนกรนและคนรอบข้าง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษานอนกรนหลายรูปแบบ แต่ Myofunctional Therapy

CPAP แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง

อาการนอนกรน ถือเป็นปัญหาสุขภาพของใครหลาย ๆ คน ในเฉพาะคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ไม่เพียงแต่ทำให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่ยังเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจที่เรียกว่า CPAP ซึ่งย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure เครื่อง CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการส่งแรงดันอากาศอย่างต่อเนื่องผ่านทางหน้ากาก เพื่อเปิดทางเดินหายใจของคุณให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการหยุดหายใจซ้ำ ๆ ในขณะหลับ ทำให้การนอนหลับทุกคืนของคุณกลับมาเป็นปกติ เครื่อง CPAP ทำงานอย่างไร? เครื่อง CPAP ทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศไปยังทางเดินหายใจผ่านหน้ากากที่สวมใส่ขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันการปิดตัวของทางเดินหายใจในขณะที่กำลังหายใจเข้า โดยทั่วไปเครื่อง CPAP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใครบ้างที่ควรใช้เครื่อง CPAP? เครื่อง CPAP มักจะถูกแนะนำหรือมาใช้รักษาให้กับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่รุนแรงหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม การใช้ CPAP ช่วยทำให้คนไข้กลับมามีการนอนหลับที่ต่อเนื่องขึ้น ลดเสียงกรน และป้องกันภาวะการหยุดหายใจซ้ำ ๆ โดยรวมแล้ว การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแก้กรนเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการหายใจระหว่างการนอนหลับ และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณข้อมูลจาก เครื่อง CPAP มีกี่ประเภท? แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ก็ยังมีเครื่องประเภทอื่น ๆ ที่ทำงานคล้ายกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้ ความแตกต่างของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อ ข้อดีและข้อเสียของเครื่อง CPAP การเลือกใช้เครื่อง CPAP มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ ข้อดี ข้อเสีย การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP ที่ VitalSleep Clinic ที่ VitalSleep Clinic เราให้บริการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ด้วย เครื่อง CPAP เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นขณะนอนหลับ ทำงานโดยการส่งแรงดันลมอย่างสม่ำเสมอผ่านหน้ากากเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการอุดกั้น ลดการหยุดหายใจและเสียงกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดคืน ลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดสมอง ทำไมต้องเลือก CPAP กับ VitalSleep Clinic? หากคุณมีอาการ นอนกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน หรือหายใจติดขัดขณะหลับ อย่าปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ VitalSleep Clinic เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

