Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ
แถมตื่นมาปวดหัว
ควรตรวจ Sleep Test ที่ไหนดี?

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ

แถมตื่นมาปวดหัว
ควรตรวจ Sleep Test ที่ไหนดี?
Table of Contents

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ นอนนานแค่ไหนก็ยังไม่สดชื่น? แถมตื่นมาแล้วยังปวดหัวอีก? ปัญหาแบบนี้พบได้บ่อยและอาจมากกว่าการนอนไม่พอ บางครั้งอาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ หรือความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจต้องรับการตรวจ Sleep Test เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน

สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวหลังตื่นนอน

การตื่นมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะไม่ใช่เรื่องเล็ก หลายกรณีอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น

  1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนรุนแรง ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลงระหว่างหลับ
  2. ภาวะขาดน้ำ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและสมอง อาจทำให้คุณปวดหัวในช่วงเช้าได้
  3. สภาพแวดล้อมการนอนไม่เหมาะสม หมอนที่ไม่พอดี แสงหรือเสียงรบกวน ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอน
  4. ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ อาจทำให้คุณปวดหัวในตอนเช้าได้
  5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด มีผลต่อวงจรการนอนหลับ อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหรือปวดหัวในตอนตื่น
  6. ไมเกรน โดยเฉพาะในคนที่เคยปวดหัวไมเกรน อาจมีอาการกำเริบในช่วงเช้า

ทำไมการนอนไม่พอถึงทำให้ปวดหัวได้?

อาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงอย่างเดียว แต่ “การนอนไม่พอ” ก็เป็นตัวการสำคัญที่หลายคนมองข้าม

1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง

สมองจะปรับสมดุลสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ โดพามีน (Dopamine) ที่ช่วยลดความไวของระบบประสาทต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เมื่อนอนน้อย ระดับสารเหล่านี้จะเสียสมดุล

2. เพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด

การอดนอนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง คอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้อาจไปทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง

3. กล้ามเนื้อตึงและการกดทับของเส้นประสาท

ร่างกายอาจตกอยู่ในภาวะ “ตึงเครียด” ตลอดคืนโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และศีรษะที่ไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ ความตึงเครียดนี้อาจส่งผลให้เส้นประสาทในบริเวณศีรษะถูกกดทับจนเกิดอาการปวดศีรษะตอนตื่นนอนได้

4. การไหลเวียนเลือดผิดปกติ

ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะเข้าสู่โหมดฟื้นฟูระบบไหลเวียนโลหิต แต่หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ การไหลเวียนเลือดในสมองจะลดลงหรือไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเวียนหัว มึนศีรษะ หรือปวดหัวหลังตื่นนอนได้

5. เชื่อมโยงกับโรคไมเกรน

มีงานวิจัยที่พบว่า การนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนในผู้ที่มีแนวโน้มอยู่แล้ว อาจรุนแรงและยาวนานมากขึ้น ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ “นอนไม่พอเฉย ๆ” ทั้งที่จริงแล้วกำลังเข้าสู่วงจรของไมเกรนเรื้อรัง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

อยากรู้ว่านอนพอไหม? ตรวจการนอนหลับด้วย Belun Ring ได้ที่ VitalSleep Clinic

หากคุณมักตื่นขึ้นมาพร้อมอาการปวดหัว เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนครบ 7-8 ชั่วโมง อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องเช็กคุณภาพการนอนของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น การตรวจการนอนหลับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจว่า “เรานอนพอจริงไหม?” และ “ร่างกายได้พักผ่อนอย่างมีคุณภาพหรือเปล่า?”

โปรแกรม mHBOT (Mild Hyperbaric Oxygen Therapy)

คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนสู่สมอง ฟื้นฟูระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับลึก และลดอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดจากการนอนไม่เพียงพอ

  • หลับลึก หลับสนิทขึ้น
  • ลดการตื่นกลางดึก
  • ฟื้นฟูระบบสมอง ลดอาการปวดหัวที่เรื้อรังจากการนอนเพิ่มพลังระหว่างวัน ตื่นมาสดชื่น สมองโล่งกว่าเดิม

ผลเสียจากการนอนไม่พอที่คุณอาจคาดไม่ถึง

การนอนไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น:

  • สมาธิลดลง ตัดสินใจช้า
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการหลับใน
  • ภูมิคุ้มกันลดลง ป่วยง่าย
  • อยากอาหารมากขึ้น เสี่ยงอ้วน
  • เพิ่มโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจ

ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะพอ?

