Skip to content
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
  • อาคารพญาไท พลาซ่า
  • ชั้น 33 ติด BTS
  • สถานี พญาไท ทางออกที่ 1
ตรวจ Sleep Test พบแพทย์เฉพาะทางดีไหม
หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เพราะอะไร ?
วินิจฉัย พร้อมหาทางรักษา ก่อนสาย

ตรวจ Sleep Test พบแพทย์เฉพาะทางดีไหม

หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เพราะอะไร ?
วินิจฉัย พร้อมหาทางรักษา ก่อนสาย
Table of Contents

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือประสบปัญหานอนไม่พอจากการสะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้าย หรือการกรนดังจากคนข้าง ๆ กาย ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและการเจ็บป่วย ปัญหาด้านความจำ ความสามารถในการตัดสินใจที่บกพร่อง และอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลได้

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคที่อันตราย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งยังสามารถนำไปสู่ภาวะใหลตายได้ การตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test จึงเป็นการวินิจฉัยปัญหาก่อนที่จะเกิดโรคร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ในบทความนี้ เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับการตรวจการนอนหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep Clinic ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลสุขภาพการนอนหลับของคุณ

Sleep Test คืออะไร?

Sleep Test หรือการตรวจการนอนหลับ คือ การทดสอบที่ใช้เครื่องมือเฉพาะเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับของคุณ ผ่านการวัดและบันทึกการนอนหลับของผู้รับการตรวจ อุปกรณ์ที่ใช้จะเชื่อมต่อกับร่างกายของผู้ป่วยเพื่อวัดสถานะการนอนหลับ รวมถึงการหลับสนิท, การหลับลึก, การตื่นกลางดึก และการหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายคนมักจะไม่รู้ตัว

โดยการตรวจการนอนหลับ Sleep Test นี้ไม่เพียงช่วยวิเคราะห์อาการหยุดหายใจขณะหลับเท่านั้น แต่ยังสามารถระบุปัญหาการนอนไม่หลับและฝันร้ายที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ จนทำให้สะดุ้งตื่นกลางดึกด้วยได้เช่นกัน

ใครบ้าง? ที่ควรตรวจการนอนหลับ

การตรวจการนอนหลับเหมาะกับผู้ที่มีอาการหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ เช่น กรนดัง, หายใจไม่ออกระหว่างการนอน, ปวดหัวตอนเช้า, สมาธิลำบาก
  2. ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน เพราะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งมักสัมพันธ์กับการหยุดหายใจขณะหลับ
  4. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหรือมีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือดสมอง เพราะการหยุดหายใจขณะหลับเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเหล่านี้
  5. ผู้ที่นอนหลับไม่ดี เช่น ตื่นบ่อยในตอนกลางคืน หรือมีอาการนอนไม่หลับ

ประโยชน์ของการทำ Sleep Test

การทำ Sleep Test มีหลายประโยชน์ที่สามารถช่วยวินิจฉัยและรักษาปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะปัญหาที่สามารถนำไปสู่โรคเรื้อรังและทำให้สุขภาพของคุณเสียหายได้ เช่น

  1. การวินิจฉัยปัญหาการนอนหลับ
    การทำ Sleep Test จะช่วยตรวจหาปัญหาการนอนหลับที่เกิดขึ้น เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ การนอนไม่หลับ และอาการนอนกรน
  2. การวางแผนการรักษา
    เมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้รายบุคคล ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับ หรือการใช้อุปกรณ์ทันตกรรมขยายทางเดินหายใจ เช่น Oral Appliance
  3. การปรับปรุงคุณภาพชีวิต
    การรักษาปัญหาการนอนหลับสามารถช่วยลดอาการง่วงนอนระหว่างวัน ปรับปรุงอารมณ์และสมอง รวมทั้งลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่เกิดจากความง่วง
  4. สุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น
    ปัญหาการนอนหลับที่ไม่ได้รับการรักษา เสี่ยงกับการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจ การรักษาจึงช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวม
  5. สุขภาพจิตดีขึ้น
    การนอนหลับไม่ดี ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า การรักษาอาการการนอนหลับจะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพจิต

การทำ Sleep Test ที่ไหนดี?

