Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
นอนกรนเกิดจากอะไร?
ใครเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ?

นอนกรนเกิดจากอะไร?

ใครเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ?
Table of Contents

นอนกรนเกิดจากอะไร? เกิดจากการหายใจผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบลงขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในช่องปาก ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงกรนในขณะที่นอนหลับอยู่

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจแคบลง ได้แก่

  • โครงสร้างทางกายภาพ
  • ภาวะอ้วนหรือมีไขมันสะสมบริเวณลำคอ
  • กล้ามเนื้อในลำคอหย่อนตัว
  • โครงสร้างกระดูกใบหน้า
  • ภาวะคัดจมูกเรื้อรังหรือผิดปกติทางโพรงจมูก

ระดับความรุนแรงของการนอนกรน

อาการนอนกรนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้

  1. ระดับ 1 (เล็กน้อย)
    • นอนกรนเป็นครั้งคราว เกิดจากร่างกายของคุณเหนื่อยล้าหรืออยู่ในภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนตัว เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน
    • เสียงกรนไม่ดังมาก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการนอนของตัวเองหรือคนรอบข้าง
    • ยังไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
  1. ระดับ 2 (ปานกลาง)
    • นอนกรนเป็นประจำ มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เสียงกรนเริ่มดังขึ้น อาจมีสะดุ้งตื่นเป็นบางช่วง
    • ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอน จะรู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน ปวดศีรษะตอนตื่นนอน
    • อาจเริ่มส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง และระบบหัวใจและหลอดเลือด
  1. ระดับ 3 (รุนแรง)
    • นอนกรนเสียงดังทุกคืนและมีช่วงหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึก หายใจหอบ และสำลักน้ำลาย
    • มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)
    • มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง (Stroke) และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า

ขอบคุณข้อมูลจาก:

ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบมากในกลุ่มต่อไปนี้

  • ผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปี และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • คนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • คนที่มีโครงสร้างทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น คางเล็ก ลิ้นโต ทอนซิลโต หรือจมูกคด
  • คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีภาวะคัดจมูกเรื้อรัง
  • คนป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ หรือไทรอยด์ทำงานต่ำ
  • คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือใช้ยานอนหลับเป็นประจำ

อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  1. ทำให้หลับไม่สนิท ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
    • คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) จะมีอาการสะดุ้งตื่นเป็นช่วง ๆ ตลอดทั้งคืน ทำให้หลับไม่สนิทและร่างกายไม่ได้รับพักผ่อนอย่างเต็มที่
    • รู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน อ่อนเพลียเรื้อรัง
  1. เสี่ยงต่อโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
    • เมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) สมองและอวัยวะต่าง ๆ จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น
    • เพิ่มความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะหัวใจล้มเหลว
    • ในงานวิจัยพบว่า คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) มีโอกาสเป็นโรคหัวใจ 2-3 เท่ามากกว่าคนปกติ
  1. กระทบต่อสมาธิ ความจำ และอารมณ์
    • การที่สมองขาดออกซิเจนบ่อย ๆ จะทำให้สมาธิสั้น ความจำลดลง และประสิทธิภาพการคิดวิเคราะห์แย่ลง
    • มีผลต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรือมีอารมณ์แปรปรวน
  1. อาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจากการขาดออกซิเจน
    • เมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ระดับออกซิเจนในเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้นเพื่อชดเชย
    • ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
    • คนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) มักมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนอื่น ๆ ทั่วไป

การตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic กุญแจสู่การนอนหลับที่ดีขึ้น

ข้อดีของการตรวจการนอนหลับกับ VitalSleep Clinic

  1. ตรวจได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทาง
  2. มีทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญดูแล
  3. รองรับทุกจังหวัดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม:

วิธีการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ จาก VitalSleep Clinic ได้แก่

  • Myofunctional Therapy การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและทางเดินหายใจ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและลดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
  • อุปกรณ์ทันตกรรมขยายทางเดินหายใจ (Oral Appliance) สำหรับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จกับการใช้เครื่อง CPAP ได้
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ซึ่งเป็นมาตรฐานการรักษาหลัก
  • การลดน้ำหนัก สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของ OSA
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (Maxillomandibular Advancement Surgery หรือ MMA)

