Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
ตรวจ Sleep Test ได้ ไม่ต้องจ่ายแพง
ตรวจง่าย ได้ที่บ้าน
แพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine อ่านผล

ตรวจ Sleep Test ได้ ไม่ต้องจ่ายแพง

ตรวจง่าย ได้ที่บ้าน
แพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine อ่านผล
Table of Contents

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีการที่สำคัญในการวิเคราะห์ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับ เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลาย ๆ ด้าน เช่น การทำงานของคลื่นสมอง ระบบการหายใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในกรณีของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) หรือปัญหาอาการนอนกรนรุนแรง การตรวจการนอนหลับนี้จะช่วยให้แพทย์เฉพาะทางสามารถวินิจฉัยและจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่หลาย ๆ ยังคงกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจสูง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้สามารถเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ได้ในราคาที่ย่อมเยา ทำให้ถึงแม้จะมีงบประมาณจำกัดก็สามารถเข้าถึงการตรวจนี้ได้

อยู่ต่างจังหวัดก็ตรวจการนอนหลับได้

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศไทย เราส่งมอบอุปกรณ์ตรวจการนอนหลับถึงหน้าประตูบ้าน พร้อมคำแนะนำที่เข้าใจง่าย ทำให้สามารถตรวจการนอนหลับได้ที่บ้านของคุณ

ข้อดีของการตรวจการนอนหลับที่บ้าน

  1. สะดวกสำหรับทุกพื้นที่ เข้าถึงได้ง่าย ทุกจังหวัด

VitalSleep Clinic ส่งอุปกรณ์ตรวจการนอนหลับถึงบ้านของคุณ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ อุบลราชธานี ภูเก็ต สามารถจัดส่งครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ

  1. ลดความยุ่งยากในการเดินทาง

ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปคลินิกหรือโรงพยาบาล สามารถทำการตรวจการนอนหลับได้จากที่บ้านได้เลย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายค่าเดินทางนี้ได้

  1. แม่นยำและปลอดภัย

อุปกรณ์การตรวจการนอนหลับที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานและทันสมัย ผลการตรวจจะถูกอ่านและวิเคราะห์โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ

การนอนหลับสำคัญอย่างไร?

การนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Sleep Foundation) รายงานว่าคนที่มีอายุระหว่าง 18-54 ปี มักจะนอนหลับไม่เพียงพอ โดยเฉลี่ยเพียง 6.4 ชั่วโมงต่อคืนในวันทำงาน และ 7.7 ชั่วโมงในวันหยุด อย่างไรก็ตาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการนอนหลับที่ดีควรมีระยะเวลาอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อคืน

การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้คุณภาพการนอนที่ไม่ดี ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของสมองที่ช้าลง ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความสามารถในการทำงาน ความสามารถในการเรียนรู้ของสมอง การนอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพจึงมีความสำคัญในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

การตรวจการนอนหลับ Sleep Test จำเป็นไหม?

ในประเทศไทยเอง ปัญหาการนอนหลับเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก จากรายงานของกรมสุขภาพจิตในปี 2563 พบว่าคนไทยมีปัญหาการนอนไม่หลับมากถึง 19 ล้านคน ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งความเครียด พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) หรืออาการนอนกรน

หากคุณสงสัยว่าตนเองอาจมีปัญหาการนอนหลับ ควรเริ่มต้นด้วยการเข้าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ และอาจแนะนำให้ทำการตรวจการนอนหลับเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการตรวจ Sleep Test จะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมการนอนหลับและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

อาการนอนกรนปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม

การนอนกรนถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของระบบการหายใจในขณะนอนหลับ เสียงกรนที่เกิดขึ้นมาจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ เช่น กล้ามเนื้อในช่องคอที่อ่อนแอ ลิ้นไก่หรือเพดานอ่อนที่ยาวเกินไป จนทำให้เกิดการตีบแคบของทางเดินหายใจ เสียงกรนที่เราได้ยินจึงเกิดจากการสั่นของเนื้อเยื่อในช่องลมที่แคบ

ถึงแม้ว่าการกรนไม่บ่อยอาจไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก แต่ถ้าเป็นอาการกรนเรื้อรังหรือเสียงดังบ่อยครั้ง มักเป็นสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวานได้ หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการนอนกรน ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและหาทางรักษาต่อไป

การตรวจการนอนหลับมีความสำคัญอย่างไร?