หากคุณกำลังมองหาสถานที่ทำ Sleep Test ที่เหมาะสม ควรเลือกโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ได้รับการตรวจและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ VitalSleep Clinic เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจากสถาบันระดับนานาชาติ และมีบริการตรวจการนอนหลับทั้งที่คลินิกและการตรวจที่บ้าน (Home Sleep Test)

ที่ VitalSleep Clinic เรามีการใช้เทคโนโลยี WatchPAT ในการตรวจการนอนหลับ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบการนอนหลับได้อย่างแม่นยำและสะดวกสบาย โดยไม่จำเป็นต้องมาที่คลินิก คนไข้สามารถใช้ WatchPAT ในการตรวจการนอนหลับได้ที่บ้านได้ ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อยู่ต่างจังหวัด ก็ตรวจได้อย่างง่ายดาย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมโดยไม่ต้องเดินทางไกล

การเตรียมตัวก่อนการทำ Sleep Test

การเตรียมตัวที่ดีสามารถช่วยให้การทดสอบมีความแม่นยำยิ่งขึ้น ควรทำตามคำแนะนำเหล่านี้

  1. อาบน้ำและสระผม ก่อนการทำ Sleep Test
  2. หลีกเลี่ยงการงีบหลับ ในระหว่างวัน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้น เช่น คาเฟอีนหรือนิโคติน
  4. ไม่ใช้ครีมและโลชั่น ก่อนการทำ Sleep Test
  5. นำยาที่ทานประจำ มาด้วยหากจำเป็น

ทำ SleepTest ที่ VitalSleep Clinic

ที่ VitalSleep Clinic เรามีบริการ Sleep Test ที่มีคุณภาพ พร้อมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicine เรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้การวินิจฉัยและรักษามีความแม่นยำ และมีการรักษาหลายทางเลือก ทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด รวมถึงบริการการบำบัดด้วย Myofunctional Therapy และการใช้เครื่องมือทันตกรรม Oral Appliance หรือ CPAP ในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สรุป

การตรวจการนอนหลับที่ VitalSleep Clinic นับเป็นขั้นตอนสำคัญในการดูแลสุขภาพการนอนของคุณ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและอุปกรณ์ที่เชื่อถือได้ เช่น WatchPAT ที่สามารถตรวจสอบการนอนหลับได้ทั้งที่บ้าน อยู่ที่ไหนก็ตรวจการนอนหลับได้ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและวินิจฉัยปัญหาการนอนหลับ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่อง CPAP, การบำบัดด้วย Myofunctional Therapy หรือการรักษาอื่น ๆ ที่จะช่วยลดเสียงกรน และปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับของคุณอย่างยั่งยืน สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมและนัดหมายการตรวจได้ง่าย ๆ ที่ VitalSleep Clinic ทุกที่ทั่วประเทศ

