Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย สาเหตุ อันตราย
วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ

คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย สาเหตุ อันตราย

วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ
Table of Contents

สาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนประสบ โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะดังกล่าว วันนี้เราจะพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรน รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ มาฟังกันเลยค่ะ

คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบ

  • แบบที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย: เกิดมาจากการที่เพดานอ่อนและลิ้นไก่ของเรามันพลิ้วไปกับเวลาที่เราหายใจ จึงทำให้เกิดเสียงขึ้น แต่ก็ไม่ได้ดังมาก แค่ทำให้คนข้างๆเกิดความรำคาญ
  • แบบที่ก่อให้เกิดอันตราย: เกิดจากการที่ทางเดินหายใจตีบแคบ ทำให้คนไข้นอนไม่ได้ หายใจเข้าไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะ “นอนกรน หยุดหายใจ” หรือ “โรคหยุดหายใจขณะหลับ” วิธีการสังเกตคือ การกรนอันตรายจะมีเสียงกรนที่ดังมาก ดังครืด ๆ แล้วพักนึงก็จะหายไป หายไปแล้วก็ดัง “เฮือก” แล้วคนไข้จะกลับมาหายใจ อันนี้คือสัญญาณที่บอกว่ามันอันตราย

สาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  1. ทางเดินหายใจถูกปิดกั้น: เกิดจากสิ่งที่งอกขึ้นมาปิดทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไหลผ่านได้ยาก
  2. โรคอ้วน: ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากมักจะมีไขมันสะสมในบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง โดยเฉพาะในคนที่มีลำคอสั้น เมื่อทางเดินหายใจแคบ อากาศก็จะไหลผ่านได้ยาก ทำให้เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับ
  3. การหายใจทางปาก: ผู้ที่หายใจทางปากมักมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจน้อยลง การฝึกหายใจทางจมูกจึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจได้

คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวัน

คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ (เสียงหัวเราะ) ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ Recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ Recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime Sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลย

คุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะ

ก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะ

อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การหยุดหายใจขณะหลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เพราะในระหว่างที่หายใจไม่ได้ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และผลที่ตามมาก็คือ

  • ความดันโลหิตสูง เมื่อหัวใจทำงานหนัก ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อาการง่วงนอนตอนกลางวัน (Daytime Sleepiness) เนื่องจากร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกเพลีย ง่วงเหงาหาวนอนตลอดทั้งวัน ส่งผลต่อการทำงานและคุณภาพชีวิตโดยรวม

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ พลังงานชีวิตจะลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆ

วิธีการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะ โดยที่ Vital Sleep Clinic มีการรักษาแบบครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด พร้อมด้วยการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการกรน เช่น Myosa®

นอกจากนี้ ทีมแพทย์ที่ Vital Sleep Clinic เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและการรักษาภาวะนอนกรน จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

สรุป

การนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับมีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากคุณพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่เหมาะสม

Related Blogs and Articles
เสี่ยงตาย! รู้ไหม นอนกรนเกิดจาก ร่างกายหายใจไม่ออก

การนอนกรนเป็นอาการที่หลายคนอาจมองข้าม ที่จริงแล้วมันเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาทางสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

นอนกรนเกิดจากอะไร เช็คด่วน ใครเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับบ้าง

นอนกรนเกิดจากอะไร? เกิดจากการหายใจผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบลงขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในช่องปาก ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงกรนในขณะที่นอนหลับอยู่ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจแคบลง ได้แก่ระดับความรุนแรงของการนอนกรนอาการนอนกรนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้ขอบคุณข้อมูลจาก:ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบมากในกลุ่มต่อไปนี้อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับการตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic กุญแจสู่การนอนหลับที่ดีขึ้นข้อดีของการตรวจการนอนหลับกับ VitalSleep Clinicอ่านเพิ่มเติม:วิธีการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ จาก VitalSleep Clinic ได้แก่สรุปภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ที่ VitalSleep Clinic เรามีแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ลดอาการนอนกรน เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน

World Sleep Day 2025

World Sleep Day หรือ วันนอนหลับโลก เกิดขึ้นภายใต้สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine: WASM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ และตระหนักรู้ถึงความอันตรายของปัญหาการนอนหลับ เป็นการสื่อสารไปสู่ผู้คนในวงกว้างด้วยความพยายามที่จะป้องกันและบรรเทาปัญหาการนอนของคนทั้งโลก และรณรงค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการหลับที่มีคุณภาพ ถูกจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 หลังจากนั้นมีการจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม วันนอนหลับโลก แล้วมากกว่า 67 ประเทศทั่วโลก เปิดสถิติ คนไทยประสบปัญหาการนอนหนัก การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของการฟื้นฟูร่างกาย แท้จริงแล้ว การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่เป็นการพักผ่อนอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์ใช้เวลามากถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน เพื่อเติมพลังให้ชีวิตสามารถใช้ชีวิตอีก 2 ใน 3 ที่เหลือ การนอนหลับที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิตมนุษย์ เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอนหลับที่มีคุณภาพ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยมากมึง 19 ล้านคน กำลังประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การนอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นกลางดึกบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ นอนกรน หรือรุนแรงถึงหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาเหล่านี้ได้ในคนอายุน้อยลงมากขึ้น การนอนหลับที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร การนอนหลับที่มีคุณภาพ หรือ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับเพียงอย่างเดียว ความลึกของการนอนหลับกับเวลาเข้านอนที่เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมาก หากหลับลึกไม่พอ หรือความผิดปกติระหว่างการนอนบางอย่าง อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอนในช่วงเช้า (Unrested Sleep) อาจส่งผลกระทบกับระบบความจำ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทบการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป ระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สามารถอ้างอิงเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ล่วงวัยได้ ดังนี้ เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) = 14-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กทารก (อายุ 4-11 เดือน) = 12-15 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็ก (อายุ 1-2 ปี) = 11-14 ชั่วโมงต่อวัน วัยอนุบาล (3-5 ปี) = 10-13 ชั่วโมงต่อวัน วัยประถม (6-13 ปี) = 9-11 ชั่วโมงต่อวัน วัยมัธยม (14-17 ปี) = 8-10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่น (18-25 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยทำงาน (26-64 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) = 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เช็คลิสต์ อาการนอนหลับผิดปกติ ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางดึก (Nocturnal Urination)อาจเป็นการตอบสนองของร่างกาย เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นหลังเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Bradycardia-tachycardia) เลือดไปเลี้ยงที่ไตเพิ่มขึ้น มีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นขณะนอนหลับ ในขณะเดียวกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้นอนหลับไม่ค่อยลึก จึงทำให้สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)เป็นความผิดปกติที่ต้องรีบหาสาเหตุและรักษา อาจะส่งผลอันตรายในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือเกิดอุบัติเหตุได้ในขณะปฏิบัติงาน และอาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ ไหลตาย Insomnia หรือ Narcolepsy และอื่นๆขาขยุกขยิก (Restless Legs)เป็นอาการที่ทำให้ต้องขยับขาไปมา เพราะรู้สึกมีความผิดปกติที่บริเวณขา จึงต้องขยับบ่อย ๆ เพื่อทำให้ความรู้สึกผิดปกติที่ขาลดลง อาการนี้มักพบได้ในช่วงเวลาค่ำ อาจพบในรายที่มีอาการโลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่น ๆปวดศีรษะหลังเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)อาจเป็นผลมาจากที่ขณะนอนหลับไม่สามารถขับถ่าย Carbon Dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม มีผลทำให้เส้นเลือดแดงในสมองขยายตัวจาก Respiratory Acidosis จึงทำให้รู้สึกปวดศีรษะ และอาการนี้จะรุ้สึกได้มากในช่วงเวลาเช้าหลังเพิ่งตื่นนอนนอนกรน (Snoring)มีเสียงหายใจดังมาก หรือ เสียงกรนดังขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพของตนเอง และอาจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ด้วย เป็นอาการอันตราย ต้องรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว เช่น Cardiovascular Problems Metabolic Syndrome ความจำเสื่อม ความดันสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่น ๆหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)เป็นอาการผิดปกติของการนอนกลับที่อันตรายรุนแรง อาจส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคหยุดหายใจขณะหลับอาจสังเกตได้อย่างหากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (Waking up Choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (Waking up Gasping) Cognitive Dysfunctionsนอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การนอนหลับ ตรวจคุณภาพได้ Sleep Test (Polysomnography) หรือ การตรวจคุณภาพการนอนหลับ คือ การตรวจวัดคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจระหว่างการนอนหลับ นอกจากนั้นยังตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาและการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน เพื่อตรวจดูคุณภาพการนอนหลับ ค้นหาความผิดปกติของการนอน หรือ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการนอนบางอย่าง อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรค สมองเสื่อม...