การตรวจการนอนหลับไม่ได้เป็นเพียงการตรวจเพื่อหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายในขณะนอนหลับด้วย เช่น การทำงานของคลื่นสมอง การหายใจ การทำงานของหัวใจ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการนอนที่ผิดปกติ เช่น การนอนละเมอ การเคลื่อนไหวผิดปกติระหว่างการนอน ระดับออกซิเจนในเลือดที่อาจลดลงในขณะหลับ

ผลการตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ ซึ่งการตรวจการนอนหลับ Sleep Test นั้นถูกออกแบบมาเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับได้อย่างแม่นยำ

โรคที่พบได้บ่อยจากการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

  1. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA)

OSA เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดจากการตรวจ Sleep Test เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจขณะหลับ ทำให้การหายใจหยุดชะงักเป็นช่วง ๆ ส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ นอนกรนเสียงดัง ตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่ออก ง่วงนอนหรือเหนื่อยล้าในระหว่างวัน หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา OSA อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

  1. โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

โรคนอนไม่หลับเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการหลับหรือการนอนหลับไม่ต่อเนื่อง ทำให้ตื่นขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น แม้จะมีโอกาสเพียงพอที่จะนอนหลับ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ หลับยาก ตื่นบ่อยกลางดึก ความเครียดหรือกังวลใจระหว่างนอน

  1. ภาวะนอนกรน (Snoring)

การนอนกรน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน อาจเกิดจากน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วน โครงสร้างช่องคอที่ผิดปกติ เช่น เพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ที่ยาวเกินไป และทางเดินหายใจแคบ

  1. ภาวะขาดออกซิเจนในเลือดขณะหลับ (Nocturnal Hypoxemia)

ภาวะนี้เกิดจากระดับออกซิเจนในเลือดลดลงในขณะหลับ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคปอด ความผิดปกติของทางเดินหายใจ และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  1. โรคละเมอ (Sleepwalking)

การเดินละเมอหรือพฤติกรรมแปลก ๆ ขณะหลับ เช่น พูดละเมอ เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการนอนหลับโดยรวมและอาจเป็นอันตรายได้ Sleep Test ช่วยตรวจหาคลื่นสมองในระหว่างนอนหลับและวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดปกติ

ตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic ราคาคุ้มค่า

หากคุณกำลังมองหาที่ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ที่มีราคาไม่แพง VitalSleep Clinic เป็นตัวเลือกที่ดี ที่นี่มีบริการตรวจ Sleep Test ในราคาเริ่มต้นเพียง 6,900 บาท และหากต้องการตรวจละเอียดมากขึ้น ก็มีโปรแกรม Full Sleep Test ในราคา 8,800 บาท โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมจากสถาบันต่างประเทศ ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมแน่นอน

สรุป

การตรวจการนอนหลับ Sleep Test เป็นวิธีที่สำคัญในการวินิจฉัยหาปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและอาการนอนกรน ที่ VitalSleep Clinic มีโปรแกรมการตรวจที่ครอบคลุมและราคาคุ้มค่า ทำให้ผู้ที่มีงบประมาณจำกัดสามารถเข้าถึงการตรวจนี้ได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

Related Blogs and Articles
CPAP แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง

อาการนอนกรน ถือเป็นปัญหาสุขภาพของใครหลาย ๆ คน ในเฉพาะคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ไม่เพียงแต่ทำให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่ยังเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจที่เรียกว่า CPAP ซึ่งย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure เครื่อง CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการส่งแรงดันอากาศอย่างต่อเนื่องผ่านทางหน้ากาก เพื่อเปิดทางเดินหายใจของคุณให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการหยุดหายใจซ้ำ ๆ ในขณะหลับ ทำให้การนอนหลับทุกคืนของคุณกลับมาเป็นปกติ เครื่อง CPAP ทำงานอย่างไร? เครื่อง CPAP ทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศไปยังทางเดินหายใจผ่านหน้ากากที่สวมใส่ขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันการปิดตัวของทางเดินหายใจในขณะที่กำลังหายใจเข้า โดยทั่วไปเครื่อง CPAP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใครบ้างที่ควรใช้เครื่อง CPAP? เครื่อง CPAP มักจะถูกแนะนำหรือมาใช้รักษาให้กับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่รุนแรงหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม การใช้ CPAP ช่วยทำให้คนไข้กลับมามีการนอนหลับที่ต่อเนื่องขึ้น ลดเสียงกรน และป้องกันภาวะการหยุดหายใจซ้ำ ๆ โดยรวมแล้ว การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแก้กรนเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการหายใจระหว่างการนอนหลับ และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณข้อมูลจาก เครื่อง CPAP มีกี่ประเภท? แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ก็ยังมีเครื่องประเภทอื่น ๆ ที่ทำงานคล้ายกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้ ความแตกต่างของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อ ข้อดีและข้อเสียของเครื่อง CPAP การเลือกใช้เครื่อง CPAP มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ ข้อดี ข้อเสีย การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP ที่ VitalSleep Clinic ที่ VitalSleep Clinic เราให้บริการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ด้วย เครื่อง CPAP เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นขณะนอนหลับ ทำงานโดยการส่งแรงดันลมอย่างสม่ำเสมอผ่านหน้ากากเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการอุดกั้น ลดการหยุดหายใจและเสียงกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดคืน ลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดสมอง ทำไมต้องเลือก CPAP กับ VitalSleep Clinic? หากคุณมีอาการ นอนกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน หรือหายใจติดขัดขณะหลับ อย่าปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ VitalSleep Clinic เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