สรุป

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ที่ VitalSleep Clinic เรามีแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ลดอาการนอนกรน เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน

Related Blogs and Articles
ทำไมการตรวจการนอนหลับ ถึงสำคัญต่อสุขภาพของเรา

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมในบางคืนเราถึงนอนหลับไม่สนิท ตื่นเช้าขึ้นมาก็ยังรู้สึกเหนื่อย หรือบางคนอาจตื่นมากลางดึกบ่อย ๆ จนทำให้รู้สึกนอนไม่พอ

ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ราคาประหยัด ตรวจได้แม้งบน้อย

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีการที่สำคัญในการวิเคราะห์ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับ เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลาย ๆ ด้าน

นอนกรนเกิดจากอะไร เช็คด่วน ใครเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับบ้าง

นอนกรนเกิดจากอะไร? เกิดจากการหายใจผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบลงขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นของกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในช่องปาก ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และทอนซิล สั่นสะเทือนจนเกิดเป็นเสียงกรนในขณะที่นอนหลับอยู่ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจแคบลง ได้แก่ระดับความรุนแรงของการนอนกรนอาการนอนกรนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของอาการและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนี้ขอบคุณข้อมูลจาก:ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ?ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบมากในกลุ่มต่อไปนี้อันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับการตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic กุญแจสู่การนอนหลับที่ดีขึ้นข้อดีของการตรวจการนอนหลับกับ VitalSleep Clinicอ่านเพิ่มเติม:วิธีการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ จาก VitalSleep Clinic ได้แก่สรุปภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นภาวะที่อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ที่ VitalSleep Clinic เรามีแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ลดอาการนอนกรน เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน

นอนกัดฟันรักษาได้ รวมวิธีแก้ “นอนกัดฟัน ปวดฟัน” อาการกัดฟันไม่รู้ตัว

ในบางครั้งคนที่นอนกัดฟันเองก็อาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน ปวดกราม หรือมีคนรอบข้างสังเกตเห็นเสียงกัดฟันในเวลานอนตอนกลางคืน นอนกัดฟันรักษาได้!