Related Blogs and Articles
นอนกัดฟัน ต้องแก้ด้วย Splint ฟันเท่านั้นหรอ

“นอนกัดฟัน” หรือ Bruxism ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เพราะมันส่งผลต่อทั้งสุขภาพช่องปาก ข้อต่อขากรรไกร รวมไปถึงคุณภาพการนอนหลับโดยตรง หลายคนคงอาจคิดว่าใส่ Splint ฟัน ก็เพียงพอแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว การรักษาอาการนี้มีได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการhttps://youtu.be/gMdIP1i56ZQ?si=0ipz3OKFiweiis9_ สาเหตุของการนอนกัดฟัน หลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกัดฟัน ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องกับระบบร่างกาย จิตใจ และโครงสร้างฟันโดยตรง ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย มีดังนี้ความเครียดสะสมเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน ความสัมพันธ์ หรือปัญหาส่วนตัว—กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเกร็งตัว รวมถึงกล้ามเนื้อกรามและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวด้วย การเกร็งเหล่านี้อาจเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับโดยไม่รู้ตัว และแสดงออกมาในรูปแบบของการกัดฟันภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักมีปัญหาทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน ส่งผลให้สมองสั่งการให้ร่างกายตอบสนองเพื่อเปิดทางเดินหายใจอีกครั้ง หนึ่งในปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้นคือ “การกัดฟัน” เพื่อพยายามดันขากรรไกรให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติการสบฟันที่ผิดปกติฟันที่เรียงตัวไม่ดี หรือสบกันไม่พอดี อาจทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวต้องทำงานหนักเกินไปเพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินจำเป็น จึงเกิดการเกร็งสะสม และกลายเป็นพฤติกรรมกัดฟันในเวลานอนได้ในที่สุด อ่านเพิ่มเติม นอนกัดฟัน ปัญหาจุกจิก อาจเป็นเรื่องใหญ่ ปล่อยไว้นานอันตราย รักษาได้ ไม่ต้องผ่าตัด เช็กอาการเสี่ยงนอนกัดฟัน หากคุณนอนคนเดียวหรือไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟันขณะหลับไหม สังเกตตัวเองได้จากอาการเหล่านี้ ที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณอาจกำลังมีปัญหานี้อยู่ตื่นมาแล้วปวดหรือเมื่อยกรามปวดหัว ปวดบริเวณหน้าหู (โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน)มีอาการเสียวฟัน หรือปวดฟันเวลาทานของร้อน/เย็นมีกระดูกนูนบริเวณมุมกราม ใบหน้าเริ่มดูเหลี่ยมขึ้นอ้าปากกว้างไม่ได้ รู้สึกค้างหรือเจ็บขากรรไกรอ่านเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหานอนกัดฟัน ฟรี! ผลเสียของการนอนกัดฟัน ฟันบิ่น ฟันแตก เพราะเนื้อฟันสึกจากการบดหรือกดทับซ้ำ ๆข้อต่อขากรรไกรอักเสบ (TMD) อาจทำให้เจ็บเวลาพูด เคี้ยว หรืออ้าปากโครงหน้าผิดรูป กระดูกมุมกรามนูน ใบหน้าดูเหลี่ยมกว่าปกตินอนหลับไม่มีคุณภาพ สมองตื่นตัวบ่อย ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่รบกวนคนรอบ ๆ ข้าง เสียงบดฟันทำให้คู่ชีวิตหลับไม่สนิท และอาจกระทบความสัมพันธ์ในระยะยาว วิธีรักษานอนกัดฟัน อาการนี้สามารถรักษาได้ และควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน1. การใช้ Splint ฟัน (Occlusal Splint)ช่วยป้องกันการสึกหรอของเนื้อฟัน โดยกระจายแรงกดขณะกัดฟัน และลดอาการเมื่อยกล้ามเนื้อกรามข้อควรระวัง: สำหรับเด็ก การใช้ Splint อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกร และในช่วงแรกอาจทำให้นอนหลับยากขึ้นอ่านเพิ่มเติม2.  การฝึกกล้ามเนื้อด้วย Myofunctional Therapyเป็นการบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งสามารถใช้รักษาการนอนกรน และอาการนอนกัดฟันได้พร้อมกันอ่านเพิ่มเติมจุดเด่นของ Myofunctional Therapyช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยวปรับสมดุลกล้ามเนื้อและการสบฟันแก้ปัญหาต้นเหตุอย่างแท้จริง การรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรทำร่วมกัน ทางที่ดีที่สุดคือการใช้ Splint ฟัน เพื่อป้องกันฟันสึกในระยะสั้น ควบคู่กับ การทำ Myofunctional Therapy เพื่อจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง และควรตรวจการนอนหลับ Sleep Test เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)การวางแผนรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง และทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ด้านการนอนหลับ และนักกายภาพบำบัด เพื่อให้การรักษาเหมาะสมกับแต่ละบุคคลและปลอดภัยที่สุด ปรึกษาวิธีการรักษากับเเพทย์เฉพาะทาง! สรุป การนอนกัดฟันไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ๆ เพราะอาจนำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง ฟันสึก ขากรรไกรอักเสบ และปัญหาโครงหน้าในระยะยาว หากสงสัยว่าตัวเองมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางหรือทันตแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมก่อนที่อาการจะลุกลาม

สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อย อย่านิ่งนอนใจ

การนอนสะดุ้งตื่นกลางดึกแม้จะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนหลับ

CPAP แต่ละยี่ห้อต่างกันยังไง

อาการนอนกรน ถือเป็นปัญหาสุขภาพของใครหลาย ๆ คน ในเฉพาะคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ไม่เพียงแต่ทำให้การนอนหลับไม่เต็มอิ่ม แต่ยังเป็นสาเหตุของความเสี่ยงโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง หนึ่งในวิธีการรักษาที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำ คือ การใช้เครื่องช่วยหายใจที่เรียกว่า CPAP ซึ่งย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressureเครื่อง CPAP เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ด้วยการส่งแรงดันอากาศอย่างต่อเนื่องผ่านทางหน้ากาก เพื่อเปิดทางเดินหายใจของคุณให้กว้างขึ้น ช่วยลดอาการนอนกรนและป้องกันการหยุดหายใจซ้ำ ๆ ในขณะหลับ ทำให้การนอนหลับทุกคืนของคุณกลับมาเป็นปกติเครื่อง CPAP ทำงานอย่างไร?เครื่อง CPAP ทำงานโดยการส่งแรงดันอากาศไปยังทางเดินหายใจผ่านหน้ากากที่สวมใส่ขณะนอนหลับ ช่วยป้องกันการปิดตัวของทางเดินหายใจในขณะที่กำลังหายใจเข้า โดยทั่วไปเครื่อง CPAP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ ใครบ้างที่ควรใช้เครื่อง CPAP?เครื่อง CPAP มักจะถูกแนะนำหรือมาใช้รักษาให้กับคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่รุนแรงหรือเพียงเล็กน้อยก็ตาม การใช้ CPAP ช่วยทำให้คนไข้กลับมามีการนอนหลับที่ต่อเนื่องขึ้น ลดเสียงกรน และป้องกันภาวะการหยุดหายใจซ้ำ ๆโดยรวมแล้ว การรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจแก้กรนเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการหายใจระหว่างการนอนหลับ และสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องขอบคุณข้อมูลจากเครื่อง CPAP มีกี่ประเภท?แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แต่ก็ยังมีเครื่องประเภทอื่น ๆ ที่ทำงานคล้ายกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนี้ความแตกต่างของเครื่อง CPAP แต่ละยี่ห้อข้อดีและข้อเสียของเครื่อง CPAPการเลือกใช้เครื่อง CPAP มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ป่วยควรพิจารณาข้อดีและข้อเสียดังต่อไปนี้ข้อดีข้อเสียการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเครื่อง CPAP ที่ VitalSleep Clinicที่ VitalSleep Clinic เราให้บริการรักษา ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ด้วย เครื่อง CPAP เป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้นขณะนอนหลับ ทำงานโดยการส่งแรงดันลมอย่างสม่ำเสมอผ่านหน้ากากเพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการอุดกั้น ลดการหยุดหายใจและเสียงกรน ทำให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอตลอดคืน ลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดสมองทำไมต้องเลือก CPAP กับ VitalSleep Clinic?หากคุณมีอาการ นอนกรน ง่วงนอนตอนกลางวัน หรือหายใจติดขัดขณะหลับ อย่าปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาเรื้อรัง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ VitalSleep Clinic เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