คุณหมอเคลียร์ข้อสงสัย “สาเหตุ อันตราย วิธีรักษาการนอนกรนและ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”

สาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับ โดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่หลายคนประสบ โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะดังกล่าว วันนี้เราจะพูดคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับสาเหตุ อันตราย และวิธีการรักษาการนอนกรน รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับ มาฟังกันเลยค่ะซีมง: ทำไมบางคนถึงมีอาการกรนแต่บางคนกลับไม่มีอาการกรนคะ?​คุณหมอ: การกรนมี 2 แบบสาเหตุของการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับซีมง: ค่ะคุณหมอ…สรุปแล้ว โรคหยุดหายใจขณะหลับอันตรายยังไงบ้างคะ?คุณหมอ: อันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับนะคะ ก็ลองนึกสภาพนะคะว่า แค่ซีมงทำงานหนักๆ หรือว่างานเยอะ นอนตี 3 ตี 4 แล้วต้องตื่นมาทำงานแต่เช้า ก็จะรู้สึกไม่เฟรชเนอะ เพลียๆ ตื้อๆ ทั้งวัน ง่วงทั้งวันซีมง: เอ๊ะ หรือว่าจะเป็นอยู่ (เสียงหัวเราะ)คุณหมอ: อ้าวจริงเหรอ (เสียงหัวเราะ) ก็คือการนอนหลับนะคะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิต มันเหมือนการ Recharge ถ้าเรานอนไม่ได้ เหมือนเราไม่ได้ Recharge พลังงานชีวิตเราจะลดลง ทีนี้พอคนไข้หายใจเข้าไม่ได้ เหมือนเราไม่มีออกซิเจน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ หัวใจจะทำงานหนัก สัญญาณแรกๆที่โผล่มาก็คือ ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้ อีกเรื่องนึงคือ เราจะตื่นมาไม่สดชื่น ก็จะเกิดอาการ “Daytime Sleepiness” ก็คือง่วงหงาวหาวนอนตลอดทั้งวันเลยซีมง: เอาละค่ะ… วันนี้เราก็ได้รู้สาเหตุและอันตรายของการกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับไปแล้วนะคะ คุณหมอมีอะไรจะทิ้งท้ายกับคนที่ดูอยู่ไหมคะคุณหมอ: ก่อนจบวันนี้นะคะ ขอฝากไว้ว่า ใครมีคนใกล้ชิดที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แล้วก็มีอาการหยุดหายใจไปแล้ว “เฮือกกก” กลับมาแบบนี้ ให้สันนิษฐานว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็พามาเลย ที่ Vital Sleep Clinic นะคะซีมง: ค่ะ วันนี้เราก็ได้ความรู้ไปมากมาย ใครที่สนใจอยากรู้วิธีรักษาการนอนกรนเป็นอย่างไรบ้าง ติดตามชมได้ใน EP ต่อไปเลยค่ะก็ทราบกันไปแล้วนะคะว่า สาเหตุของการนอนกรนมาจากไหน อาการหยุดหายใจขณะหลับมีลักษณะยังไง ถ้าอยากรู้ว่าคุณหมอจะมีวิธีแก้นอนกรนยังไง สามารถติดตามต่อได้ใน EP ต่อไปนะคะอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับการหยุดหายใจขณะหลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม เพราะในระหว่างที่หายใจไม่ได้ ร่างกายจะขาดออกซิเจน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และผลที่ตามมาก็คือการนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟูร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนเพียงพอ พลังงานชีวิตจะลดลง ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงเรื่อย ๆวิธีการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับการรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความรุนแรงของภาวะ โดยที่ Vital Sleep Clinic มีการรักษาแบบครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและไม่ผ่าตัด พร้อมด้วยการบำบัดฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ เช่น Myofunction Therapy และจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยลดการกรน เช่น Myosa®นอกจากนี้ ทีมแพทย์ที่ Vital Sleep Clinic เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองจากสถาบันนานาชาติ มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกล้ามเนื้อใบหน้าและการรักษาภาวะนอนกรน จึงมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดสรุปการนอนกรนและโรคหยุดหายใจขณะหลับมีทั้งแบบที่ไม่อันตรายและแบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการตีบแคบของทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ หากคุณพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่เหมาะสม