World Sleep Day 2025

World Sleep Day หรือ วันนอนหลับโลก เกิดขึ้นภายใต้สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine: WASM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ และตระหนักรู้ถึงความอันตรายของปัญหาการนอนหลับ เป็นการสื่อสารไปสู่ผู้คนในวงกว้างด้วยความพยายามที่จะป้องกันและบรรเทาปัญหาการนอนของคนทั้งโลก และรณรงค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการหลับที่มีคุณภาพ ถูกจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 หลังจากนั้นมีการจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม วันนอนหลับโลก แล้วมากกว่า 67 ประเทศทั่วโลก เปิดสถิติ คนไทยประสบปัญหาการนอนหนัก การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของการฟื้นฟูร่างกาย แท้จริงแล้ว การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่เป็นการพักผ่อนอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์ใช้เวลามากถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน เพื่อเติมพลังให้ชีวิตสามารถใช้ชีวิตอีก 2 ใน 3 ที่เหลือ การนอนหลับที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิตมนุษย์ เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอนหลับที่มีคุณภาพ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยมากมึง 19 ล้านคน กำลังประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การนอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นกลางดึกบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ นอนกรน หรือรุนแรงถึงหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาเหล่านี้ได้ในคนอายุน้อยลงมากขึ้น การนอนหลับที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร การนอนหลับที่มีคุณภาพ หรือ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับเพียงอย่างเดียว ความลึกของการนอนหลับกับเวลาเข้านอนที่เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมาก หากหลับลึกไม่พอ หรือความผิดปกติระหว่างการนอนบางอย่าง อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอนในช่วงเช้า (Unrested Sleep) อาจส่งผลกระทบกับระบบความจำ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทบการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป ระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สามารถอ้างอิงเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ล่วงวัยได้ ดังนี้ เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) = 14-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กทารก (อายุ 4-11 เดือน) = 12-15 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็ก (อายุ 1-2 ปี) = 11-14 ชั่วโมงต่อวัน วัยอนุบาล (3-5 ปี) = 10-13 ชั่วโมงต่อวัน วัยประถม (6-13 ปี) = 9-11 ชั่วโมงต่อวัน วัยมัธยม (14-17 ปี) = 8-10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่น (18-25 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยทำงาน (26-64 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) = 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เช็คลิสต์ อาการนอนหลับผิดปกติ ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางดึก (Nocturnal Urination)อาจเป็นการตอบสนองของร่างกาย เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นหลังเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Bradycardia-tachycardia) เลือดไปเลี้ยงที่ไตเพิ่มขึ้น มีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นขณะนอนหลับ ในขณะเดียวกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้นอนหลับไม่ค่อยลึก จึงทำให้สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)เป็นความผิดปกติที่ต้องรีบหาสาเหตุและรักษา อาจะส่งผลอันตรายในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือเกิดอุบัติเหตุได้ในขณะปฏิบัติงาน และอาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ ไหลตาย Insomnia หรือ Narcolepsy และอื่นๆขาขยุกขยิก (Restless Legs)เป็นอาการที่ทำให้ต้องขยับขาไปมา เพราะรู้สึกมีความผิดปกติที่บริเวณขา จึงต้องขยับบ่อย ๆ เพื่อทำให้ความรู้สึกผิดปกติที่ขาลดลง อาการนี้มักพบได้ในช่วงเวลาค่ำ อาจพบในรายที่มีอาการโลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่น ๆปวดศีรษะหลังเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)อาจเป็นผลมาจากที่ขณะนอนหลับไม่สามารถขับถ่าย Carbon Dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม มีผลทำให้เส้นเลือดแดงในสมองขยายตัวจาก Respiratory Acidosis จึงทำให้รู้สึกปวดศีรษะ และอาการนี้จะรุ้สึกได้มากในช่วงเวลาเช้าหลังเพิ่งตื่นนอนนอนกรน (Snoring)มีเสียงหายใจดังมาก หรือ เสียงกรนดังขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพของตนเอง และอาจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ด้วย เป็นอาการอันตราย ต้องรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว เช่น Cardiovascular Problems Metabolic Syndrome ความจำเสื่อม ความดันสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่น ๆหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)เป็นอาการผิดปกติของการนอนกลับที่อันตรายรุนแรง อาจส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคหยุดหายใจขณะหลับอาจสังเกตได้อย่างหากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (Waking up Choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (Waking up Gasping) Cognitive Dysfunctionsนอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การนอนหลับ ตรวจคุณภาพได้ Sleep Test (Polysomnography) หรือ การตรวจคุณภาพการนอนหลับ คือ การตรวจวัดคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจระหว่างการนอนหลับ นอกจากนั้นยังตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาและการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน เพื่อตรวจดูคุณภาพการนอนหลับ ค้นหาความผิดปกติของการนอน หรือ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการนอนบางอย่าง อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรค สมองเสื่อม...