จะทำอย่างไร ถ้าการรักษานอนกรน ด้วยเครื่อง CPAP ราคาแพงเกินไป

ปัญหาอาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนจำนวนมาก โดยบางคนอาจมองว่าอาการนอนกรนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องให้ความสนใจมากนัก แต่ในความเป็นจริงภาวะนอนกรนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่เสียงรบกวนเวลานอนหลับเท่านั้น มันยังเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงและอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ภาวะการนอนกรนมักเกี่ยวข้องกับปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) อาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างการนอนหลับ ภาวะนี้ส่งผลต่อการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต แม้แต่ความเสี่ยงในการเสียชีวิตเฉียบพลันในปัจจุบัน วิธีการรักษาภาวะนอนกรนมีอยู่หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือการใช้เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) โดยเครื่อง CPAP นี้ทำหน้าที่ส่งแรงดันลมเข้าไปเปิดทางเดินหายใจในขณะหลับ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้อย่างราบรื่น แต่หลายคนอาจพบปัญหาว่าเครื่อง CPAP นั้นมีราคาที่สูง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงความยุ่งยากในการใช้งานที่อาจทำให้รู้สึกไม่สะดวก แล้วจะทำอย่างไร หากการรักษาด้วยเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไป บทความนี้จะแนะนำวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่น ๆ ที่สามารถทดแทนเครื่อง CPAP ได้ นอนกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อทางเดินหายใจถูกอุดกั้นบางส่วนในขณะหลับ เมื่อเรานอนหลับ กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายจะคลายตัวลง รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพดานอ่อน และโคนลิ้น เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หย่อนคล้อยลง อาจไปขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ซึ่งทำให้เกิดเสียงกรนขึ้นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนคืออายุที่เพิ่มขึ้น เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น รวมถึงกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งทำให้เกิดการหย่อนคล้อยและปิดกั้นการหายใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ภาวะนอนกรนยังสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่มากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! ทำไมการนอนกรนจึงควรรักษา? แม้ว่าการนอนกรนอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การอานอนกรนที่เกิดร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ร่างกายและสมองขาดออกซิเจนในระหว่างการนอนหลับ ซึ่งอาจทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าในระหว่างวัน รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคสมองเสื่อมนอกจากนี้ การขาดออกซิเจนยังส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยตรง ทำให้การประมวลผลข้อมูล การคิดวิเคราะห์ และความจำเสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาด้านความจำและสมาธิ รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงขึ้นและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ นอนกรนต้องการปรึกษา ฟรี! เครื่อง CPAP ช่วยรักษาภาวะนอนกรนอย่างไร? เครื่อง CPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจที่ใช้สำหรับรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ โดยหลักการทำงานของเครื่องคือการส่งแรงดันลมเข้าไปในทางเดินหายใจเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถหายใจได้สะดวกในขณะหลับ เครื่อง CPAP มักใช้ร่วมกับหน้ากากที่สวมใส่บริเวณจมูกหรือปากเพื่อส่งแรงดันลมเข้าสู่ร่างกายแม้ว่าเครื่อง CPAP จะมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาภาวะนอนกรน แต่เครื่องนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาที่สูง ค่าเครื่อง CPAP บางรุ่นอาจมีราคาสูงถึงหลักแสนบาท เครื่องก็ยังมีขนาดใหญ่ ต้องใช้ไฟฟ้า อาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกอึดอัดหรือไม่สะดวกสบายในขณะหลับ การรักษานอนกรนแบบไม่ต้องพึ่ง CPAP หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปและไม่สะดวกในการใช้งาน ยังมีวิธีการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน ดังนี้1. อุปกรณ์ทางทันตกรรม (Oral Appliance)อุปกรณ์ทางทันตกรรมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ อุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาให้สวมใส่ในปากในระหว่างการนอนหลับ โดยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องครอบฟัน อุปกรณ์นี้ช่วยขยับกรามหรือโคนลิ้นไปด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นขณะหลับข้อดีของอุปกรณ์ทางทันตกรรม คือ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังถูกออกแบบเฉพาะบุคคลตามขนาดช่องปากของผู้ใช้งาน ทำให้ใช้งานได้ง่ายและไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อเทียบกับเครื่อง CPAP อุปกรณ์ทางทันตกรรมยังเป็นวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและสะดวกสบายกว่าการใช้เครื่อง CPAP2. การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF Bot)การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ การรักษานี้ใช้คลื่นความถี่วิทยุในการทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโคนลิ้น เพดานอ่อน และเนื้อเยื่อในลำคอหดตัวแล้วก็กระชับขึ้น ลดการหย่อนคล้อยที่อาจปิดกั้นทางเดินหายใจวิธีการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุเป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เวลานาน เพียงครั้งละประมาณ 15 นาที ไม่เจ็บปวดมากเหมือนการผ่าตัด ผลลัพธ์ของการรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุสามารถเห็นได้ชัดเจน มีความคงทนเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ ยังเป็นวิธีที่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ในขณะหลับ3. การบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ (Myofunctional Therapy)การบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าและลำคอเป็นวิธีการรักษาที่เน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณลิ้น เพดานอ่อน และลำคอ เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง มีความกระชับยิ่งขึ้น การฝึกบำบัดนี้สามารถช่วยลดการหย่อนคล้อยของกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจและลดอาการนอนกรนได้การบำบัดกล้ามเนื้อนั้นอาจรวมถึงการฝึกกล้ามเนื้อลิ้นให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ป้องกันการหย่อนคล้อยของเนื้อเยื่อบริเวณทางเดินหายใจข้อดีของการบำบัดด้วยกล้ามเนื้อ คือ เป็นวิธีที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ นอกจากนี้ การฝึกฝนสามารถทำได้เองที่บ้านหลังจากได้รับคำแนะนำจากนักบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม การบำบัดกล้ามเนื้ออาจต้องใช้เวลาและความอดทนในการฝึกฝน แต่ก็เป็นวิธีที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในระยะยาว รับคำปรึกษา ฟรี! 4. การลดน้ำหนักการมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ เนื่องจากไขมันสะสมบริเวณลำคออาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง การลดน้ำหนักเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดอาการนอนกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักตัวมากนอกจากการลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการนอนกรนแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การควบคุมน้ำหนักทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย5. การผ่าตัด (Surgical Treatment)ในกรณีที่ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับมีความรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ได้ การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การผ่าตัดจะมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงโครงสร้างของทางเดินหายใจ เช่น การตัดเนื้อเยื่อเพดานอ่อน การตัดต่อมทอนซิล ลดขนาดของโคนลิ้น เพื่อเพิ่มความกว้างของทางเดินหายใจและลดการอุดกั้นการผ่าตัดมักเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางกายภาพ เช่น มีเนื้อเยื่อเพดานอ่อนที่หย่อนคล้อยมากเกินไป มีโครงสร้างทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น การเจ็บคอหรือการอักเสบหลังการผ่าตัด ปรับพฤติกรรมการนอน นอกจากการใช้วิธีการรักษาต่าง ๆ การปรับพฤติกรรมการนอน ก็สามารถช่วยลดอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ เช่นการนอนในท่านอนตะแคง การนอนหงายอาจทำให้ลิ้นและเพดานอ่อนตกไปขัดขวางทางเดินหายใจ การนอนในท่านอนตะแคงสามารถช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นและลดอาการนอนกรนการหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนทำให้กล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อนคล้อยลง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองในทางเดินหายใจ การเลิกบุหรี่สามารถช่วยลดการอักเสบและป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ บทสรุป ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แม้ว่าเครื่อง CPAP จะเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคา ความสะดวกในการใช้งาน หากเครื่อง CPAP มีราคาสูงเกินไปสำหรับผู้ที่ต้องการรักษา ยังมีทางเลือกอื่น ๆ อีกที่สามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรม การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ การบำบัดกล้ามเนื้อ แม้แต่การปรับพฤติกรรมการนอนการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะแต่ละคนอาจมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนอนกรนที่แตกต่างกัน การรักษาภาวะนอนกรนไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงและทำให้ชีวิตมีความสุข สุขภาพโดยรวมดีมากขึ้น ปรึกษาปัญหากับแพทย์เฉพาะทาง!

ตรวจการนอนหลับ Sleep Test ราคาประหยัด ตรวจได้แม้งบน้อย

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นวิธีการที่สำคัญในการวิเคราะห์ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับ เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของร่างกายหลาย ๆ ด้าน

7 วิธีรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจ

วิธีรักษานอนกรนที่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังมองหาวิธีที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างมีคุณภาพและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในทุก ๆ เช้า อาการนอนกรนที่เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นปัญหากับคนที่อยู่รอบตัวคุณแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณเองอีกด้วยลองมาดู 7 วิธี ที่สามารถช่วยลดอาการนอนกรนได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้ง 7 วิธีที่แนะนำนี้เป็นเพียงวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้น แต่หากคุณทำตามแล้วยังมีอาการนอนกรนอยู่ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจการนอนหลับ Sleep Test และรับการรักษาอย่างถูกวิธีสัญญาณของภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ควรสังเกตหากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อทำการวินิจฉัยและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพราะภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวการรักษาอาการนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับโดยแพทย์เฉพาะทางที่ VitalSleep Clinic เรามีวิธีการรักษาอาการนอนกรนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ได้ผลดี 4 วิธี ได้แก่เป็นนวัตกรรมการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและทางเดินหายใจให้แข็งแรง เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุได้อ่านเพิ่มเติม:เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้นในขณะที่นอนหลับ โดยจะช่วยดันขากรรไกรล่างไปข้างหน้าเล็กน้อย ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการนอนกรนอ่านเพิ่มเติม:และที่ VitalSleep Clinic คุณมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของอุปกรณ์ เพราะผลิตจากห้องแล็บที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับการรับรองจาก American Board of Dental Sleep Medicineจะสำหรับคนที่มีอาการกรนจากการหย่อนของกล้ามเนื้อบริเวณโคนลิ้นหรือเยื่อบุจมูก ทำให้ลมหายใจไหลเวียนได้สะดวกขึ้น โดยการรักษานี้จะต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นอ่านเพิ่มเติม:เครื่องช่วยหายใจนี้ ป้องกันทางเดินหายใจไม่ให้ปิดกั้นในขณะนอนหลับ ทำให้คุณรับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ และเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับอย่างรุนแรงอ่านเพิ่มเติม:อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางบ่อยหรือไม่สะดวกในการพกพาเครื่อง CPAP แพทย์อาจแนะนำการใช้เครื่องมือทันตกรรมแทนเพื่อความสะดวกกับคนไข้สรุปวิธีลดอาการนอนกรนและแนวทางรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่แนะนำโดยแพทย์เฉพาะทาง โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่, นอนหลับให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และ เลี่ยงยาที่ทำให้กล้ามเนื้อลำคอหย่อนตัว หากอาการยังคงอยู่ ควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยแพทย์ เช่น การใช้เครื่องมือทันตกรรม (Oral Appliance), เครื่องช่วยหายใจ CPAP, การทำ Myofunctional Therapy หรือ การใช้คลื่นวิทยุ RF ซึ่งช่วยแก้ไขต้นเหตุของอาการ ที่ VitalSleep Clinic ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยและแพทย์เฉพาะทางที่สามารถให้คำแนะนำและรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระยะยาว

หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่พอ เราขอแนะนำตรวจ Sleep Test

การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากคุณหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือนอนไม่พอ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ผู้หญิงนอนกรน สาเหตุและวิธีแก้นอนกรนในผู้หญิง

การนอนกรนไม่ใช่เรื่องน่าอายขนาดนั้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่คิดที่จะแก้ไข อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้หญิงหลายคนอาจจะรู้สึกเขินอาย หรือไม่กล้าบอกว่าตัวเองมีอาการนอนกรน และไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรให้ได้ผล แต่การนอนกรนในผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และหากไม่ให้ความสำคัญกับการหาทางแก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตขณะนอนหลับได้ก่อนที่จะหาคำตอบว่า ทำไม? ผู้หญิงถึงนอนกรน เราควรทำความเข้าใจว่าอาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนคืออะไร? อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายระหว่างการนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่ออากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบนี้ จะทำให้เนื้อเยื่อในลำคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่สั่น จะทำให้เกิดเสียงกรน และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน เช่น ต่อมทอนซิลโต น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือลิ้นที่โตขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) คืออะไร? การนอนกรนไม่ใช่แค่การสร้างเสียงรบกวนระหว่างการนอนหลับ แต่ยังสามารถนำไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เมื่อเนื้อเยื่อในลำคอหรือที่ลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนในขณะที่นอนหลับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะไหลตายได้https://www.youtube.com/shorts/1RcpD_hJKcw สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน แม้ว่าปกติผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรนมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพ น้ำหนักเกิน หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดจากอายุหรือการตั้งครรภ์ เช่นอายุ เมื่อผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ปัญหาการนอนกรนจะเริ่มเพิ่มขึ้นวัยหมดประจำเดือน หลังจากหมดประจำเดือน ในผู้หญิงบางรายอาจมีแนวโน้มทำให้นอนกรนมากขึ้นน้ำหนักเกิน อาจทำให้มีไขมันสะสมที่หบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงได้การตั้งครรภ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ถึงแม้จะพบได้น้อยในผู้หญิง แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ควรให้ความสนใจอ่านเพิ่มเติม ปรึกษาปัญหานอนกรน ฟรี! สาเหตุอื่น ๆ ของการนอนกรน ในกรณีทั่วไป การนอนกรนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นคนอ้วน การสะสมของไขมันในบริเวณคอผู้สูงอายุ การเสื่อมของกล้ามเนื้อที่ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงโรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการนอนกรน วิธีแก้ไขการนอนกรนผู้หญิง การรักษาอาการนอนกรนเริ่มต้นด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อตรวจหาว่าคุณมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หลังจากนั้นสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัดบทความที่เกี่ยวข้องการเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการนอนกรน หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการนอนกรนที่เป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล สนใจตรวจการนอนหลับ คลิกเลย สรุป การนอนกรนในผู้หญิงไม่ใช่แค่เรื่องรบกวนคนข้าง ๆ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ที่พบได้บ่อยกว่าที่คิด และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้าหลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกรนในผู้หญิงมักไม่มีอาการชัดเจนเหมือนผู้ชาย เช่น อาจไม่มีเสียงกรนดัง แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงกลางวัน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่ปัญหาทางเพศ ทำให้ถูกมองข้ามและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

Why choose VitalSleep and Wellness
ตรวจคุณภาพการนอนหลับได้จากที่บ้าน

ตรวจการหลับ Sleep Test ที่ VitalSleep and Wellness สะดวก ง่าย ไม่ต้องเดิน ทาง มีเจ้าหน้าที่เดินทางไปติดตั้ง ให้ถึงที่บ้าน อ่านผลการตรวจ โดยแพทย์เฉพาะทาง Dental Sleep Medicine

ลดเสียงกรนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ที่ VitalSleep and Wellness นําเสนอแนวทางการรักษานอนกรน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ออกแบบ เฉพาะบุคคล รักษาได้ทั้ง แบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด และการรักษาครอบคลุมไปถึงการรักษาอาการนอน กัดฟัน และข้อต่อขากรรไกรอักเสบ

ค้นหา และรักษานอนกรน ที่ต้นเหตุ

เน้นการตรวจเชิงลึกหลายแนวทาง เพื่อค้นหาและวินิจฉัยสาเหตุการรักษาที่แท้จริง มุ่งเน้นรักษาและบําบัดสาเหตุของการกรนที่ต้นเหตุ คือ กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ด้วย Myofunctional Therapy

แนวทางการรักษาแบบองค์รวม ผสมผสาน

นําเสนอการรักษาที่หลากหลาย ออกแบบเฉพาะบุคล เน้นการรักษาแบบผสมผสาน การรักษาหลายอย่าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ครอบคลุมทุกความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ทพ. ดร. อมรพงษ์ วชิรมน

Medical Director
แพทย์เฉพาะทางรักษานอนกรน

VitalSleep and Wellness
ดูแลโดย แพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบําบัดวิชาชีพ
  • Polysomnography - Sleep Test ตรวจการนอนหลับ
  • เครื่องมือทันตกรรม รักษานอนกรน
  • เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก รักษานอนกรน
  • รักษาอาการ นอนกัดฟัน
  • รักษาอาการ ข้อต่อขากรรไกรอักเสบ ขากรรไกรมีเสียงคลิก
  • บำบัดกล้ามเนื้อใบหน้า และทางเดินหายใจส่วนต้น
  • ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร รักษานอนกรน
…and much more!

Promotion Sleep Test

ตรวจคุณภาพการนอนหลับ

สะดวก ง่าย ทำได้จากที่บ้าน

แพทย์เฉพาะทางอ่านผล

พิเศษ 6,900 บาท

(ปกติ 10,000 บาท)