Sleep Test มีกี่แบบ

Sleep Test มีกี่แบบ และควรเลือกตรวจแบบไหน? การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test เป็นการตรวจทดสอบเพื่อประเมินสภาพการนอนของเรา ตรวจหาปัญหาการนอนหลับและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยการทดสอบนี้มีหลายแบบ แบ่งตามมาตรฐานของสมาคมเวชศาสตร์การนอนหลับแห่งสหรัฐอเมริกา (AASM) แต่ละแบบมีความซับซ้อนและวิธีการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ป่วยรูปแบบการตรวจ Sleep Testระดับที่ 1 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืนการตรวจนี้เป็นการทดสอบการนอนหลับที่ละเอียดและสมบูรณ์ที่สุด โดยมีการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตาและใต้คาง, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดลมหายใจ ขณะทดสอบมีเจ้าหน้าที่คอยเฝ้าดูตลอดทั้งคืน มักจะทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีห้องตรวจเฉพาะ การตรวจในระดับนี้มีความละเอียดและแม่นยำมาก เหมาะสำหรับคนที่มีอาการนอนหลับผิดปกติอย่างรุนแรงระดับที่ 2 การทดสอบแบบสมบูรณ์โดยไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าการทดสอบในระดับนี้จะคล้ายกับระดับที่ 1 ในเรื่องความละเอียดในของการวัดข้อมูล แต่จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าตลอดคืน สามารถทำการตรวจที่บ้านได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมาติดตั้งอุปกรณ์ในตอนเย็นแล้วปล่อยให้ทดสอบเองในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ข้อดี ของการทดสอบระดับที่ 2 นี้คือ ค่าใช้จ่ายจะน้อยกว่าการตรวจในโรงพยาบาล ไม่ต้องเดินทางหรือเสียเวลารอคิวตรวจเป็นเวลานานระดับที่ 3 การทดสอบแบบจำกัดข้อมูลจะมีความละเอียดน้อยกว่าระดับที่ 1 และ 2 โดยวัดเพียงข้อมูลพื้นฐาน เช่น การวัดการหายใจ การเคลื่อนไหวของหน้าอกและท้อง การวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการตรวจวัดเสียงกรน ในบางครั้งอาจมีการวัดคลื่นหัวใจร่วมด้วย จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่ซับซ้อนหรือแค่นอนกรนอย่างเดียว เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการนอนหลับได้เต็มที่ เนื่องจากไม่ได้วัดคลื่นสมอง อาจไม่ได้รับข้อมูลที่แม่นยำเท่ากับการตรวจระดับที่ 1 และ 2ระดับที่ 4 การทดสอบวัดออกซิเจนในเลือดและลมหายใจเป็นการตรวจการนอนหลับที่พื้นฐานที่สุด วัดเพียงออกซิเจนในเลือดหรือลมหายใจขณะหลับ ข้อมูลที่ได้รับจากการตรวจนี้มีจำกัดไม่เพียงพอในการวินิจฉัยอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างแม่นยำอ่านเพิ่มเติม วิธีการเลือกการตรวจที่เหมาะสม การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของปัญหาการนอนหลับของแต่ละคน สำหรับคนที่มีอาการนอนกรนธรรมดา การตรวจในระดับที่ 3 อาจเพียงพอ แต่หากสงสัยว่าตัวเองมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยไหม ควรพิจารณาการตรวจระดับที่ 1 หรือ 2 ที่มีความละเอียดสูงกว่า สำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบาย การเลือกตรวจที่บ้านในระดับที่ 2 เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะสามารถทำในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าทาง VitalSleep Clinic มีให้บริการการตรวจการนอนหลับทั้งระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งสามารถทำการตรวจที่บ้านของผู้รับการตรวจได้ โดยให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและสะดวกสบายมากขึ้น ปรึกษาการตรวจการนอนหลับฟรี! ขั้นตอนการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ระดับ 1 และ 2 https://www.youtube.com/shorts/dGpk79k46ks เริ่มต้นการทดสอบจะเริ่มในช่วงหัวค่ำ ประมาณ 00 น. หรือตามเวลาที่เหมาะสมของผู้รับการตรวจ เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับ กรอกเอกสารความยินยอม หลังจากนั้นจะอธิบายถึงการใช้อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจการใช้ CPAP สำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจรุนแรงหากพบว่าผู้รับการตรวจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรง เจ้าหน้าที่จะทำการทดลองใส่หน้ากาก CPAP เพื่อช่วยในการรักษาในคืนที่ตรวจเลย เมื่อผู้รับการทดสอบการนอนหลับพร้อมที่จะเข้านอนการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง, คลื่นกล้ามเนื้อ, การเคลื่อนไหวของลูกตา ตรวจวัดคลื่นหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการวัดลมหายใจและการตรวจวัดออกซิเจนในเลือด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมมากที่สุดการตรวจวัดระบบหายใจผู้รับการตรวจจะได้รับการวัดการหายใจโดยมีสายวัดติดบริเวณจมูก สายรัดที่หน้าอกและท้อง รวมถึงการวัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ในบางกรณีอาจมีการบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม ตามความจำเป็นการทดสอบตลอดคืนสำหรับการตรวจระดับที่ 1 จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าดูในห้องควบคุมเพื่อติดตามการนอนตลอดคืน ในขณะที่การตรวจระดับที่ 2 จะไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้า แต่ผู้รับการตรวจจะนอนหลับอย่างต่อเนื่องตามปกติ คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนการตรวจสวมเสื้อผ้าที่สบายเหมือนชุดที่ใส่นอนตามปกติทุกคืนหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันที่ตรวจหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักในช่วงบ่ายในวันที่ตรวจแจ้งเจ้าหน้าที่หากคุณมีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวหลังจากการตรวจเสร็จสิ้นในช่วงเช้า ผู้รับการตรวจสามารถกลับบ้านได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำตรวจการนอนหลับที่บ้านกับ VitalSleep Clinic สะดวก ปลอดภัย แม่นยำหากคุณมีปัญหานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือนอนแล้วไม่สดชื่น การตรวจการนอนหลับที่บ้าน (Home Sleep Test) คือทางเลือกที่สะดวกและง่ายที่สุด!ไม่ต้องเดินทางอยู่ที่ไหนก็ตรวจได้ แม้คุณจะอยู่ต่างจังหวัดใช้งานง่ายอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัด แค่ติดตั้งก่อนนอนผลแม่นยำวิเคราะห์โดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลังรู้ผลไวพร้อมให้คำแนะนำแนวทางการรักษาที่ Vital Sleep Clinic เรามุ่งเน้นการให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้าน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำใกล้เคียงกับสภาวะการนอนหลับในชีวิตจริง นอกจากนี้เรายังมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลในทุกขั้นตอนอ่านเพิ่มเติม สรุป การตรวจการนอนหลับ Sleep Test หรือการตรวจสุขภาพการนอนหลับมีทั้งหมด 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับมีความซับซ้อนและวิธีการตรวจที่แตกต่างกันออกไป การเลือกวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับคุณ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการและความจำเป็นของผู้ป่วย โดยการตรวจระดับที่ 1 และ 2 เป็นการตรวจที่ละเอียดและได้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุด เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนหลับผิดปกติรุนแรง ในขณะที่การตรวจระดับที่ 3 และ 4 เป็นการตรวจที่จำกัดข้อมูลมากกว่า เหมาะกับผู้ที่มีอาการน้อยหรือไม่ซับซ้อนการเลือกสถานที่ตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึง หากคุณต้องการความสะดวกสบายและต้องการผลลัพธ์ที่แม่นยำ การเลือกทำ Sleep Test ที่บ้านเป็นทางเลือกที่ดี การนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคยช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น สะดวกในการเข้ารับการตรวจที่ Vital Sleep Clinic เราให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับที่บ้านของคนที่อยากตรวจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและใกล้เคียงกับการนอนในชีวิตประจำวัน หากคุณสนใจอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการตรวจการนอนหลับ สามารถติดต่อเราได้ เรายินดีให้บริการและคำแนะนำที่เหมาะสมแก่คุณ สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