ผู้หญิงนอนกรน สาเหตุและวิธีแก้นอนกรนในผู้หญิง

การนอนกรนไม่ใช่เรื่องน่าอายขนาดนั้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่คิดที่จะแก้ไข อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้หญิงหลายคนอาจจะรู้สึกเขินอาย หรือไม่กล้าบอกว่าตัวเองมีอาการนอนกรน และไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรให้ได้ผล แต่การนอนกรนในผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และหากไม่ให้ความสำคัญกับการหาทางแก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตขณะนอนหลับได้ก่อนที่จะหาคำตอบว่า ทำไม? ผู้หญิงถึงนอนกรน เราควรทำความเข้าใจว่าอาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายระหว่างการนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่ออากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบนี้ จะทำให้เนื้อเยื่อในลำคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่สั่น จะทำให้เกิดเสียงกรน และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน เช่น ต่อมทอนซิลโต น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือลิ้นที่โตขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) คืออะไร? การนอนกรนไม่ใช่แค่การสร้างเสียงรบกวนระหว่างการนอนหลับ แต่ยังสามารถนำไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เมื่อเนื้อเยื่อในลำคอหรือที่ลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนในขณะที่นอนหลับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะไหลตายได้https://www.youtube.com/shorts/1RcpD_hJKcw สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน แม้ว่าปกติผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรนมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพ น้ำหนักเกิน หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดจากอายุหรือการตั้งครรภ์ เช่นอายุ เมื่อผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ปัญหาการนอนกรนจะเริ่มเพิ่มขึ้นวัยหมดประจำเดือน หลังจากหมดประจำเดือน ในผู้หญิงบางรายอาจมีแนวโน้มทำให้นอนกรนมากขึ้นน้ำหนักเกิน อาจทำให้มีไขมันสะสมที่หบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงได้การตั้งครรภ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ถึงแม้จะพบได้น้อยในผู้หญิง แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ควรให้ความสนใจอ่านเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! สาเหตุอื่น ๆ ของการนอนกรน ในกรณีทั่วไป การนอนกรนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นคนอ้วน การสะสมของไขมันในบริเวณคอผู้สูงอายุ การเสื่อมของกล้ามเนื้อที่ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงโรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการนอนกรน วิธีแก้ไขการนอนกรนผู้หญิง การรักษาอาการนอนกรนเริ่มต้นด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อตรวจหาว่าคุณมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หลังจากนั้นสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัดบทความที่เกี่ยวข้องการเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการนอนกรน หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการนอนกรนที่เป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป การนอนกรนในผู้หญิงไม่ใช่แค่เรื่องรบกวนคนข้าง ๆ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ที่พบได้บ่อยกว่าที่คิด และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้าหลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกรนในผู้หญิงมักไม่มีอาการชัดเจนเหมือนผู้ชาย เช่น อาจไม่มีเสียงกรนดัง แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงกลางวัน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่ปัญหาทางเพศ ทำให้ถูกมองข้ามและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เครื่อง BiPAP คืออะไร BiPAP กับ CPAP ต่างกันยังไง