  • ผู้ใหญ่ ควรนอนวันละ 7–9 ชั่วโมง
  • วัยรุ่น ควรนอน 8–10 ชั่วโมง
  • เด็กเล็ก–ทารก อาจต้องการนอนมากถึง 18 ชั่วโมงต่อวัน

นอกจากปริมาณแล้ว “คุณภาพของการนอน” ก็สำคัญไม่แพ้กัน หากคุณนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ก็อาจยังรู้สึกง่วงเพลียและปวดหัวในตอนเช้าได้

Related Blogs and Articles
เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรน คืออะไร

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินถึงวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน

7 วิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจ

วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วย ลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก ทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธี สัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกต หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว การรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทาง ที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่ เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้ อ่านเพิ่มเติม: เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรน อ่านเพิ่มเติม: และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine จะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม: เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรง อ่านเพิ่มเติม: อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้ สรุป วิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว

นอนกรนภัยเงียบที่ควรระวัง

นอนกรน ใครจะคิดว่า “เสียงกรน” ที่ดูเหมือนเรื่องธรรมดา อาจกลายเป็นภัยเงียบที่พรากชีวิตคนที่คุณรักไปอย่างไม่รู้ตัว “ใหลตาย” (Sudden Unexpected Nocturnal Death Syndrome หรือ SUNDS) คือหนึ่งในภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในอาการนอนกรน โดยเฉพาะในคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (OSA) เข้าใจ “ใหลตาย” ภัยเงียบที่พรากชีวิตในยามหลับ “ใหลตาย” คือภาวะเสียชีวิตอย่างกะทันหันในขณะนอนหลับ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดภายหลังชันสูตร มักเกิดในคนที่ดูเหมือนสุขภาพแข็งแรงดี ในกลุ่มชายวัยหนุ่มสาวในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์สาเหตุของอาการใหลตายยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ผู้เสียชีวิตจำนวนมากมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ที่มีจุดร่วมสำคัญคือ “การนอนกรน” งานวิจัยที่มีความเชื่อมโยง “ใหลตาย” งานวิจัยในประเทศไทยโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยใหลตายที่รอดชีวิต มีสัดส่วนมากถึง 80% ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับขอบคุณข้อมูลจากในประเทศฟิลิปปินส์ มีรายงานว่าชายหนุ่มวัยทำงานเสียชีวิตจากอาการใหลตาย จำนวนมากมีประวัติ “นอนกรนเสียงดัง” และ “หายใจติดขัดกลางดึก”ขอบคุณข้อมูลจากการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ก็พบว่า OSA เพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างเฉียบพลัน รวมถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงในขณะหลับขอบคุณข้อมูลจาก สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กรนเสียงดังหยุดหายใจเงียบ ๆ ชั่วครู่ แล้วเฮือกสะดุ้งตื่นกลางดึก หายใจไม่ทันตื่นนอนแล้วรู้สึกไม่สดชื่นง่วงตอนกลางวัน สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวนปวดหัวตอนเช้า ความดันสูง เบาหวานหรือโรคหัวใจ ปรึกษาปัญหากับผู้เชี่ยวชาญ ฟรี! https://www.youtube.com/shorts/VQlGzDh6-_Q ทำไมภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ถึงเสี่ยงต่อ “ใหลตาย”? ออกซิเจนต่ำซ้ำซากการหยุดหายใจหลายครั้งต่อคืน ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ส่งผลต่อหัวใจและสมองอย่างรุนแรงหัวใจเต้นผิดจังหวะภาวะ OSA เพิ่มความเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบventricular fibrillation ที่อาจนำไปสู่หัวใจหยุดเต้นในขณะหลับกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติภาวะออกซิเจนต่ำกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติก ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจผันผวนอย่างรุนแรงสมองขาดออกซิเจนการขาดออกซิเจนในสมองซ้ำซาก อาจทำให้เกิดการชักหรือสูญเสียการควบคุมระบบสำคัญในร่างกาย แนวทางการรักษาอาการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเพื่อป้องกัน “ใหลตาย” การรักษาที่เหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงใหลตายได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยแนวทางการรักษาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก1. การรักษาแบบไม่ใช้เครื่องมือปรับพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดแอลกอฮอล์ งดยานอนหลับ นอนตะแคงฝึกการหายใจ และกล้ามเนื้อในช่องปาก (Myofunctional Therapy) ช่วยกระชับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ2. การรักษาด้วยอุปกรณ์CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก ที่ถือเป็นมาตรฐานทองในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับOral Appliance (เครื่องมือทันตกรรม) ช่วยดันขากรรไกรล่างไปด้านหน้า เปิดทางเดินหายใจ เหมาะกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง3. การรักษาแบบผ่าตัดและหัตถการผ่าตัดช่องทางเดินหายใจ เช่น ตัดต่อมทอนซิล ผ่าตัดเพดานอ่อนผ่าตัดขากรรไกร (Maxillomandibular Advancement)รักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency)เลเซอร์ หรือร้อยไหมยกเพดานอ่อน สำหรับกรณีมีอาการนอนกรนที่ไม่ซับซ้อนอย่าปล่อยให้ “กรน” กลายเป็นคำบอกลาสุดท้ายเสียงกรนอาจไม่ใช่แค่เรื่องกวนใจของคนข้างเตียง แต่มันคือ “สัญญาณเตือน” โดยเฉพาะในคนที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น น้ำหนักเกิน มีคอหนา เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงการตรวจ Sleep Test คือกุญแจสำคัญ ในการวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และวางแผนรักษาได้อย่างแม่นยำบทความที่เกี่ยวข้อง สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