แม้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการนอนกัดฟันที่แน่ชัดได้ แต่งานวิจัยพบว่า "ความเครียด" และ "ความวิตกกังวล" เป็นปัจจัยหลักของอาการนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเรื้อรังและการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะการกระตุ้นแกน HPA (Hypothalamic-Pituitary-Adrenal axis) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย และอาจทำให้เกิดพฤติกรรมกัดฟันซ้ำๆ ขณะนอนหลับ ข้อมูลงานวิจัยจาก PubMed Central (PMC) นอนกัดฟัน คืออะไร? นอนกัดฟัน (Bruxism) คือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ โดยผู้ป่วยจะขบฟันหรือบดฟันไปมาโดยไม่รู้ตัว อาจมีเสียงกัดฟันดังจนคนข้าง ๆ สะดุ้งตื่นกลางดึก ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และคุณภาพการนอน คนที่นอนกัดฟันมักมีอาการปวดกราม ปวดข้อต่อขากรรไกรหรือปวดศีรษะตอนตื่นนอน บางรายอาจมีพฤติกรรมนอนกัดฟันมากกว่า 100 ครั้งต่อคืนด้วย เช็กอาการ จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณนอนกัดฟัน? เพราะอาการมักเกิดขณะนอนหลับโดยที่เราไม่รู้ตัว วิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัย คือ “การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)” สามารถตรวจจับการทำงานของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการต่อไปนี้ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ ผลเสียจากการนอนกัดฟัน แม้อาการจะดูไม่รุนแรงมากในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันแบบเฉพาะทางที่ VitalSleep Clinic ที่ VitalSleep Clinic เราใช้แนวทางวินิจฉัยอย่างครอบคลุม พร้อมวิธีรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อหยุดพฤติกรรมกัดฟันขณะหลับอย่างได้ผล 1. ใช้อุปกรณ์ครอบฟันกันกัดฟันเฉพาะบุคคล (Splint) หากพบว่าการนอนกัดฟันไม่ได้เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์เฉพาะทางจะทำ Splint หรือ Night Guard แบบเฉพาะบุคคล ให้พอดีกับฟันและขากรรไกรของผู้ป่วย อ่านเพิ่มเติม 2. Myofunctional Therapy หากการนอนกัดฟันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกลืนผิดปกติหรือลิ้นตกขณะนอน แพทย์เฉพาะทางอาจแนะนำให้บำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจและใบหน้า (Myofunctional Therapy) อ่านเพิ่มเติม สรุป นอนกัดฟันไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ ที่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลต่อทั้งสุขภาพช่องปาก รูปหน้า ความสัมพันธ์ และคุณภาพชีวิต หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟัน ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างตรงจุด ก่อนที่อาการจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)