BiPAP และ CPAP เป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้การหายใจขัดข้องในช่วงนอนหลับ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาการหายใจอุดกั้น ทั้ง BiPAP และ CPAP เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าทั้งสองเครื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเครื่อง BiPAP และ CPAP รวมถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละเครื่อง เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและเลือกใช้เครื่องที่เหมาะสมกับตัวเอง ข้อควรรู้ก่อนใช้เครื่อง CPAP CPAP คืออะไร? CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับการบำบัดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หลักการของ CPAP คือการสร้างแรงดันอากาศที่คงที่และส่งผ่านท่อเข้าสู่หน้ากากซึ่งครอบไปที่ปากและจมูกของผู้ใช้ แรงดันนี้จะช่วยเปิดทางเดินหายใจและป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นระหว่างการนอนหลับ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจ CPAP จึงเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจขณะหลับ หลักการทำงานของ CPAP CPAP ทำงานโดยการสร้างแรงดันอากาศที่คงที่ ส่งผ่านท่ออากาศเข้าสู่หน้ากากที่ครอบปากและจมูก ความดันที่เกิดขึ้นจะช่วยเปิดทางเดินหายใจที่อาจถูกบีบอัดหรืออุดตันในช่วงเวลาที่นอนหลับ แรงดันอากาศนี้จะถูกควบคุมให้คงที่ตลอดคืน ไม่ว่าคนไข้จะหายใจเข้าออกในจังหวะใดก็ตาม สิ่งนี้ทำให้การไหลเวียนของอากาศในระบบทางเดินหายใจเป็นปกติ ช่วยลดความเสี่ยงของการหยุดหายใจขณะหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ใครบ้าง? ที่ควรใช้ CPAP CPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนในช่วงเวลาที่หลับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับทารกที่มีปัญหาปอดพัฒนาไม่สมบูรณ์หรือผู้ที่มีภาวะการหายใจไม่เพียงพอระหว่างหลับ CPAP ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้คนไข้รู้สึกสดชื่นและมีพลังงานในช่วงกลางวัน รับคำปรึกษา ฟรี! ขนาดและการพกพาของเครื่อง CPAP เครื่อง CPAP มีหลายขนาดให้เลือก สามารถเลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานแต่ละคนได้เลย หากคุณใช้ที่บ้าน ขนาดของเครื่อง CPAP ที่ใหญ่กว่าอาจไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องเดินทางบ่อย การเลือกเครื่อง CPAP ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก ข้อควรรู้ก่อนใช้เครื่อง BiPAP BiPAP คืออะไร? BiPAP (Bilevel Positive Airway Pressure) เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีหลักการทำงานคล้ายกับ CPAP แต่มีความแตกต่างสำคัญในเรื่องของการปรับแรงดันอากาศระหว่างการหายใจเข้าและหายใจออก BiPAP ถูกออกแบบมาให้สามารถสร้างแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในจังหวะหายใจเข้าและหายใจออก ในขณะที่เครื่อง CPAP ให้แรงดันคงที่ตลอดเวลา การทำงานนี้ทำให้ BiPAP เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการแรงดันอากาศที่แตกต่างกันระหว่างหายใจเข้าและออก หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคปอดและโรคทางระบบประสาท หลักการทำงานของ BiPAP เครื่อง BiPAP จะทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศ 2 ระดับระดับหนึ่งสำหรับการหายใจเข้า (IPAP: Inspiratory Positive Airway Pressure)ระดับสำหรับการหายใจออก (EPAP: Expiratory Positive Airway Pressure)ความแตกต่างของแรงดันนี้ช่วยให้คนไข้ที่มีปัญหาหายใจเข้าและออกได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อบกพร่อง ทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ ใครควรใช้ BiPAP? BiPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจที่ซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ทำให้การหายใจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจแบบซับซ้อนที่ CPAP ไม่สามารถช่วยได้ BiPAP เป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยให้การหายใจกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนาดและการใช้งานของเครื่อง BiPAP เครื่อง BiPAP มักจะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกับเครื่อง CPAP แต่การออกแบบส่วนใหญ่จะเน้นที่การทำงานเงียบและให้ความสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ หลายรุ่นของ BiPAP ยังมีตัวเพิ่มความชื้นในอากาศที่ส่งผ่านท่อหายใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเมือกในจมูกแห้ง ทำให้การใช้งานรู้สึกสบายขึ้น ความแตกต่างระหว่าง BiPAP และ CPAP ในขณะที่ CPAP ใช้แรงดันอากาศคงที่ในการช่วยรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ BiPAP มีความสามารถในการปรับแรงดันอากาศสองระดับสำหรับการหายใจเข้าและออก ความแตกต่างนี้ทำให้ BiPAP เหมาะกับคนไข้ที่มีภาวะการหายใจที่ซับซ้อนหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคปอดหรือปัญหาทางระบบประสาทนอกจากนี้ เครื่อง BiPAP ยังมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่าซึ่งส่งผลให้ ราคาของ BiPAP มักจะสูงกว่า CPAP อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจรุนแรง ที่ไม่สามารถปรับตัวกับการใช้ CPAP ได้ BiPAP จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากช่วยให้หายใจได้สะดวกและเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหายใจออกที่ BiPAP จะใช้แรงดันที่น้อยกว่าในช่วงหายใจเข้า สรุป CPAP และ BiPAP ต่างก็เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ทั้งสองมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน แต่มีข้อแตกต่างหลักในเรื่องของแรงดันอากาศที่ใช้ระหว่างการหายใจเข้าและออก CPAP ให้แรงดันคงที่ตลอดเวลา ในขณะที่ BiPAP สามารถปรับแรงดันอากาศตามความต้องการของผู้ป่วยได้BiPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจที่ซับซ้อน หรือมีภาวะทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่วน CPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับทั่วไป การเลือกใช้เครื่องใดเครื่องหนึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย การเลือกเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นและลดความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องช่วยหายใจนอนกรน เเก้ไขอาการกรน คืออะไร

หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินถึงวิธีการรักษาอาการนอนกรนที่มีหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)