นอนกรนเรื้อรัง_นอนกรนเรื้อรัง รักษายังไงก็ไม่หาย ต้องลองวิธีนี้!

นอนกรนรักษามาตั้งหลายวิธีก็ไม่เห็นผล สุดท้ายก็ยังนอนกรนเสียงดังอยู่ดี ต้องรักษาด้วยวิธีไหนจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น มาหาคำตอบวิธีการรักษา

การหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะผิดปกติที่สามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัญหานอนกรน

เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรน คืออะไร

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินถึงวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน

สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย อย่านิ่งนอนใจ

การนอนสะดุ้งตื่นกลางดึกแม้จะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนหลับ

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ แถมตื่นมาปวดหัว ควรตรวจ Sleep Test ที่ไหนดี

นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ นอนนานแค่ไหนก็ยังไม่สดชื่น? แถมตื่นมาแล้วยังปวดหัวอีก? ปัญหาแบบนี้พบได้บ่อยและอาจมากกว่าการนอนไม่พอ บางครั้งอาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจเกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับ หรือความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจต้องรับการตรวจ Sleep Test เพื่อหาสาเหตุให้ชัดเจน สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวหลังตื่นนอน การตื่นมาพร้อมกับอาการปวดศีรษะไม่ใช่เรื่องเล็ก หลายกรณีอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือการนอนกรนรุนแรง ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในร่างกายลดลงระหว่างหลับภาวะขาดน้ำ จะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและสมอง อาจทำให้คุณปวดหัวในช่วงเช้าได้สภาพแวดล้อมการนอนไม่เหมาะสม หมอนที่ไม่พอดี แสงหรือเสียงรบกวน ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด หรือยานอนหลับ อาจทำให้คุณปวดหัวในตอนเช้าได้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด มีผลต่อวงจรการนอนหลับ อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหรือปวดหัวในตอนตื่นไมเกรน โดยเฉพาะในคนที่เคยปวดหัวไมเกรน อาจมีอาการกำเริบในช่วงเช้า ทำไมการนอนไม่พอถึงทำให้ปวดหัวได้? อาการปวดหัวหลังตื่นนอนอาจไม่ได้เกิดจากความเครียดเพียงอย่างเดียว แต่ "การนอนไม่พอ" ก็เป็นตัวการสำคัญที่หลายคนมองข้ามบทความที่เกี่ยวข้อง : สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย ๆ อันตราย อย่าปล่อยไว้ ก่อนเป็นเรื่องใหญ่ 1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สมองจะปรับสมดุลสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความรู้สึกเจ็บปวด เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ โดพามีน (Dopamine) ที่ช่วยลดความไวของระบบประสาทต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก เมื่อนอนน้อย ระดับสารเหล่านี้จะเสียสมดุล 2. เพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด การอดนอนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง คอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่เรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้อาจไปทำให้หลอดเลือดในสมองหดตัว และส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในสมอง 3. กล้ามเนื้อตึงและการกดทับของเส้นประสาท ร่างกายอาจตกอยู่ในภาวะ "ตึงเครียด" ตลอดคืนโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และศีรษะที่ไม่สามารถผ่อนคลายได้เต็มที่ ความตึงเครียดนี้อาจส่งผลให้เส้นประสาทในบริเวณศีรษะถูกกดทับจนเกิดอาการปวดศีรษะตอนตื่นนอนได้ 4. การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะเข้าสู่โหมดฟื้นฟูระบบไหลเวียนโลหิต แต่หากคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ การไหลเวียนเลือดในสมองจะลดลงหรือไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเวียนหัว มึนศีรษะ หรือปวดหัวหลังตื่นนอนได้ 5. เชื่อมโยงกับโรคไมเกรน มีงานวิจัยที่พบว่า การนอนหลับไม่เพียงพออาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคไมเกรนในผู้ที่มีแนวโน้มอยู่แล้ว อาจรุนแรงและยาวนานมากขึ้น ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ “นอนไม่พอเฉย ๆ” ทั้งที่จริงแล้วกำลังเข้าสู่วงจรของไมเกรนเรื้อรังอ่านข้อมูลเพิ่มเติม อยากรู้ว่านอนพอไหม? ตรวจการนอนหลับด้วย Belun Ring ได้ที่ VitalSleep Clinic https://www.youtube.com/shorts/yF3sZhOaXGg หากคุณมักตื่นขึ้นมาพร้อมอาการปวดหัว เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนครบ 7-8 ชั่วโมง อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องเช็กคุณภาพการนอนของตัวเองให้ชัดเจนขึ้น การตรวจการนอนหลับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจว่า “เรานอนพอจริงไหม?” และ “ร่างกายได้พักผ่อนอย่างมีคุณภาพหรือเปล่า?” สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย https://www.youtube.com/shorts/VHwrvaJPK08 โปรแกรม mHBOT (Mild Hyperbaric Oxygen Therapy) คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนสู่สมอง ฟื้นฟูระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับลึก และลดอาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดจากการนอนไม่เพียงพอหลับลึก หลับสนิทขึ้นลดการตื่นกลางดึกฟื้นฟูระบบสมอง ลดอาการปวดหัวที่เรื้อรังจากการนอนเพิ่มพลังระหว่างวัน ตื่นมาสดชื่น สมองโล่งกว่าเดิม ปรึกษาวิธีการรักษากับเเพทย์เฉพาะทาง! ผลเสียจากการนอนไม่พอที่คุณอาจคาดไม่ถึง การนอนไม่เพียงพอเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพกายและใจ เช่น:สมาธิลดลง ตัดสินใจช้าอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในภูมิคุ้มกันลดลง ป่วยง่ายอยากอาหารมากขึ้น เสี่ยงอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันสูง และโรคหัวใจ ควรนอนกี่ชั่วโมงถึงจะพอ? ผู้ใหญ่ ควรนอนวันละ 7–9 ชั่วโมงวัยรุ่น ควรนอน 8–10 ชั่วโมงเด็กเล็ก–ทารก อาจต้องการนอนมากถึง 18 ชั่วโมงต่อวันนอกจากปริมาณแล้ว “คุณภาพของการนอน” ก็สำคัญไม่แพ้กัน หากคุณนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ก็อาจยังรู้สึกง่วงเพลียและปวดหัวในตอนเช้าได้

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)