World Sleep Day 2025

World Sleep Day หรือ วันนอนหลับโลก เกิดขึ้นภายใต้สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับโลก (World Association of Sleep Medicine: WASM) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการนอนหลับที่มีคุณภาพ และตระหนักรู้ถึงความอันตรายของปัญหาการนอนหลับ เป็นการสื่อสารไปสู่ผู้คนในวงกว้างด้วยความพยายามที่จะป้องกันและบรรเทาปัญหาการนอนของคนทั้งโลก และรณรงค์ให้ผู้คนเห็นความสำคัญของการหลับที่มีคุณภาพ ถูกจัดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 หลังจากนั้นมีการจัดกิจกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ขณะนี้มีประเทศที่เข้าร่วมกิจกรรม วันนอนหลับโลก แล้วมากกว่า 67 ประเทศทั่วโลก เปิดสถิติ คนไทยประสบปัญหาการนอนหนัก การนอนหลับ คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดของการฟื้นฟูร่างกาย แท้จริงแล้ว การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่เป็นการพักผ่อนอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์ใช้เวลามากถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอน เพื่อเติมพลังให้ชีวิตสามารถใช้ชีวิตอีก 2 ใน 3 ที่เหลือ การนอนหลับที่มีคุณภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของชีวิตมนุษย์ เพราะสุขภาพที่ดี เริ่มต้นที่การนอนหลับที่มีคุณภาพ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า คนไทยมากมึง 19 ล้านคน กำลังประสบปัญหาการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การนอนหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นกลางดึกบ่อยเพื่อเข้าห้องน้ำ นอนกรน หรือรุนแรงถึงหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาเหล่านี้ได้ในคนอายุน้อยลงมากขึ้น การนอนหลับที่มีคุณภาพ เป็นอย่างไร การนอนหลับที่มีคุณภาพ หรือ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับเพียงอย่างเดียว ความลึกของการนอนหลับกับเวลาเข้านอนที่เหมาะสมก็มีความสำคัญอย่างมาก หากหลับลึกไม่พอ หรือความผิดปกติระหว่างการนอนบางอย่าง อาจทำให้รู้สึกไม่สดชื่นหลังตื่นนอนในช่วงเช้า (Unrested Sleep) อาจส่งผลกระทบกับระบบความจำ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ กระทบการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป ระยะเวลาที่เหมาะสมในการนอนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่สามารถอ้างอิงเวลาการนอนที่เหมาะสมสำหรับแต่ล่วงวัยได้ ดังนี้ เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) = 14-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กทารก (อายุ 4-11 เดือน) = 12-15 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็ก (อายุ 1-2 ปี) = 11-14 ชั่วโมงต่อวัน วัยอนุบาล (3-5 ปี) = 10-13 ชั่วโมงต่อวัน วัยประถม (6-13 ปี) = 9-11 ชั่วโมงต่อวัน วัยมัธยม (14-17 ปี) = 8-10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่น (18-25 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยทำงาน (26-64 ปี) = 7-9 ชั่วโมงต่อวัน วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) = 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เช็คลิสต์ อาการนอนหลับผิดปกติ ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางดึก (Nocturnal Urination)อาจเป็นการตอบสนองของร่างกาย เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้นหลังเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Bradycardia-tachycardia) เลือดไปเลี้ยงที่ไตเพิ่มขึ้น มีผลทำให้มีน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้นขณะนอนหลับ ในขณะเดียวกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับทำให้นอนหลับไม่ค่อยลึก จึงทำให้สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (Excessive Daytime Sleepiness)เป็นความผิดปกติที่ต้องรีบหาสาเหตุและรักษา อาจะส่งผลอันตรายในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือเกิดอุบัติเหตุได้ในขณะปฏิบัติงาน และอาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับการนอนอื่น ๆ เช่น หยุดหายใจขณะหลับ ไหลตาย Insomnia หรือ Narcolepsy และอื่นๆขาขยุกขยิก (Restless Legs)เป็นอาการที่ทำให้ต้องขยับขาไปมา เพราะรู้สึกมีความผิดปกติที่บริเวณขา จึงต้องขยับบ่อย ๆ เพื่อทำให้ความรู้สึกผิดปกติที่ขาลดลง อาการนี้มักพบได้ในช่วงเวลาค่ำ อาจพบในรายที่มีอาการโลหิตจาง (Iron deficiency) ในช่วงขณะตั้งครรภ์ (pregnancy) คนไข้โรคไตวาย (chronic renal failure) และโรคอื่น ๆปวดศีรษะหลังเพิ่งตื่นนอนตอนเช้า (Morning Headache)อาจเป็นผลมาจากที่ขณะนอนหลับไม่สามารถขับถ่าย Carbon Dioxide ออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม มีผลทำให้เส้นเลือดแดงในสมองขยายตัวจาก Respiratory Acidosis จึงทำให้รู้สึกปวดศีรษะ และอาการนี้จะรุ้สึกได้มากในช่วงเวลาเช้าหลังเพิ่งตื่นนอนนอนกรน (Snoring)มีเสียงหายใจดังมาก หรือ เสียงกรนดังขณะนอนหลับ ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพของตนเอง และอาจะส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ด้วย เป็นอาการอันตราย ต้องรีบหาสาเหตุและรักษาอย่างเหมาะสม หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะมีผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว เช่น Cardiovascular Problems Metabolic Syndrome ความจำเสื่อม ความดันสูง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่น ๆหยุดหายใจในขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)เป็นอาการผิดปกติของการนอนกลับที่อันตรายรุนแรง อาจส่งผลร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ โรคหยุดหายใจขณะหลับอาจสังเกตได้อย่างหากไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สำลักขณะนอนหลับ (Waking up Choking) ตื่นขึ้นมากลางดึกอย่างกะทันหันเพื่อหายใจ (Waking up Gasping) Cognitive Dysfunctionsนอนไม่เพียงพอหรือมีปัญหาเรื่องการนอนหลับอาจมีผลต่อหน้าที่การทำงานของสมอง รวมทั้งความทรงจำทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การนอนหลับ ตรวจคุณภาพได้ Sleep Test (Polysomnography) หรือ การตรวจคุณภาพการนอนหลับ คือ การตรวจวัดคลื่นสมอง ระดับออกซิเจนในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการหายใจระหว่างการนอนหลับ นอกจากนั้นยังตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาและการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วน เพื่อตรวจดูคุณภาพการนอนหลับ ค้นหาความผิดปกติของการนอน หรือ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการนอนบางอย่าง อาการนอนกรน หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรค สมองเสื่อม...

