การนอนกรนไม่ใช่เรื่องน่าอายขนาดนั้น แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่คิดที่จะแก้ไข อาจทำให้เกิดอันตรายที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ในผู้หญิงหลายคนอาจจะรู้สึกเขินอาย หรือไม่กล้าบอกว่าตัวเองมีอาการนอนกรน และไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไรให้ได้ผล แต่การนอนกรนในผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ และหากไม่ให้ความสำคัญกับการหาทางแก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตขณะนอนหลับได้
ก่อนที่จะหาคำตอบว่า ทำไม? ผู้หญิงถึงนอนกรน เราควรทำความเข้าใจว่าอาการนอนกรนคืออะไร?
อาการนอนกรนคืออะไร?
อาการนอนกรนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในลำคอผ่อนคลายระหว่างการนอนหลับ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่ออากาศผ่านช่องทางเดินหายใจที่แคบนี้ จะทำให้เนื้อเยื่อในลำคอ เช่น ทอนซิล เพดานอ่อน หรือลิ้นไก่สั่น จะทำให้เกิดเสียงกรน และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน เช่น ต่อมทอนซิลโต น้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือลิ้นที่โตขึ้น ก็อาจทำให้เกิดอาการนอนกรนได้
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) คืออะไร?
การนอนกรนไม่ใช่แค่การสร้างเสียงรบกวนระหว่างการนอนหลับ แต่ยังสามารถนำไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับได้อีกด้วย เมื่อเนื้อเยื่อในลำคอหรือที่ลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจ ทำให้ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนในขณะที่นอนหลับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะไหลตายได้
สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรน
แม้ว่าปกติผู้ชายจะมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงนอนกรนมักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพ น้ำหนักเกิน หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดจากอายุหรือการตั้งครรภ์ เช่น
- อายุ เมื่อผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ปัญหาการนอนกรนจะเริ่มเพิ่มขึ้น
- วัยหมดประจำเดือน หลังจากหมดประจำเดือน ในผู้หญิงบางรายอาจมีแนวโน้มทำให้นอนกรนมากขึ้น
- น้ำหนักเกิน อาจทำให้มีไขมันสะสมที่หบริเวณลำคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงได้
- การตั้งครรภ์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการนอนกรนได้
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ถึงแม้จะพบได้น้อยในผู้หญิง แต่ยังคงเป็นปัญหาที่ควรให้ความสนใจ
สาเหตุอื่น ๆ ของการนอนกรน
ในกรณีทั่วไป การนอนกรนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
- คนอ้วน การสะสมของไขมันในบริเวณคอ
- ผู้สูงอายุ การเสื่อมของกล้ามเนื้อที่ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง
- โรคภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา
- ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อาจทำให้เกิดอาการนอนกรน
วิธีแก้ไขการนอนกรนผู้หญิง
การรักษาอาการนอนกรนเริ่มต้นด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริง โดยการทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อตรวจหาว่าคุณมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หลังจากนั้นสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัด
การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการนอนกรน หากคุณพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการนอนกรนที่เป็นปัญหา ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละบุคคล
สรุป
การนอนกรนในผู้หญิงไม่ใช่แค่เรื่องรบกวนคนข้าง ๆ แต่เป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) ที่พบได้บ่อยกว่าที่คิด และอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้า
หลายคนอาจไม่รู้ว่าการนอนกรนในผู้หญิงมักไม่มีอาการชัดเจนเหมือนผู้ชาย เช่น อาจไม่มีเสียงกรนดัง แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงกลางวัน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่ปัญหาทางเพศ ทำให้ถูกมองข้ามและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที