Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
นอนกรน
เสี่ยงมะเร็ง
จริงหรือ?

นอนกรน

เสี่ยงมะเร็ง
จริงหรือ?
Table of Contents

หลายคนอาจคิดว่า “การนอนกรน” เป็นเพียงปัญหาเล็กน้อย แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งมักพบร่วมกับการกรน อาจมีความเชื่อมโยงกับ “โรคมะเร็ง”

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คืออะไร?

ข้อมูลจากสถาบันโรคหัวใจ ปอด และโลหิตวิทยาแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NHLBI) ระบุว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ จะมีช่วงที่หยุดหายใจและกลับมาหายใจซ้ำ ๆ ขณะนอนหลับ ทำให้หลับไม่สนิท นอนหลับไม่เต็มที่และรบกวนคุณภาพชีวิตในระยะยาว

สาเหตุหลัก มาจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอที่หย่อนตัวผิดปกติ ทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้น หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง และที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือ ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

ความเชื่อมโยงระหว่างการนอนกรนกับโรคมะเร็ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Athanasia Pataka จาก Aristotle University of Thessaloniki ประเทศกรีซ ได้เปิดเผยว่า ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีอาการกรนอย่างรุนแรง จะมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำระหว่างนอนหลับ ภาวะนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด

งานวิจัยที่ชี้ชัด

มีการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างกว่า 19,000 คน (ชาย 13,767 คน หญิง 5,789 คน) พบว่า

  • ผู้ที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 90% ซ้ำ ๆ ในแต่ละคืน มีความเสี่ยงต่อมะเร็งมากขึ้น
  • ในกลุ่มนี้ มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจำนวน 388 คน (ราว 2%)
  • มะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงคือ มะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

ที่น่าสนใจคือ การหยุดหายใจขณะหลับมีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็ง ชัดเจนในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในคนที่มีอาการรุนแรง และมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงกลางคืน

นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ปัจจัยทางชีววิทยาระหว่างเพศชายและหญิง เช่น ฮอร์โมน อาจเป็นตัวเร่งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง รวมถึงอิทธิพลของออกซิเจนต่ำในเลือด ซึ่งอาจกระตุ้นกระบวนการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย

วิธีรักษาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การรักษาจะเริ่มจาก การตรวจ Sleep Test เพื่อประเมินความรุนแรง จากนั้นแพทย์เฉพาะทางจะวางแผนการรักษา มีทั้งแบบไม่ผ่าตัดและผ่าตัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

  • ยางครอบฟันช่วยเปิดทางเดินหายใจ (Oral Appliance)
  • การทำบำบัดกล้ามเนื้อทางเดินหายใจ (Myofunctional Therapy)
  • คลื่นความถี่วิทยุ RF Bot จี้โคนลิ้นและเยื่อบุจมูก
  • การใช้ CPAP

การรักษาแบบผ่าตัด

  • การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร (Maxillomandibular Advancement)
  • การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่

ทำไมต้องรักษาที่ VitalSleep Clinic?

แพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญ

มีทีมแพทย์ที่ผ่านการอบรมจากสถาบันระดับโลก พร้อมใบรับรองด้านการรักษาความผิดปกติของกล้ามเนื้อช่องปาก ใบหน้าและทางเดินหายใจ

เทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย

มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยครอบคลุมทั้งแนวทางแบบไม่ผ่าตัดและผ่าตัด รวมถึง Myosa® สำหรับผู้มีปัญหานอนกัดฟันหรือข้อต่อขากรรไกร

ใส่ใจ ดูแลรักษา

ได้รับความไว้วางใจจากผู้ป่วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาวะนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หรือปัญหาข้อต่อขากรรไกร พร้อมดูแลอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง

สรุป

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำขณะหลับ จึงควรตรวจ Sleep Test เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีทางเลือกทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัดที่ VitalSleep Clinic พร้อมดูแลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Related Blogs and Articles
เครื่อง BiPAP คืออะไร BiPAP กับ CPAP ต่างกันยังไง

BiPAP และ CPAP เป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้การหายใจขัดข้องในช่วงนอนหลับ โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาการหายใจอุดกั้น ทั้ง BiPAP และ CPAP เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหานี้ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าทั้งสองเครื่องนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของเครื่อง BiPAP และ CPAP รวมถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละเครื่อง เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจและเลือกใช้เครื่องที่เหมาะสมกับตัวเอง ข้อควรรู้ก่อนใช้เครื่อง CPAP CPAP คืออะไร? CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับการบำบัดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หลักการของ CPAP คือการสร้างแรงดันอากาศที่คงที่และส่งผ่านท่อเข้าสู่หน้ากากซึ่งครอบไปที่ปากและจมูกของผู้ใช้ แรงดันนี้จะช่วยเปิดทางเดินหายใจและป้องกันไม่ให้เกิดการอุดกั้นระหว่างการนอนหลับ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจ CPAP จึงเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจขณะหลับ หลักการทำงานของ CPAP CPAP ทำงานโดยการสร้างแรงดันอากาศที่คงที่ ส่งผ่านท่ออากาศเข้าสู่หน้ากากที่ครอบปากและจมูก ความดันที่เกิดขึ้นจะช่วยเปิดทางเดินหายใจที่อาจถูกบีบอัดหรืออุดตันในช่วงเวลาที่นอนหลับ แรงดันอากาศนี้จะถูกควบคุมให้คงที่ตลอดคืน ไม่ว่าคนไข้จะหายใจเข้าออกในจังหวะใดก็ตาม สิ่งนี้ทำให้การไหลเวียนของอากาศในระบบทางเดินหายใจเป็นปกติ ช่วยลดความเสี่ยงของการหยุดหายใจขณะหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ใครบ้าง? ที่ควรใช้ CPAP CPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ซึ่งเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนในช่วงเวลาที่หลับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กับทารกที่มีปัญหาปอดพัฒนาไม่สมบูรณ์หรือผู้ที่มีภาวะการหายใจไม่เพียงพอระหว่างหลับ CPAP ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ทำให้คนไข้รู้สึกสดชื่นและมีพลังงานในช่วงกลางวัน รับคำปรึกษา ฟรี! ขนาดและการพกพาของเครื่อง CPAP เครื่อง CPAP มีหลายขนาดให้เลือก สามารถเลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานแต่ละคนได้เลย หากคุณใช้ที่บ้าน ขนาดของเครื่อง CPAP ที่ใหญ่กว่าอาจไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ต้องเดินทางบ่อย การเลือกเครื่อง CPAP ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาก็เป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก ข้อควรรู้ก่อนใช้เครื่อง BiPAP BiPAP คืออะไร? BiPAP (Bilevel Positive Airway Pressure) เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีหลักการทำงานคล้ายกับ CPAP แต่มีความแตกต่างสำคัญในเรื่องของการปรับแรงดันอากาศระหว่างการหายใจเข้าและหายใจออก BiPAP ถูกออกแบบมาให้สามารถสร้างแรงดันอากาศที่แตกต่างกันในจังหวะหายใจเข้าและหายใจออก ในขณะที่เครื่อง CPAP ให้แรงดันคงที่ตลอดเวลา การทำงานนี้ทำให้ BiPAP เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการแรงดันอากาศที่แตกต่างกันระหว่างหายใจเข้าและออก หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคปอดและโรคทางระบบประสาท หลักการทำงานของ BiPAP เครื่อง BiPAP จะทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศ 2 ระดับระดับหนึ่งสำหรับการหายใจเข้า (IPAP: Inspiratory Positive Airway Pressure)ระดับสำหรับการหายใจออก (EPAP: Expiratory Positive Airway Pressure)ความแตกต่างของแรงดันนี้ช่วยให้คนไข้ที่มีปัญหาหายใจเข้าและออกได้สะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีภาวะระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อบกพร่อง ทำให้การหายใจกลับมาเป็นปกติ ใครควรใช้ BiPAP? BiPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจที่ซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ทำให้การหายใจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจแบบซับซ้อนที่ CPAP ไม่สามารถช่วยได้ BiPAP เป็นทางเลือกที่ดีในการช่วยให้การหายใจกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนาดและการใช้งานของเครื่อง BiPAP เครื่อง BiPAP มักจะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกับเครื่อง CPAP แต่การออกแบบส่วนใหญ่จะเน้นที่การทำงานเงียบและให้ความสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ หลายรุ่นของ BiPAP ยังมีตัวเพิ่มความชื้นในอากาศที่ส่งผ่านท่อหายใจ เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเมือกในจมูกแห้ง ทำให้การใช้งานรู้สึกสบายขึ้น ความแตกต่างระหว่าง BiPAP และ CPAP ในขณะที่ CPAP ใช้แรงดันอากาศคงที่ในการช่วยรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ BiPAP มีความสามารถในการปรับแรงดันอากาศสองระดับสำหรับการหายใจเข้าและออก ความแตกต่างนี้ทำให้ BiPAP เหมาะกับคนไข้ที่มีภาวะการหายใจที่ซับซ้อนหรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคปอดหรือปัญหาทางระบบประสาทนอกจากนี้ เครื่อง BiPAP ยังมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่าซึ่งส่งผลให้ ราคาของ BiPAP มักจะสูงกว่า CPAP อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจรุนแรง ที่ไม่สามารถปรับตัวกับการใช้ CPAP ได้ BiPAP จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากช่วยให้หายใจได้สะดวกและเป็นธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหายใจออกที่ BiPAP จะใช้แรงดันที่น้อยกว่าในช่วงหายใจเข้า สรุป CPAP และ BiPAP ต่างก็เป็นเครื่องช่วยหายใจที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ทั้งสองมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน แต่มีข้อแตกต่างหลักในเรื่องของแรงดันอากาศที่ใช้ระหว่างการหายใจเข้าและออก CPAP ให้แรงดันคงที่ตลอดเวลา ในขณะที่ BiPAP สามารถปรับแรงดันอากาศตามความต้องการของผู้ป่วยได้BiPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการหายใจที่ซับซ้อน หรือมีภาวะทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่วน CPAP เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับทั่วไป การเลือกใช้เครื่องใดเครื่องหนึ่งควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย การเลือกเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้นและลดความเสี่ยงที่เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอนกรน เสี่ยง โรคใหลตาย ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

อาการนอนกรนไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนรอบข้างเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่อันตรายถึงชีวิต

เสี่ยงตาย! รู้ไหม นอนกรนเกิดจาก ร่างกายหายใจไม่ออก

การนอนกรนเป็นอาการที่หลายคนอาจมองข้าม ที่จริงแล้วมันเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาทางสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

การหยุดหายใจขณะหลับ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะผิดปกติที่สามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีปัญหานอนกรน

ผู้หญิงนอนกรน สาเหตุและวิธีแก้นอนกรนในผู้หญิง

การนอนกรนไม่ใช่เรื่องน่าอายขนาดนั้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่คิดที่จะแก้ไข อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้หญิงหลายคนอาจจะรู้สึกเขินอาย หรือไม่กล้าบอกว่าตัวเองมีอาการนอนกรน และไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรให้ได้ผล แต่การนอนกรนในผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และหากไม่ให้ความสำคัญกับการหาทางแก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตขณะนอนหลับได้ก่อนที่จะหาคำตอบว่า ทำไม? ผู้หญิงถึงนอนกรน เราควรทำความเข้าใจว่าอาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายระหว่างการนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่ออากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบนี้ จะทำให้เนื้อเยื่อในลำคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่สั่น จะทำให้เกิดเสียงกรน และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน เช่น ต่อมทอนซิลโต น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือลิ้นที่โตขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) คืออะไร? การนอนกรนไม่ใช่แค่การสร้างเสียงรบกวนระหว่างการนอนหลับ แต่ยังสามารถนำไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เมื่อเนื้อเยื่อในลำคอหรือที่ลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนในขณะที่นอนหลับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะไหลตายได้https://www.youtube.com/shorts/1RcpD_hJKcw สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน แม้ว่าปกติผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรนมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพ น้ำหนักเกิน หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดจากอายุหรือการตั้งครรภ์ เช่นอายุ เมื่อผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ปัญหาการนอนกรนจะเริ่มเพิ่มขึ้นวัยหมดประจำเดือน หลังจากหมดประจำเดือน ในผู้หญิงบางรายอาจมีแนวโน้มทำให้นอนกรนมากขึ้นน้ำหนักเกิน อาจทำให้มีไขมันสะสมที่หบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงได้การตั้งครรภ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ถึงแม้จะพบได้น้อยในผู้หญิง แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ควรให้ความสนใจอ่านเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! สาเหตุอื่น ๆ ของการนอนกรน ในกรณีทั่วไป การนอนกรนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นคนอ้วน การสะสมของไขมันในบริเวณคอผู้สูงอายุ การเสื่อมของกล้ามเนื้อที่ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงโรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการนอนกรน วิธีแก้ไขการนอนกรนผู้หญิง การรักษาอาการนอนกรนเริ่มต้นด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อตรวจหาว่าคุณมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หลังจากนั้นสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัดบทความที่เกี่ยวข้องการเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการนอนกรน หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการนอนกรนที่เป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป การนอนกรนในผู้หญิงไม่ใช่แค่เรื่องรบกวนคนข้าง ๆ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ที่พบได้บ่อยกว่าที่คิด และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้าหลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกรนในผู้หญิงมักไม่มีอาการชัดเจนเหมือนผู้ชาย เช่น อาจไม่มีเสียงกรนดัง แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงกลางวัน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่ปัญหาทางเพศ ทำให้ถูกมองข้ามและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

แก้นอนกัดฟันด้วยยางกัดฟัน

นอนกัดฟันคืออะไร? การนอนกัดฟัน หรือ Sleep Bruxism เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน เพราะมักเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับและตอนที่ไม่รู้ตัว อาจเป็นเพียงพฤติกรรมที่ไม่ได้ส่งผลเสียใหญ่โตมากนัก แต่อสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น ฟันสึกกร่อน ปวดข้อขากรรไกร และอาจมีผลเสียต่อเนื้อเยื่อกระดูกและเหงือกหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม สาเหตุของการนอนกัดฟัน ถึงแม้ว่าจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่านอนกัดฟันเกิดจากอะไร แต่ก็สามารถคาดเดาเอาได้จากหลายปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องที่พบได้บ่อย คือความเครียดและความวิตกกังวล เป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเจออยู่ในชีวิตประจำวัน เวลาที่เราเครียดหรือวิตกกังวล อาจกัดฟันหรือกดดันฟันในช่วงเวลาเราที่ไม่รู้ตัวในระหว่างการนอนหลับ ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ปัญหาฟันซ้อนเก ความผิดปกติทางโครงสร้างฟัน ก็อาจทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ได้ ขอบคุณข้อมูลจาก การรักษานอนกัดฟันที่ VitalSleep Clinic ปัจจุบันมีวิธีการรักษานอนกัดฟันหลายวิธี คนไข้สามารถปรึกษาทันตแพทย์ แพทย์เฉพาะทาง หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การใช้เครื่องมือทันตกรรม เช่น การใช้ยางกัดฟันหรือเฝือกฟัน (Splint) สำหรับคนที่สงสัยว่าตัวเองกำลังมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วยกับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะช่วยวินิจฉัยและให้แนวทางการรักษาที่ตรงจุดมากขึ้น วิธีการเก็บรักษายางกัดฟัน ยางกัดฟันเหมาะกับใครบ้าง? การใช้ยางกัดฟันเหมาะกับผู้ที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟันที่เรื้อรัง คนที่มีอาการเจ็บปวดฟันหรือขากรรไกรเมื่อตอนตื่นนอน โดยเฉพาะคนที่มีเสียงกัดฟันดังหรือรบกวนคนที่นอนข้าง ๆ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง เช่น ฟันสึกมากเกินไป ปวดขากรรไกรอย่างต่อเนื่อง หรือสงสัยว่ามีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำการรักษาเพิ่มเติม ที่ VitalSleep Clinic เรามีการรักษานอนกัดฟันด้วย “ยางกัดฟันเฉพาะบุคคล” ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับรูปฟันของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ต่างจากยางกัดฟันทั่วไปที่อาจไม่พอดีกับช่องปาก ยางกัดฟันของเราผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นและทนทาน สามารถช่วยลดแรงกดบนฟัน ลดอาการปวดกราม และป้องกันไม่ให้ฟันสึกจากการกัดฟันระหว่างนอนหลับ ข้อดีของยางกัดฟันที่ VitalSleep Clinic อ่านเพิ่มเติม: สรุป การนอนกัดฟันเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปแต่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ยางกัดฟัน (Splint) อุปกรณ์นี้ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการกัดฟันขณะหลับ ช่วยลดความเจ็บปวดและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับฟันและขากรรไกร การใช้ยางกัดฟันเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการนอนกัดฟันที่รุนแรง ควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เราขอแนะนำตรวจ Sleep Test

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

อาการเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สิ่งหนึ่งที่มักถูกละเลยคือการดูแลคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสิ่งสำคัญมากต่อชีวิตประจำวัน การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)