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

แม้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการนอนกัดฟันที่แน่ชัดได้ แต่งานวิจัยพบว่า "ความเครียด" และ "ความวิตกกังวล" เป็นปัจจัยหลักของอาการนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดเรื้อรังและการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะการกระตุ้นแกน HPA (Hypothalamic-Pituitary-Adrenal axis) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับคอร์ติซอลในน้ำลาย และอาจทำให้เกิดพฤติกรรมกัดฟันซ้ำๆ ขณะนอนหลับ ข้อมูลงานวิจัยจาก PubMed Central (PMC) นอนกัดฟัน คืออะไร? นอนกัดฟัน (Bruxism) คือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ โดยผู้ป่วยจะขบฟันหรือบดฟันไปมาโดยไม่รู้ตัว อาจมีเสียงกัดฟันดังจนคนข้าง ๆ สะดุ้งตื่นกลางดึก ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และคุณภาพการนอน คนที่นอนกัดฟันมักมีอาการปวดกราม ปวดข้อต่อขากรรไกรหรือปวดศีรษะตอนตื่นนอน บางรายอาจมีพฤติกรรมนอนกัดฟันมากกว่า 100 ครั้งต่อคืนด้วย เช็กอาการ จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณนอนกัดฟัน? เพราะอาการมักเกิดขณะนอนหลับโดยที่เราไม่รู้ตัว วิธีที่ดีที่สุดในการวินิจฉัย คือ “การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)” สามารถตรวจจับการทำงานของกล้ามเนื้อขณะนอนหลับได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการต่อไปนี้ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ ผลเสียจากการนอนกัดฟัน แม้อาการจะดูไม่รุนแรงมากในช่วงแรก แต่หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น วิธีรักษาอาการนอนกัดฟันแบบเฉพาะทางที่ VitalSleep Clinic ที่ VitalSleep Clinic เราใช้แนวทางวินิจฉัยอย่างครอบคลุม พร้อมวิธีรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อหยุดพฤติกรรมกัดฟันขณะหลับอย่างได้ผล 1. ใช้อุปกรณ์ครอบฟันกันกัดฟันเฉพาะบุคคล (Splint) หากพบว่าการนอนกัดฟันไม่ได้เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์เฉพาะทางจะทำ Splint หรือ Night Guard แบบเฉพาะบุคคล ให้พอดีกับฟันและขากรรไกรของผู้ป่วย อ่านเพิ่มเติม 2. Myofunctional Therapy หากการนอนกัดฟันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกลืนผิดปกติหรือลิ้นตกขณะนอน แพทย์เฉพาะทางอาจแนะนำให้บำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจและใบหน้า (Myofunctional Therapy) อ่านเพิ่มเติม สรุป นอนกัดฟันไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ ที่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลต่อทั้งสุขภาพช่องปาก รูปหน้า ความสัมพันธ์ และคุณภาพชีวิต หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟัน ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างตรงจุด ก่อนที่อาการจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น

นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ โรคร้ายที่อาจพรากชีวิตโดยไม่รู้ตัว

นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับการนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยอันตรายโดยไม่รู้ตัว หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการ นอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) มันไม่ใช่แค่เรื่องของเสียงรบกวนระหว่างหลับเท่านั้น แต่เป็นโรคร้ายที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตอย่างเงียบ ๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัวhttps://www.youtube.com/watch?v=O6cvnSTn7lA ภาวะนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร? นอนกรนเกิดจากการสั่นของเนื้อเยื่อในลำคอ อากาศที่ผ่านช่องทางเดินหายใจที่ตีบแคบในระหว่างหลับ อาจเกิดจากเพดานอ่อน โคนลิ้น หรือกล้ามเนื้อคอที่หย่อนคล้อยมาขวางลม การหายใจอาจหยุดลงชั่วขณะ และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดคืน เรียกว่า "ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น" ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง สมองและหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นโดยไม่รู้ตัวบทความที่เกี่ยวข้อง นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ ทำไมถึงอันตราย? การหยุดหายใจซ้ำ ๆ ตลอดทั้งคืน ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเป็นระยะ ส่งผลเสียร้ายแรงหลายด้าน เช่น- ทำให้นอนหลับไม่เต็มที่ ตื่นกลางดึก และรู้สึกไม่สดชื่นแม้จะนอนนาน- เพิ่มความเสี่ยงของ โรคร้ายแทรกซ้อน เช่นหัวใจล้มเหลว (เสี่ยงมากขึ้นถึง 140%)หลอดเลือดสมองตีบ (เสี่ยงเพิ่ม 30%)โรคหลอดเลือดหัวใจ (เพิ่มความเสี่ยง 60%)เบาหวานชนิดที่ 2 (เพิ่มความเสี่ยง 6 เท่า)ภาวะซึมเศร้า (พบในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ2%)สมองเสื่อม (ความจำเสื่อมเร็วจากขาดออกซิเจนในสมอง)ขอบคุณข้อมูลจาก https://shorturl.asia/24zEk, https://shorturl.asia/7vtOc, https://shorturl.asia/6ICHZ, https://shorturl.asia/JGftQ, https://shorturl.asia/6T2yV, https://shorturl.asia/JGftQ ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ? ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดได้กับทุกคน แต่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้บางคนมีแนวโน้มมากกว่าคนอื่น เช่นน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนไขมันรอบคออาจกดทับทางเดินหายใจ ขัดขวางการหายใจขณะหลับ (น้ำหนักขึ้นเพียง 10% เพิ่มความเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับถึง 32%)อายุที่มากขึ้นอายุมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อในลำคอและใบหน้าหย่อนตัว เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจเพศชายมีแนวโน้มหยุดหายใจขณะหลับ มากกว่าเพศหญิงถึง 5-6 เท่า เนื่องจากโครงสร้างทางกายภาพและฮอร์โมนที่แตกต่างกันโครงสร้างใบหน้าผิดปกติคนที่มีคางเล็ก คางถอย หรือคางสั้น มีพื้นที่ช่องคอน้อยลง เสี่ยงต่อการอุดกั้นทางเดินหายใจได้มากขึ้นโรคประจำตัวคนที่เป็นเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจ หรือสมองเสื่อม มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปมาก โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเผชิญภาวะหยุดหายใจขณะหลับ? อาการที่พบบ่อยและควรสังเกต ได้แก่นอนกรนเสียงดังเป็นประจำหายใจติดขัดหรือหยุดหายใจขณะหลับ (สังเกตได้จากคนข้าง ๆ)ตื่นกลางดึกบ่อย มีอาการหายใจแรงหรือสะดุ้งง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวันปวดหัวตอนเช้า ไม่สดชื่นแม้นอนนานหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือมีปัญหาความจำ รับคำปรึกษา ฟรี! อย่ารอให้อันตรายมาเยือนโดยไม่รู้ตัว การนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่ควรถูกมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกถึงโรคร้ายแรงในอนาคต โดยเฉพาะในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาการเข้ารับ การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีที่แม่นยำและปลอดภัยในการวินิจฉัยโรคนี้ และถ้าพบว่ามีปัญหา ก็สามารถเริ่มรักษาได้อย่างตรงจุดตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง CPAP, Oral Appliance, การฝึกหายใจหรือปรับพฤติกรรมการนอน และการบำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป "นอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ" ไม่ใช่แค่ปัญหาเสียงน่ารำคาญตอนกลางคืน แต่คือภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพโดยรวมของคุณ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ สมอง หรือคุณภาพชีวิต การใส่ใจและรับการวินิจฉัยตั้งแต่ต้น คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยรักษาชีวิตและอนาคตของคุณไว้

นอนกัดฟันรักษาได้ รวมวิธีแก้ “นอนกัดฟัน ปวดฟัน” อาการกัดฟันไม่รู้ตัว

ในบางครั้งคนที่นอนกัดฟันเองก็อาจไม่รู้ตัวจนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน ปวดกราม หรือมีคนรอบข้างสังเกตเห็นเสียงกัดฟันในเวลานอนตอนกลางคืน นอนกัดฟันรักษาได้!