แม้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการนอนกัดฟันที่แน่ชัดได้ แต่งานวิจัยพบว่า "ความเครียด" และ "ความวิตกกังวล" เป็นปัจจัยหลักของอาการนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเรื้อรังและการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะการกระตุ้นแกน HPA (Hypothalamic-Pituitary-Adrenal axis) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย และอาจทำให้เกิดพฤติกรรมกัดฟันซ้ำๆ ขณะนอนหลับ ข้อมูลงานวิจัยจาก PubMed Central (PMC) นอนกัดฟัน คืออะไร? นอนกัดฟัน (Bruxism) คือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ โดยผู้ป่วยจะขบฟันหรือบดฟันไปมาโดยไม่รู้ตัว อาจมีเสียงกัดฟันดังจนคนข้าง ๆ สะดุ้งตื่นกลางดึก ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และคุณภาพการนอน คนที่นอนกัดฟันมักมีอาการปวดกราม ปวดข้อต่อขากรรไกรหรือปวดศีรษะตอนตื่นนอน บางรายอาจมีพฤติกรรมนอนกัดฟันมากกว่า 100 ครั้งต่อคืนด้วย เช็กอาการ จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณนอนกัดฟัน? เพราะอาการมักเกิดขณะนอนหลับโดยที่เราไม่รู้ตัว วิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัย คือ “การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)” สามารถตรวจจับการทำงานของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการต่อไปนี้ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ ผลเสียจากการนอนกัดฟัน แม้อาการจะดูไม่รุนแรงมากในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันแบบเฉพาะทางที่ VitalSleep Clinic ที่ VitalSleep Clinic เราใช้แนวทางวินิจฉัยอย่างครอบคลุม พร้อมวิธีรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อหยุดพฤติกรรมกัดฟันขณะหลับอย่างได้ผล 1. ใช้อุปกรณ์ครอบฟันกันกัดฟันเฉพาะบุคคล (Splint) หากพบว่าการนอนกัดฟันไม่ได้เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์เฉพาะทางจะทำ Splint หรือ Night Guard แบบเฉพาะบุคคล ให้พอดีกับฟันและขากรรไกรของผู้ป่วย อ่านเพิ่มเติม 2. Myofunctional Therapy หากการนอนกัดฟันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกลืนผิดปกติหรือลิ้นตกขณะนอน แพทย์เฉพาะทางอาจแนะนำให้บำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจและใบหน้า (Myofunctional Therapy) อ่านเพิ่มเติม สรุป นอนกัดฟันไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ ที่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลต่อทั้งสุขภาพช่องปาก รูปหน้า ความสัมพันธ์ และคุณภาพชีวิต หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟัน ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างตรงจุด ก่อนที่อาการจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น

ผู้หญิงนอนกรน สาเหตุและวิธีแก้นอนกรนในผู้หญิง

การนอนกรนไม่ใช่เรื่องน่าอายขนาดนั้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่คิดที่จะแก้ไข อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้หญิงหลายคนอาจจะรู้สึกเขินอาย หรือไม่กล้าบอกว่าตัวเองมีอาการนอนกรน และไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรให้ได้ผล แต่การนอนกรนในผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และหากไม่ให้ความสำคัญกับการหาทางแก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตขณะนอนหลับได้ก่อนที่จะหาคำตอบว่า ทำไม? ผู้หญิงถึงนอนกรน เราควรทำความเข้าใจว่าอาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายระหว่างการนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่ออากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบนี้ จะทำให้เนื้อเยื่อในลำคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่สั่น จะทำให้เกิดเสียงกรน และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน เช่น ต่อมทอนซิลโต น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือลิ้นที่โตขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) คืออะไร? การนอนกรนไม่ใช่แค่การสร้างเสียงรบกวนระหว่างการนอนหลับ แต่ยังสามารถนำไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เมื่อเนื้อเยื่อในลำคอหรือที่ลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนในขณะที่นอนหลับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะไหลตายได้https://www.youtube.com/shorts/1RcpD_hJKcw สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน แม้ว่าปกติผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรนมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพ น้ำหนักเกิน หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดจากอายุหรือการตั้งครรภ์ เช่นอายุ เมื่อผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ปัญหาการนอนกรนจะเริ่มเพิ่มขึ้นวัยหมดประจำเดือน หลังจากหมดประจำเดือน ในผู้หญิงบางรายอาจมีแนวโน้มทำให้นอนกรนมากขึ้นน้ำหนักเกิน อาจทำให้มีไขมันสะสมที่หบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงได้การตั้งครรภ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ถึงแม้จะพบได้น้อยในผู้หญิง แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ควรให้ความสนใจอ่านเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! สาเหตุอื่น ๆ ของการนอนกรน ในกรณีทั่วไป การนอนกรนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นคนอ้วน การสะสมของไขมันในบริเวณคอผู้สูงอายุ การเสื่อมของกล้ามเนื้อที่ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงโรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการนอนกรน วิธีแก้ไขการนอนกรนผู้หญิง การรักษาอาการนอนกรนเริ่มต้นด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อตรวจหาว่าคุณมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หลังจากนั้นสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัดบทความที่เกี่ยวข้องการเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการนอนกรน หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการนอนกรนที่เป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป การนอนกรนในผู้หญิงไม่ใช่แค่เรื่องรบกวนคนข้าง ๆ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ที่พบได้บ่อยกว่าที่คิด และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้าหลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกรนในผู้หญิงมักไม่มีอาการชัดเจนเหมือนผู้ชาย เช่น อาจไม่มีเสียงกรนดัง แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงกลางวัน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่ปัญหาทางเพศ ทำให้ถูกมองข้ามและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ โรคร้ายที่อาจพรากชีวิตโดยไม่รู้ตัว

นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับการนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยอันตรายโดยไม่รู้ตัว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการ นอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) มันไม่ใช่แค่เรื่องของเสียงรบกวนระหว่างหลับเท่านั้น แต่เป็นโรคร้ายที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตอย่างเงียบ ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวhttps://www.youtube.com/watch?v=O6cvnSTn7lA ภาวะนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร? นอนกรนเกิดจากการสั่นของเนื้อเยื่อในลำคอ อากาศที่ผ่านช่องทางเดินหายใจที่ตีบแคบในระหว่างหลับ อาจเกิดจากเพดานอ่อน โคนลิ้น หรือกล้ามเนื้อคอที่หย่อนคล้อยมาขวางลม การหายใจอาจหยุดลงชั่วขณะ และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดคืน เรียกว่า "ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น" ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง สมองและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นโดยไม่รู้ตัวบทความที่เกี่ยวข้อง นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ ทำไมถึงอันตราย? การหยุดหายใจซ้ำ ๆ ตลอดทั้งคืน ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นระยะ ส่งผลเสียร้ายแรงหลายด้าน เช่น- ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ ตื่นกลางดึก และรู้สึกไม่สดชื่นแม้จะนอนนาน- เพิ่มความเสี่ยงของ โรคร้ายแทรกซ้อน เช่นหัวใจล้มเหลว (เสี่ยงมากขึ้นถึง 140%)หลอดเลือดสมองตีบ (เสี่ยงเพิ่ม 30%)โรคหลอดเลือดหัวใจ (เพิ่มความเสี่ยง 60%)เบาหวานชนิดที่ 2 (เพิ่มความเสี่ยง 6 เท่า)ภาวะซึมเศร้า (พบในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ2%)สมองเสื่อม (ความจำเสื่อมเร็วจากขาดออกซิเจนในสมอง)ขอบคุณข้อมูลจาก https://shorturl.asia/24zEk, https://shorturl.asia/7vtOc, https://shorturl.asia/6ICHZ, https://shorturl.asia/JGftQ, https://shorturl.asia/6T2yV, https://shorturl.asia/JGftQ ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ? ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดได้กับทุกคน แต่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้บางคนมีแนวโน้มมากกว่าคนอื่น เช่นน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนไขมันรอบคออาจกดทับทางเดินหายใจ ขัดขวางการหายใจขณะหลับ (น้ำหนักขึ้นเพียง 10% เพิ่มความเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับถึง 32%)อายุที่มากขึ้นอายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อในลำคอและใบหน้าหย่อนตัว เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจเพศชายมีแนวโน้มหยุดหายใจขณะหลับ มากกว่าเพศหญิงถึง 5-6 เท่า เนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพและฮอร์โมนที่แตกต่างกันโครงสร้างใบหน้าผิดปกติคนที่มีคางเล็ก คางถอย หรือคางสั้น มีพื้นที่ช่องคอน้อยลง เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจได้มากขึ้นโรคประจำตัวคนที่เป็นเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ หรือสมองเสื่อม มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปมาก โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเผชิญภาวะหยุดหายใจขณะหลับ? อาการที่พบบ่อยและควรสังเกต ได้แก่นอนกรนเสียงดังเป็นประจำหายใจติดขัดหรือหยุดหายใจขณะหลับ (สังเกตได้จากคนข้าง ๆ)ตื่นกลางดึกบ่อย มีอาการหายใจแรงหรือสะดุ้งง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวันปวดหัวตอนเช้า ไม่สดชื่นแม้นอนนานหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือมีปัญหาความจำ รับคำปรึกษา ฟรี! อย่ารอให้อันตรายมาเยือนโดยไม่รู้ตัว การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่ควรถูกมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกถึงโรคร้ายแรงในอนาคต โดยเฉพาะในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาการเข้ารับ การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีที่แม่นยำและปลอดภัยในการวินิจฉัยโรคนี้ และถ้าพบว่ามีปัญหา ก็สามารถเริ่มรักษาได้อย่างตรงจุดตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง CPAP, Oral Appliance, การฝึกหายใจหรือปรับพฤติกรรมการนอน และการบำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป "นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ" ไม่ใช่แค่ปัญหาเสียงน่ารำคาญตอนกลางคืน แต่คือภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพโดยรวมของคุณ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง หรือคุณภาพชีวิต การใส่ใจและรับการวินิจฉัยตั้งแต่ต้น คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยรักษาชีวิตและอนาคตของคุณไว้

หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เราขอแนะนำตรวจ Sleep Test

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)