นอนกัดฟัน ต้องแก้ด้วย Splint ฟันเท่านั้นหรอ

“นอนกัดฟัน” หรือ Bruxism ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะมันส่งผลต่อทั้งสุขภาพช่องปาก ข้อต่อขากรรไกร รวมไปถึงคุณภาพการนอนหลับโดยตรง หลายคนคงอาจคิดว่าใส่ Splint ฟัน ก็เพียงพอแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว การรักษาอาการนี้มีได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการhttps://youtu.be/gMdIP1i56ZQ?si=0ipz3OKFiweiis9_ สาเหตุของการนอนกัดฟัน หลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกัดฟัน ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับระบบร่างกาย จิตใจ และโครงสร้างฟันโดยตรง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย มีดังนี้ความเครียดสะสมเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน ความสัมพันธ์ หรือปัญหาส่วนตัว—กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเกร็งตัว รวมถึงกล้ามเนื้อกรามและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวด้วย การเกร็งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับโดยไม่รู้ตัว และแสดงออกมาในรูปแบบของการกัดฟันภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักมีปัญหาทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน ส่งผลให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองเพื่อเปิดทางเดินหายใจอีกครั้ง หนึ่งในปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้นคือ “การกัดฟัน” เพื่อพยายามดันขากรรไกรให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติการสบฟันที่ผิดปกติฟันที่เรียงตัวไม่ดี หรือสบกันไม่พอดี อาจทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวต้องทำงานหนักเกินไปเพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินจำเป็น จึงเกิดการเกร็งสะสม และกลายเป็นพฤติกรรมกัดฟันในเวลานอนได้ในที่สุด อ่านเพิ่มเติม นอนกัดฟัน ปัญหาจุกจิก อาจเป็นเรื่องใหญ่ ปล่อยไว้นานอันตราย รักษาได้ ไม่ต้องผ่าตัด เช็กอาการเสี่ยงนอนกัดฟัน หากคุณนอนคนเดียวหรือไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟันขณะหลับไหม สังเกตตัวเองได้จากอาการเหล่านี้ ที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณอาจกำลังมีปัญหานี้อยู่ตื่นมาแล้วปวดหรือเมื่อยกรามปวดหัว ปวดบริเวณหน้าหู (โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน)มีอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันเวลาทานของร้อน/เย็นมีกระดูกนูนบริเวณมุมกราม ใบหน้าเริ่มดูเหลี่ยมขึ้นอ้าปากกว้างไม่ได้ รู้สึกค้างหรือเจ็บขากรรไกรอ่านเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหานอนกัดฟัน ฟรี! ผลเสียของการนอนกัดฟัน ฟันบิ่น ฟันแตก เพราะเนื้อฟันสึกจากการบดหรือกดทับซ้ำ ๆข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD) อาจทำให้เจ็บเวลาพูด เคี้ยว หรืออ้าปากโครงหน้าผิดรูป กระดูกมุมกรามนูน ใบหน้าดูเหลี่ยมกว่าปกตินอนหลับไม่มีคุณภาพ สมองตื่นตัวบ่อย ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่รบกวนคนรอบ ๆ ข้าง เสียงบดฟันทำให้คู่ชีวิตหลับไม่สนิท และอาจกระทบความสัมพันธ์ในระยะยาว วิธีรักษานอนกัดฟัน อาการนี้สามารถรักษาได้ และควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน1. การใช้ Splint ฟัน (Occlusal Splint)ช่วยป้องกันการสึกหรอของเนื้อฟัน โดยกระจายแรงกดขณะกัดฟัน และลดอาการเมื่อยกล้ามเนื้อกรามข้อควรระวัง: สำหรับเด็ก การใช้ Splint อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร และในช่วงแรกอาจทำให้นอนหลับยากขึ้นอ่านเพิ่มเติม2.  การฝึกกล้ามเนื้อด้วย Myofunctional Therapyเป็นการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งสามารถใช้รักษาการนอนกรน และอาการนอนกัดฟันได้พร้อมกันอ่านเพิ่มเติมจุดเด่นของ Myofunctional Therapyช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยวปรับสมดุลกล้ามเนื้อและการสบฟันแก้ปัญหาต้นเหตุอย่างแท้จริง การรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรทำร่วมกัน ทางที่ดีที่สุดคือการใช้ Splint ฟัน เพื่อป้องกันฟันสึกในระยะสั้น ควบคู่กับ การทำ Myofunctional Therapy เพื่อจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง และควรตรวจการนอนหลับ Sleep Test เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)การวางแผนรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง และทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ด้านการนอนหลับ และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาเหมาะสมกับแต่ละบุคคลและปลอดภัยที่สุด ปรึกษาวิธีการรักษากับเเพทย์เฉพาะทาง! สรุป การนอนกัดฟันไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ เพราะอาจนำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง ฟันสึก ขากรรไกรอักเสบ และปัญหาโครงหน้าในระยะยาว หากสงสัยว่าตัวเองมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางหรือทันตแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมก่อนที่อาการจะลุกลาม

splint

หลายคนอาจจะมองว่าเสียงกรนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วมันสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ เราจะพูดกันถึงวิธีการแก้ไขด้วย “เฝือกฟันแก้นอนกรน”

การหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะผิดปกติที่สามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัญหานอนกรน

แก้นอนกรน ด้วย Myofunctional Therapy

การนอนกรน เป็นปัญหาการนอนที่พบได้บ่อยและส่งผลต่อทั้งคนที่นอนกรนและคนรอบข้าง แม้ว่าจะมีวิธีการรักษานอนกรนหลายรูปแบบ แต่ Myofunctional Therapy

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)